ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการดำเนินงานอาหารปลอดภัย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2560
ผู้แต่ง : ดาวรุ่ง ดอนสมจิตร ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ในปัจจุบันความปลอดภัยด้านอาหารได้ถูกยกขึ้นเป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้มีคุณภาพและสร้างโอกาสการค้าในระดับสากล ซึ่งประชาคมโลกได้ให้ความสำคัญต่อสุขภาพมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์ และแผนยุทธศาสตร์การจัดการอาหารของประเทศไทย ในการผลิตอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย สร้างความมั่นคงด้านอาหารในท้องถิ่นอย่างยั่งยืนสร้างมูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจในท้องถิ่นเชื่อมโยงสู่การค้าภูมิภาคและประชาคมอาเซียน จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ ปี 2558-2560 ที่ว่า กาฬสินธุ์ถิ่นท่องเที่ยววิถีไทยอีสาน แหล่งอาหารปลอดภัย นำผ้าไหมแพรวาสู่สากล ในประเด็นยุทธศาสตร์คำจำกัดความ คำว่า อาหารปลอดภัยหมายถึง สัตว์ พืช ผัก ผลไม้ ที่มีความปลอดภัย ตั้งแต่กระบวนการผลิต การปรุง แปรรูป การจำหน่าย และการบริโภคประกอบด้วย 3 เรื่อง คือ เรื่องแรก องค์ประกอบ คำว่า อาหารปลอดภัย คือ สิ่งที่เราบริโภคเข้าไปในร่างกาย ประกอบด้วย 2 ประเภท คือ ประเภทแรก ได้แก่ พืช ผัก และผลไม้ ประเภทที่สอง ได้แก่ สัตว์บก และสัตว์น้ำ เรื่องที่สอง ห่วงโซ่ความปลอดภัยของอาหาร ประกอบด้วยความปลอดภัยใน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่หนึ่ง การผลิตปลอดภัย ขั้นตอนที่สอง การปรุง/แปรรูปปลอดภัย ขั้นตอนที่สาม การจำหน่ายปลอดภัย ขั้นตอนที่สี่ การบริโภคปลอดภัย เรื่องที่สาม โครงสร้างองค์กรการขับเคลื่อน ประกอบด้วย ภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ปัจจัยเรื่องอาหารปลอดภัยนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญและมีผลกระทบต่อสุขภาพ เพราะถ้าอาหารที่เลือกซื้อและจัดไว้บริการไม่ปลอดภัย จนทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อแล้ว ก็จะมีผลกระทบเชิงลบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพและเศรษฐกิจ ฉะนั้นอำเภอกมลาไสย จึงเห็นความสำคัญที่พัฒนายุทธศาสตร์การดำเนินงานอาหารปลอดภัยอำเภอ และมีการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยของอาหารอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการจัดทำโครงการอาหารปลอดภัย (Food Safety) ด้วยกลไก 3 ดี DHS อำเภอกมลาไสย ปี 2560 เพื่อกระตุ้นมาตรการในการควบคุม กำกับ เฝ้าระวังและตรวจสอบดูแลสถานที่ปรุง ประกอบ จำหน่ายอาหาร ให้มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ โดยมีความร่วมมือกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ชุมชน ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหาร ชมรมตลาดนัดสีเขียว อย่างต่อเนื่อง  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยระดับอำเภอ ระดับตำบล ด้วย กลไก 3 ดี DHS 2. เพื่อยกระดับร้านอาหาร ที่เป็นร้านอาหารต้นแบบ รองรับการท่องเที่ยววิถีถิ่นวิถีไท 3. ส่งเสริมและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้กระบวนการผลิตที่ปลอดภัย ในระดับตำบล 4. เพื่อส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคเองในครัวเรือน ของหมู่บ้านต้นแบบ ปี 2560  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยระดับอำเภอ โดยคณะกรรมการ 3 ดี DHS ระดับตำบล ด้วยกลไก 3 ดี THS ตาม อปท. จำนวน 10 อปท. 2. เพื่อยกระดับร้านอาหาร ที่เป็นร้านอาหารต้นแบบ รองรับการท่องเที่ยววิถีถิ่นวิถีไท 5 ร้าน 3. ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบสร้างเครือข่ายการเรียนรู้กระบวนการผลิตอาหารที่ปลอดภัย ในระดับตำบล 10 ศูนย์เรียนรู้ 4. การส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคเองในครัวเรือน ของหมู่บ้านต้นแบบ ปี 2560 จำนวน 11 หมู่บ้าน  
เครื่องมือ : 1.แบบประเมินร้านอาหารตามเกณฑ์สุดยอดร้านอาหารเมืองกมลาไสย 2.แบบประเมินศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ 3.แบบประเมินการปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคในครัวเรือน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานอาหารปลอดภัย โดยการประกาศวาระอำเภอ วาระตำบล และลงนามความร่วมมือ 2.ร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินงานและเกณฑ์การประเมินแต่ละกิจกรรม 3.ติดตามประเมินผล 4.สรุปผลคืนข้อมูลแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  
     
ผลการศึกษา : ๕.๑ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยระดับอำเภอ โดยคณะกรรมการ ๓ ดี DHS ระดับตำบล ด้วยกลไก ๓ ดี THS ตาม อปท. จำนวน ๑๐ อปท. - มีการดำเนินงานตามกระบวนการที่กำหนดครบทุกแห่ง คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ๕.๒ การยกระดับร้านอาหาร ที่เป็นร้านอาหารต้นแบบ รองรับการท่องเที่ยววิถีถิ่นวิถีไท มีร้านร้านอาหาร ที่สมัครร่วมโครงการทั้งหมด ๕ ร้าน ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด เกณฑ์สุดยอดร้านอาหารเมืองกมลาไสย รองรับการท่องเที่ยว วิถีถิ่นวิถีไทกมลาไสย โดยผู้ประกอบการร่วมกำหนด จำนวน ๒๐ ข้อ ผ่านการประเมินทั้ง ๓ ครั้ง จำนวน ๔ร้าน คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๐๐ ๕.๓ การพัฒนาศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบสร้างเครือข่ายการเรียนรู้กระบวนการผลิตอาหารที่ปลอดภัย ในระดับตำบล อปท.ละ ๑ ศูนย์ รวม ๑๐ ศูนย์ ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่ร่วมกำหนด ๗ ข้อ จำนวน ๘ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๘๐ ๕.๔ การปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคเองในครัวเรือน ของหมู่บ้านต้นแบบ ปี ๒๕๖๐ จำนวน ๑๑ หมู่บ้าน ทั้งหมด ๑,๔๗๕ ครัวเรือน ปลูกผักบริโภคเอง ๑,๐๘๒ ครัวเรือน คิดเป็น ร้อยละ ๗๓.๓๖  
ข้อเสนอแนะ : การสร้างการมีส่วนร่วมทุกกิจกรรมในการพัฒนาด้านอาหารปลอดภัย ควรให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นผู้ร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินงาน และเกณฑ์การประเมินเพื่อให้ความสำคัญของแต่ละกิจกรรมและเกิดความยั่งยืน  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)