|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีในเกษตรกลุ่มวัยทำงาน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
อุไรวรรณ บุตรวัง เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัจจุบันคนไทยมีความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากกว่า 2.6 กิโลกรัม/คน/ปี จากข้อมูลการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกชนิดเท่ากับ 164,383,000 กิโลกรัม1 สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลายชนิดที่มีพิษร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิต จากข้อมูลมีผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตั้งแต่ ปี 2546-2557 เฉลี่ยปีละ 1,734 คน ในปี 2555 ทำการตรวจคัดกรองสารเคมีในกระแสเลือดเกษตรกร 244,822 รายพบผลการตรวจอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย 30.94% ขณะที่ปี 2556 ทำการตรวจคัดกรอง 314,805 รายพบผลการตรวจอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย 31.54% และปี 2557 ทำการตรวจคัดกรอง 317,051 ราย พบผลการตรวจอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย 34.27%2 นั่นหมายถึง 1/3 ของเกษตรกรมีความไม่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีในการเกษตร ซึ่งจะเห็นได้ว่าแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี 2555 และ 2556 จากสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย พบว่ามีผู้ป่วยได้รับสารพิษจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม จำนวน 1,509 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.35 ต่อแสนประชากร3 การศึกษาของสุภาพร ใจกรุณและคณะ4 พบว่าการตกค้างของสารฆ่าแมลงในกลุ่ม Organophosphate และ Carbamate ในพื้นที่ 4 จังหวัดของภาคอิสาน มีค่อนข้างสูง ซึ่งประชาชนก็มีความกังวลใจเกี่ยวกับโอกาสสารตกค้างที่จะเข้าสู่ร่างกายจากการบริโภค และจากศึกษาการรับรู้อันตรายจากสิ่งปนเปื้อนในตลาดสดแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ ของอรนิภา ธารเจริญ และ สุพัตรา ชาติบัญชาชัย5 พบว่าส่วนใหญ่กลุ่มผู้จำหน่ายรับรู้ว่า ผักที่ตนเองจำหน่ายน่าจะมีสิ่งปนเปื้อนซึ่งคำตอบส่วนใหญ่คือสารเคมีและยังเชื่อว่ามีอันตรายต่อสุขภาพ และเคยเกิดผื่นคันบริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับผักที่จำหน่าย ผู้จำหน่ายผักยังรับรู้อีกว่า ผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิตน่าจะมีโอกาสได้รับอันตรายจากสารปนเปื้อนมากกว่าผู้จำหน่าย สอดคล้องกับผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองสารเคมีในกระแสเลือดของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่พบว่า ผลการตรวจอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย 38.46%4 และผลการดำเนินการตรวจคัดกรองของอำเภอคำม่วง ที่พบว่าผลการตรวจอยู่ใน ระดับไม่ปลอดภัย 39.42%7 จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคที่พัฒนาโดย R.W. Roger8 ที่มีแนวคิดว่า เมื่อบุคคลมีความตั้งใจที่จะป้องกันอันตรายหรือภาวะคุกคามต่อสุขภาพหรือภาวะคุกคามของโรค มาจากความรู้สึกกลัวโดยประเมินภาวะคุกคามหรือสิ่งอันตรายต่อสุขภาพ ร่วมกับแนวคิดแรงสนับสนุนทางสังคม โดย House JS.9 ได้กล่าวว่าการสนับสนุนทางสังคมเป็นการช่วยเหลือผูที่มีปัญหาโดยที่ผู้รับการสนับสนุนรู้สึกว่าตนเองมีผู้เอาใจใส่ มีความสำคัญ หากได้รับกำลังใจ ความสนใจ ทัศนคติที่ดี กระตุ้นเตือนจากบุคคลรอบข้างให้เกิดการตัดสินใจ แล้วเกิดการปฏิบัติตามจนมีพฤติกรรมบรรลุเป้าหมาย มาส่งเสริมให้เกษตรกรกลุ่มวัยทำงาน มีพฤติกรรมในการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เพื่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนต่อไป |
|
วัตถุประสงค์ : |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีในเกษตรกลุ่มวัยทำงาน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
เกษตรกรกลุ่มวัยทำงาน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในการศึกษานี้ใช้กลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ โดยใช้สูตรคำนวณขนาดตัวอย่าง เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย กรณี 2 กลุ่มประชากรที่เป็นอิสระต่อกัน10 ได้ตัวอย่างกลุ่มละ 34 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม เป็นจำนวน 68 คน โดยเกณฑ์ในการคัดเข้า (Inclusion criteria) คือ เป็นเกษตรกร อายุ 15-60 ปี อ่านออกเขียนได้ สามารถรับฟัง มองเห็น และมีสติสัมปชัญญะปกติ ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ สามารถร่วมกิจกรรมและปฏิบัติตามคำแนะนำตามรายละเอียดของกิจกรรมในโปรแกรม ได้เป็นผู้ที่ให้ความยินยอมและสมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย |
|
เครื่องมือ : |
เครื่องมือในการพัฒนา ได้แก่
โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีในเกษตรกลุ่มวัยทำงาน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบไปด้วย วีดีทัศน์ บรรยายประกอบภาพสไลด์ ภาพพลิก โปสเตอร์ แผ่นพับ การสาธิต การฝึกปฏิบัติ ประชุมกลุ่ม และการเยี่ยมบ้าน
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบด้วย 7 ส่วนคือข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับการสารเคมี การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ในความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ซึ่งเครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และมีการตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยด้านความรู้เกี่ยวกับสารเคมี ใช้วิธีการ Kuder-Richardson 20: ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.71 ส่วนด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง ด้านการรับรู้ความรุนแรง ด้านความคาดหวังในความสามารถตนเอง ด้านความคาดหวังในผลลัพธ์ และด้านพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ใช้สูตรของการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราช (Cronbrach’ alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 0.81 0.89 0.80 และ 0.88 ตามลำดับ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
พบว่าภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับสารเคมี มากกว่าก่อนการทดลอง และ มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่เกิดจากสารเคมี พบว่าภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย มากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่เกิดจากสารเคมี พบว่าภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย มากกว่าก่อนการทดลอง และ มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ด้านการรับรู้ในความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี พบว่าภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ย มากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ด้านความคาดหวังในผลลัพธ์จากการพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี พบว่าภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย มากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.001) และด้านพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี พบว่าภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย มากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001)
ทั้งนี้เกิดจากโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีในเกษตรกลุ่มวัยทำงาน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีกิจกรรมการให้ความรู้ การประชุมกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ การสนับสนุนทางสังคมจากผู้วิจัยและอาสาสมัครสาธารณสุข คอยกระตุ้นเตือนและให้กำลังใจ ในการปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี จนทำให้กลุ่มทดลองมีการพัฒนาการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่เกิดจากสารเคมี การรับรู้ความรุนแรงของโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่เกิดจากสารเคมี การรับรู้ในความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และความคาดหวังในผลลัพธ์จากพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี จนเกิดพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ดีกว่าก่อนทดลอง เป็นไปตามแนวคิดของ R.W. Roger 8 ที่ว่าบุคคลจะเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงให้ได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อบุคคลเห็นว่าพฤติกรรมเสี่ยงเป็นอันตรายต่อสุขภาพรุนแรง บุคคลมีความรู้สึกไม่มั่นคงหรือมีความเสี่ยงอันตรายนั้นเชื่อว่าการตอบสนองโดยการปรับตัวในทางที่ถูกต้องเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะกำจัดอันตรายนั้นและบุคคลจะมีความเชื่อมั่นในตนเองว่าจะสามารถปรับตัวตอบสนองหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นได้อย่างดี
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
ควรนำไปปรับใช้ในพื้คล้าย ๆ กันนที่ที่มีองค์ประกอบ |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|