ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกก่อง อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นพรัตน์ เสนาฮาด , กฤษณะ อุ่นทะโคตร ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยและเป็นโรคที่ ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดทุพพลภาพและเสียชีวิตก่อนวัย อันควร(วรรณี นิธิยานันท์, 2552) นอกจากนี้โรคเบาหวานได้ชื่อว่าเป็น “ภัยเงียบ” หรือ “เพชฌฆาตมืด” (สุรเกียรติ อาชานานุภาพ, 2553) จากสถิติ พบว่าประชากรที่เป็นโรคเบาหวานสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะโรค เบาหวานชนิดที่ 2 โดยพบผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทั่วโลก ประมาณ 285 ล้านคน และประมาณการว่าจะสูงขึ้นเป็น 435 ล้านคนในปี พ.ศ. 2573 หากไม่มีการป้องกันและควบคุม (Diabetes- Prevention : online) เช่นเดียวกับไวลด์และคณะ (Wild, Roglic, Green, Sicree & King, 2004) ได้ศึกษาและ คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2573 จะมีผู้ที่เป็นเบาหวานเพิ่มเป็น 2 เท่า โดยเฉพาะในกลุ่มคนเมืองและเกิดมากในกลุ่มผู้สูงอายุ มากกว่า 65 ปี โดยเพศชายและหญิงเกิดในสัดส่วนที่ใกล้ เคียงกัน และในกลุ่มคนวัยนี้จะเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 82 ล้านคนในประเทศที่พัฒนาแล้ว และเป็น 48 ล้านคน ในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ประชากรตายด้วย โรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น เช่นเดียวกับในประเทศไทย สถานการณ์ของโรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต ก่อนวัยอันควร และเป็นภาระโรคของคนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย จากรายงาน การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 ในปี 2557 พบความชุกเบาหวานเพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 7 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 9 ความชุกของความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 22 ในปี 2552 เป็น ร้อยละ 25 นอกจากนี้รายงานของ MedResNet ในปี 2558 พบว่าผู้ป่วย โรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพียงร้อยละ 38.2 และผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ร้อยละ 60.9 (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค,2559) อำเภอสหัสขันธ์ มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 42,867 คน และจากสถิติการให้บริการผู้ป่วย พบว่าโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยมารับบริการเป็นอันดับต้นๆ ของโรงพยาบาลและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปีงบประมาณ 2557, 2558 และ 2559 มีอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานร้อยละ2.99,3.28 และ 3.59 ตามลำดับ ภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานเป็นภาวะที่มีการดําเนิน ของโรคยาวนาน เป็นไปอย่างช้าๆ อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือ เป็นปี ทําให้เกิดการเสื่อมหน้าที่ของอวัยวะเกือบทุกระบบของ ร่างกาย และไม่สามารถกลับเข้าสู่ภาวะเดิมได้อีก อย่างไรก็ ตามถ้าผู้ ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับนํ้าตาลได้ดี โรค แทรกซ้อนจะไม่ปรากฏขึ้นเลยแม้จะเป็นเบาหวานมานานถึง 10-20 ปี แต่ถ้าผู้ป่วยเบาหวานขาดความร่วมมือในการรักษา หรือไม่สามารถดูแลตนเองได้ถูกต้องจะเป็นสาเหตุให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังขึ้น ภายใน 5-10 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นโรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ การเสื่อมของจอตาและตาบอดสูงกว่าคนปกติ 25 เท่า โรคหลอดเลือดหัวใจสูงกว่าคนปกติ 2 เท่า การเสื่อมของไตสูง กว่าคนปกติ 17 เท่า ชาตามปลายมือปลายเท้าและมีแผล เรื้อรังถ้าไม่ได้ดูแลเอาใจใส่เท้าเป็นพิเศษ จะส่งผลให้มีโอกาส ถูกตัดเท้าสูงกว่าคนปกติ 40 เท่าและพบว่า มีการเสื่อม สมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้นร้อยละ 30-40 (อภิรักษ์ สันติงามกุล, 2549)  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกก่อง  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกก่อง และขึ้นทะเบียนรักษา ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านโคกก่อง และโรงพยาบาลอําเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 123 คน กลุ่มตัวอย่าง จําแนกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มศึกษา (Case group) เป็นผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 และมีค่า FBS 70 -130 mg/dl (2) กลุ่มควบคุม (Control group) เป็นผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 และมีค่า FBS > 130 mg/dl โดยการจับคู่ (Matching) กับกลุ่มศึกษาดังนี้ 1. อายุแตกต่างกันไม่เกิน 5 ปี . 2. ระยะเวลาการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานต่างกันไม่เกิน 5 ปี .  
เครื่องมือ : แบบสอบถาม  
ขั้นตอนการดำเนินการ :  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ