|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยภาคีเครือข่ายและชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
ดร.พูลสวัสดิ์ นาทองคำ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากข้อมูลประชากรกรมการปกครองอำเภอร่องคำ ปีงบประมาณ 2557, 2558, 2559 มีผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลร่องคำทั้งสิ้น 2,622, 2,563, 2603 คนตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 15.30, 15.57, 15.23 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าตำบลร่องคำได้เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ จากผลการประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ในปี 2559 พบว่ามีผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ร้อยละ 96.2 กลุ่มติดบ้านร้อยละ 2.8 และกลุ่มติดเตียง ร้อยละ 0.76 ซึ่งที่ผ่านมาเทศบาลตำบลร่องคำได้มีการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวหลากหลายรูปแบบ โดยบูรณาการร่วมกับภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุทั้งในกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม แต่ยังพบว่าการบริการด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมประชากรผู้สูงอายุ และไม่มีความต่อเนื่อง |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยภาคีเครือข่ายและชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์
2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลตามมาตรฐานและมีระบบการดูแลที่เชื่อมโยงต่อเนื่องถึงชุมชน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
|
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุตำบล ร่องคำโดยให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายจากวัด/ อบต./อปท./ชมรมผู้สูงอายุ/อสม/จิตอาสา
2. คณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุตำบลร่องคำประชุมวิเคราะห์ข้อมูลวางแผนการดำเนินงาน
3. จัดทำแนวทางในการวินิจฉัย/การส่งต่อผู้สูงอายุที่พบปัญหาและผู้สูงอายุที่ต้องการได้รับการดูแลเพื่อให้เข้าถึงการบริการและได้รับการช่วยเหลือตามความเหมาะสม
4. พัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบการดูแลผู้สูงอายุในเทศบาลและโรงพยาบาลเข้ารับการพัฒนาศักยภาพทั้งในระดับอำเภอและนอกเขตอำเภอ
5. สนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุโดยจัดอบรมครูแกนนำในการดำเนินงานในโรงเรียนผู้สูงอายุ และนิเทศติดตามการดำเนินงานในโรงเรียนผู้สูงอายุ
6. จัดประชุมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุและชี้แจงแนวทางการใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น ชี้แจงแนวทางการส่งต่อผู้สูงอายุที่พบปัญหาภาวะสุขภาพ
7. จัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุแยกรายกลุ่ม ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง
8. แคร์กี๊ฟเวอร์ออกดำเนินการดูแลช่วยเหลือ ฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน/ติดเตียง/ผู้พิการที่บ้านและที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ (ศูนย์โฮมสุข) โดยมีทีมสหวิชาชีพเป็นผู้นิเทศการดำเนินงาน
9. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน/ติดเตียง/ผู้พิการผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุที่ได้จากการส่งต่อจากเครือข่ายในชุมชนและใบส่งต่อหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลโดยทีมสหวิชาชีพร่วมกับชุมชน เน้นการให้กำลังใจ ให้คำปรึกษา สร้างเสริมพลังอำนาจ ประเมินภาวะสุขภาพ และจัดการกับปัญหา
10. ร่วมกับเครือข่าย อสม.จิตอาสา วัด อบต.อปท. ในการดูแลเยียวยาให้การช่วยเหลือ ผู้สูงอายุระยะสุดท้ายและผู้ดูแลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม วิญญาณ ในระหว่างการรักษาในโรงพยาบาล หลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล จนกระทั่งถึงเชิงตะกอน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|