ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโคก ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : วิลาวัลย์ ประกอบเลิศ,เกตุนภา ภูนิลวาลย์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : จากการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของชุมชน พบว่าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องโรคเรื้อรัง มีผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะเกิดภาวะทุพพลภาพตามมา ทำให้เกิดปัญหาด้านสังคม จิตใจและร่างกายของผู้ป่วยและผู้ดูแลโดยตรง อาจทำให้ไม่สามารถไปรับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโคก ได้ไม่สะดวก ศูนย์โฮมสุขตำบลดงลิง ร่วมกับทีมหมอครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโคก ตำบลดงลิง จึงได้จัดบริการดูแลสุขภาพต่อเนื่องที่บ้าน (Home Health Care) เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพที่ต้องดูแลต่อเนื่องเพื่อให้เข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง ทีมเยี่ยมบ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโคก จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ญาติและครอบครัว จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจฟื้นฟูร่างกายให้ผู้สูงอายุและผู้พิการ เพื่อลดความรุนแรงของโรค อันจะส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามอัตภาพต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้ชุมชนและครอบครัวรวมทั้งภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน 2. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลติดตามอย่างต่อเนื่องและสามารถดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  
กลุ่มเป้าหมาย : -คนพิการทุกประเภทที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว จำนวน 13 คน -ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว จำนวน 38 คน -ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ จำนวน 36 คน  
เครื่องมือ : -แบบประเมิน ADL การจำแนกผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ ตามความสามารถในการประกอบกิจวัตร ประจำวัน ( Barthel Activities of Daily Living :ADL)  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. อบรม อสม. และญาติผู้ดูแล โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์โฮมสุข เพื่อพัฒนาศักยภาพในการดูแลคนพิการ/ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยในระยะฟื้นฟู ผู้ป่วยติดเตียง/ติดบ้าน ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว 2. สำรวจข้อมูลคัดกรองคนพิการประเภทต่างๆ ผู้ป่วยระยะฟื้นฟู ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง/ติดบ้าน ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์โฮมสุข รพ.สต. และอสม. เพื่อรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ช่วยเหลือด้านกายอุปกรณ์และขึ้นทะเบียนคนพิการ 3. สนับสนุนกายอุปกรณ์และเครื่องช่วยคนพิการให้กับคนพิการและผู้ป่วยตามความเหมาะสม 4. วางแผนการดูแลต่อเนื่องร่วมกับคนพิการ/ผู้ป่วย/ญาติ/ผู้ดูแล/อสม./จนท.ศูนย์โฮมสุข/จิตอาสาในชุมชนและจนท.รพ.สต./จนท.เทศบาล 5. ติดตามออกเยี่ยมบ้านเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะฟื้นฟู ผู้ป่วยติดเตียง/ติดบ้านร่วมกับ อสม./จนท.ศูนย์โฮมสุข/กลุ่มจิตอาสา/ และ จนท.รพ.สต. 6. สรุปผลการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่า หลังการดำเนินการออกติดตามเยี่ยม ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และติดเตียง มีพัฒนาการด้านความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำดีขึ้น ผู้สูงอายุกลุ่ม 3 ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ต้องพึ่งพาคนอื่นลดลง จากร้อยละ 5.45 เป็นร้อยละ 3.63 และผลการเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง กับกลุ่มติดสังคม พบว่า ลดลงจากร้อยละ 9.48 เป็นร้อยละ 8.54 จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ความสำเร็จของการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long term Care) คือการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือจากญาติ อสม. จิตอาสาในชุมชน รวมทั้งทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนงบประมาณมาโดยตลอด ทำให้การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุเกิดความต่อเนื่อง และสามารถนำไปสู่การดำเนินงานที่มีความยั่งยืนต่อไป  
ข้อเสนอแนะ : 1.มีการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ ผู้ดูแล ( care manager , care giver ) อย่างต่อเนื่อง 2.พัฒนาการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่ายในชุมชน ให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)