ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤติ (Hypertension crisis) อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : รัศมี ลือฉาย ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรงพยาบาลร่องคำเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียงระดับ F2 มีแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป 3 คน ไม่มีแพทย์เฉพาะทาง มีพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรังเบาหวาน –ความดันโลหิตสูง 1 คน มีนักกายภาพบำบัด 1 คน มีเภสัชกร 3 คน มีนักโภชนาการ 1 คน และมีพยาบาลประจำNCDคลินิก 3 คน โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีความสำคัญอันดับที่ 1 ของอำเภอร่องคำ จากสถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงของอำเภอร่องคำ ปีงบประมาณ 2557-2559 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วย 641 ราย , 773 ราย และ 896 ราย ตามลำดับ อัตราการควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ ร้อยละ 27.21 , 41.82 และ 42.21 ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยที่Admit ด้วย Hypertension crisis 7 ราย , 17 ราย และ 12 ราย ตามลำดับ จากการทบทวนผู้ป่วย Hypertension crisis ที่นอนรักษาที่โรงพยาบาล พบว่า ร้อยละ 45 ขาดนัดทำให้ขาดยา, ร้อยละ 33.33 ไม่ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง , ร้อยละ 16.67 ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า ทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการรักษา นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ป่วยขาดความรู้ ขาดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีโรคร่วม  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤติ (Hypertension crisis) อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ 3. เพื่อลดอัตราการ admit ด้วยภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤติ (Hypertension crisis)  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.การเข้าถึงบริการ 1.1 มีการคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 1.2 จัดบริการคลินิกความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลทุกวันอังคารแบบOne Stop Service / ในรพ.สต.วันพุธ และในชุมชนตำบลร่องคำวันศุกร์ 1.3 จัดกิจกรรม “รอตรวจสุขใจได้ความรู้” ให้ความรู้กับผู้ป่วยและญาติขณะรอรับบริการ ในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 น.โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ 1.4 ให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงในการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โดยเน้นการปฏิบัติตัว 3อ. 2ส. และติดตามเฝ้าระวังโดยการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง 2.การประเมินผู้ป่วย/ การวินิจฉัย 2.1 ตรวจวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่ผู้ป่วยมารับบริการ 2.2 ตรวจLABประจำปีเพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ FBS , Lipid profile , cr , urine protein , urine microalbumin 2.3 ประเมิน CVD risk 2.4 ใช้ระดับความดันโลหิตในการวินิจฉัย Hypertension crisis คือ BP  180/110 mm.hg 3. การวางแผนการรักษาและรักษา 3.1 ปรับปรุง ทบทวนและพัฒนา CPG การดูแลผู้ป่วย HT / Hypertensive Emergency / Urgencyให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งเครือข่าย และ Implement แก่แพทย์ /ผู้เกี่ยวข้องทั้งแผนกผู้ป่วยนอก แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ผู้ป่วยใน และรพ.สต. 3.2 ใช้ค่าระดับความดันโลหิตในการแบ่งประเภทผู้ป่วยเพื่อให้การดูแล ดังนี้ สีเขียวมีระดับความดันโลหิต < 140/90 mm.hg, สีเหลือง 141 – 179 / 91 – 109 mm.hg, สีแดง 180 / 110mm.hg และสีดำมีโรคร่วม Stroke , MI , CKD Stage 5 โดยผู้ป่วยสีเหลืองและสีเหลืองได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนผู้ป่วยสีแดงและสีดำพบCase Manager และ NCD Team 3.3 มีการทำ Grand rounds และทบทวน Case เพื่อการดูแลผู้ป่วยร่วมกันของทีมสหวิชาชีพ 4. การให้ข้อมูลและการเสริมพลัง 4.1 มีการให้ข้อมูลและเสริมพลังในเรื่องอาหาร การใช้ยา การออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียด บุหรี่ สุราทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล 4.2 ให้ความรู้ สร้างความตระหนักและเสริมพลังผู้ป่วย ได้แก่ โรงเรียนเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง การทำ Focus group การจัดประชุมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 5. การดูแลต่อเนื่อง 5.1 มีการวางแผนการจำหน่ายในหอผู้ป่วยใน 5.2 มีระบบนัดและระบบติดตามให้มาตามนัด 5.3 ออกติดตามเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพ 5.4 มีการประสานการดูแลร่วมกันระหว่างทีมสุขภาพ ผู้ป่วย ญาติ อสม. Care giver และภาคีเครือข่าย  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ