ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนายกระดับสถานประกอบการร้านอาหาร สู่การท่องเที่ยว อำเภอสหัสขันธ์ ปี 2560
ผู้แต่ง : จริยา ฉิรินัง ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : อำเภอสหัสขันธ์เป็นเป้าหมายการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด การพัฒนายกระดับสถานประกอบการร้านอาหารให้ได้มาตรฐาน ให้เป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติ,ประชาชนทุกคนที่มาเยือนอำเภอสหัสขันธ์ เกิดความพึงพอใจ ประทับใจและมีความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร จากการดำเนินงานปี 2559 ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารในเขตพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งหมด 21 ร้าน ผ่านเกณฑ์มาตรฐานCFGT จำนวน 21 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 100 มีการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากสารปนเปื้อน ๖ ชนิด(Food Safety ) ผลการสุ่มตรวจอาหารทั้งหมดจำนวน 505 ตัวอย่าง ตรวจพบสารปนเปื้อน จำนวน 4 ตัวอย่าง (ฟอร์มาลิน ใน หมึกสด 3 ตัวอย่าง สไบนาง 1 ตัวอย่าง) มีความปลอดภัย ร้อยละ 99.20 จากสถานการณ์ดังกล่าว ความปลอดภัยด้านอาหารยังเป็นปัญหาของพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อผู้บริโภค ผู้ผลิตอาหาร ผู้ประกอบการ มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณภาพและ ปลอดภัย 2.เพื่อส่งเสริมการพัฒนายกระดับผู้ประกอบการด้านอาหาร ได้มาตรฐานร้านอาหารไทยปลอดภัยสุขภาพดี (Clean Food Good Taste Plus ) 3.เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ ผู้สัมผัสอาหาร เจ้าหน้าที่ และภาคีเครือข่ายด้าน อาหารให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับชาวต่างชาติ,ประชาชนทุกคนที่มาเยือนอำเภอสหัสขันธ์ เกิดความพึงพอใจ ประทับใจและมีความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร 4. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้ประชาชนอำเภอสหัสขันธ์ เป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐานKS 5. เพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านอาหารปลอดภัย 6. เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารให้ทันสมัยทันเหตุการณ์ 7.เพื่อส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในพื้นที่  
กลุ่มเป้าหมาย : 1.สถานประกอบการ ร้านอาหารทุกตำบล 2.กลุ่มเกษตรอินทรีย์ทุกตำบล 3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง 4.หน่วยงานสาธารณสุข รพ./สสอ./รพสต.  
เครื่องมือ : แบบสำรวจ ทะเบียน รายงาน,แบบประเมิน,กระบวนการกลุ่ม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 3.1 ปี 2559 เข้าร่วม 4 ตำบล ขยาย 8 ตำบล และให้แต่ละพื้นที่ สำรวจร้านอาหารเมนูเด็ดของตำบลๆละ 1 ตำบล 1 ร้าน โดยให้ประชาชนในชุมชนเลือกเอง จนท.สาธารณสุขออกตรวจประเมินคุณภาพผ่านเกณฑ์มอบรับรองมาตรฐานและประชาสัมพันธ์ 3.2 พัฒนาความเหมาะสมของคุณภาพอาหารและราคา 3.3 พัฒนาชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง 3.4 จัดตั้งชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารในชุมชน 3.5 พัฒนาเพจ อาหารปลอดภัยอำเภอสหัสขันธ์ ให้คนรู้จัก ทำป้ายบอกทางร้านอาหาร ข้อมูลการให้บริการร้านอาหารที่ผ่านการประกวด ทุกคนเข้าไปดูได้ง่ายและให้ข้อเสนอแนะได้ 3.6สำรวจร้านอาหาร/แผงลอย ยอดนิยมในชุมชนโดยให้คนในชุมชนเป็นผู้ประเมิน 3.6..1 ออกประเมินคุณภาพร้านอาหาร/แผงลอยร้านยอดนิยมตามเกณฑ์ 3.6.2 จัดทำป้าย CFGTร้านอาหาร/แผงลอย 3.6.3 มอบป้ายCFGTให้ร้านที่ผ่านการประเมิน 3.7.ร้านอาหาร/แผงลอยที่ผ่านการประกวด ปี 2559 เก็บข้อมูลผู้มาใช้บริการและประมาณการรายได้ต่อปี 4.พัฒนากลุ่มผู้ผลิต 4.1อบรมผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้ผลิตน้ำดื่ม น้ำแข็ง (ด้านมาตรฐานร้านอาหาร มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร) ผู้ผลิตอาหาร KS / Primery GMP 4.2 ส่งเสริมศูนย์เรียนรู้/ชุมชน/ครัวเรือนทำเกษตรปลอดสารเคมี ให้ผ่านการรับรองมาตรฐาน เช่น KS GPM PrImary GMP ของพัฒนาชุมชน ของเกษตร ขอให้ผ่านเกณฑ์อย่างใดก็ได้ 5.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น 5.1 จัดตั้งศูนย์รับข้อร้องเรียนด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค(ศูนย์เย็นใจ)ที่ อปท.ทุกแห่ง 6.พัฒนาระบบฐานข้อมูลอาหารปลอดภัย 6.1.จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาหารปลอดภัย ระดับอำเภอ 6.2. จัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านอาหารปลอดภัย 4 กลุ่ม 6.2.1 กลุ่มผู้ผลิตอาหาร(เพาะปลูก เพาะเลี้ยง) 6.2.2 กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร 6.2.3 กลุ่มผลิตน้ำดื่ม น้ำแข็ง 6.2.4 กลุ่มผลิตอาหารแปรรูป 7. ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 7.1. แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบคุณภาพและติดตามประเมินผล ระดับอำเภอ (DHS) 7.2. ประชุมวางแผนและออกประเมินร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการ 7.3. พัฒนาศักยภาพทีมประเมินมาตรฐาน 7.4 สรุปผลการดำเนินงาน รายงานผู้บริหารตามลำดับ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ