|
|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน Hypoglycemia – Hyperglycemia อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
ผู้วิจัย รัศมี ลือฉาย |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้น เป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโดยไม่รู้ตัวและยังมีภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย เป็นปัญหาอันดับที่ 1 ของอำเภอร่องคำ โรงพยาบาลร่องคำเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียงระดับ F2 มีแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป 3 คน ไม่มีแพทย์เฉพาะทาง มีพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรังเบาหวาน –ความดันโลหิตสูง 1 คน มีนักกายภาพบำบัด 1 คน มีเภสัชกร 3 คน มีนักโภชนาการ 1 คน และมีพยาบาลประจำNCDคลินิก 3 คน จากสถานการณ์โรคเบาหวานของอำเภอร่องคำ ปีงบประมาณ 2557-2559 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วย 890 ราย , 894 ราย และ 931 ราย ตามลำดับ อัตราการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์ ร้อยละ 31.42 , 47.67 และ 38.16 ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยที่Admit ด้วยภาวะHypoglycemia 7 ราย , 8 ราย และ 15 ราย ตามลำดับ, จำนวนผู้ป่วยที่Admit ด้วยภาวะHyperglycemia 16 ราย , 14 ราย และ 14 ราย ตามลำดับ และมีอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน ร้อยละ 5.41 , 6.82 และ 6.12 ตามลำดับ จากการทบทวนผู้ป่วย Hypoglycemia ที่นอนรักษาที่โรงพยาบาล พบว่า เป็นผู้ป่วยสูงอายุ ร้อยละ 80 , ส่วนใหญ่ใช้ยาฉีด ร้อยละ 70 สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Hypoglycemia คือ เทคนิคการฉีดยาไม่ถูกต้อง (ขนาดยาไม่ครบตามแนวทางการรักษาของแพทย์ สายตามองไม่ชัด ขาดผู้ดูแล) การฉีดยาไม่สัมพันธ์กับมื้ออาหาร เบื่ออาหาร ขาดความรู้ในการช่วยเหลือก่อนมาโรงพยาบาล ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Hyperglycemia คือ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยขาดนัด ไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่อง ร้อยละ 65.91 ,ขาดความรู้และขาดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีโรคร่วม |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน Hypoglycemia – Hyperglycemia อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์
2. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์ (HbA1c< 7)
3. เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉิน (Hypoglycemia/Hyperglycemia)
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
|
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. การเข้าถึงบริการ
1.1 จัดบริการคลินิกเบาหวานในโรงพยาบาลวันจันทร์และวันพฤหัสบดีแบบOne Stop Service / ในรพ.สต.วันพุธ และในชุมชนตำบลร่องคำวันศุกร์
1.2 ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในการจัดการตนเอง กรณีเกิดภาวะฉุกเฉินที่บ้าน
1.3 จัดกิจกรรม “รอตรวจสุขใจได้ความรู้” ให้ความรู้กับผู้ป่วยและญาติขณะรอรับบริการในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 น.โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
1.4 มีการทำ SMBG ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ โดยให้ยืมเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือดไปใช้ที่บ้าน มีอสม.เชี่ยวชาญเบาหวาน และแคร์กี๊ฟเวอร์ควบคุมกำกับและประสานงานกับทีมสุขภาพ
2. การประเมินผู้ป่วย/ การวินิจฉัย
2.1 ประเมินภาวะHypo/Hyperglycemia โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกายทุกครั้งที่ผู้ป่วยมารับบริการ
2.2 ตรวจLABประจำปีเพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ FBS , HbA1c , Lipid profile , cr , urine protein , urine microalbumin และตรวจ DTX เพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดทุกครั้งที่ผู้ป่วยมารับบริการ และประเมิน CVD risk
2.3 ใช้ผลตรวจFBS หรือ DTX ในการวินิจฉัยโรค คือ Hypoglycemia มีค่าFBS หรือ DTX ≤ 70 mg% และ Hyperglycemia มีค่าFBS หรือ DTX 250 mg%
3. การวางแผนการรักษาและรักษา
3.1 ปรับปรุง ทบทวนและพัฒนา CPG ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งเครือข่าย
3.2 ใช้ค่าระดับน้ำตาลในเลือดในการแบ่งประเภทผู้ป่วยเพื่อให้การดูแล ดังนี้ สีเขียวมีระดับน้ำตาลในเลือด ≤130mg% , สีเหลืองมีระดับน้ำตาลในเลือด131 - 179 mg% , สีแดงมีระดับน้ำตาลในเลือด180 mg% และสีดำมีโรคร่วม Stroke , MI , CKD Stage 5 โดยผู้ป่วยสีเหลืองและสีเหลืองได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนผู้ป่วยสีแดงและสีดำพบCase Manager และ NCD Team
3.3 มีการสอน สาธิตและประเมินการฉีด Insulin โดยเภสัชกร
3.4 มีการประเมินอาการ , DTX ซ้ำทุก 30 นาที 2 ครั้งหลังฉีด RI
3.5 มีการทำ Grand rounds และทบทวน Case เพื่อการดูแลผู้ป่วยร่วมกันของทีมสหวิชาชีพ
4. การให้ข้อมูลและการเสริมพลัง
4.1 มีการให้ข้อมูลและเสริมพลังในเรื่องอาหารเบาหวาน การใช้ยา การออกกำลังกาย ทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2 ให้ความรู้ สร้างความตระหนักและเสริมพลังผู้ป่วย ได้แก่ โรงเรียนเบาหวาน การทำ Focus group การจัดประชุมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
5. การดูแลต่อเนื่อง
5.1 มีการวางแผนการจำหน่ายในหอผู้ป่วยใน
5.2 มีระบบนัดและระบบติดตามให้มาตามนัด
5.3 ออกติดตามเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพ
5.4 มีการประสานการดูแลร่วมกันระหว่างทีมสุขภาพ ผู้ป่วย ญาติ อสม. Care giver และภาคีเครือข่าย
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|
|