ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองโดยภาคีเครือข่ายและชุมชนมีส่วนร่วม อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : รัศมี ลือฉาย ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การเปลี่ยนแปลงของโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุข โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป และการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างรวดเร็ว ช่วยให้รักษาชีวิตได้ยืนยาวขึ้น ซึ่งหมายถึงว่า เมื่อโรคเข้าสู่ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะทนทุกข์ทรมานจากการรักษาที่เป็นไปเพื่อยืดชีวิต แต่อาจเพิ่มความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วยอย่างมาก การดูแลแบบประคับประคองเป็นทางเลือกที่จะช่วยลดความทุกข์ทรมานเมื่อระยะสุดท้ายมาถึง อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในปัจจุบันยังจํากัดอยู่แต่ในโรงพยาบาล ในขณะที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความต้องการกลับไปอยู่บ้านกับครอบครัวและบุคคลที่ตนรักในระยะท้ายของชีวิต แต่ระบบเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองในปัจจุบันยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ผลที่ตามมาคือผู้ป่วยโรคไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม ต้องทนทุกข์ทรมานจากการรักษาที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์และทนทุกข์ทรมานจากอาการต่างๆในระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถควบคุมได้ดี โรงพยาบาลร่องคำเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียงระดับ F2 มีแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป 3 คน ไม่มีแพทย์เฉพาะทาง มีพยาบาลเฉพาะทางการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย 1 คน มีนักกายภาพบำบัด 1 คน มีเภสัชกร 3 คน มีนักโภชนาการ 1 คน จากสถานการณ์ผู้ป่วยระยะท้ายของอำเภอร่องคำ ปีงบประมาณ 2557-2559 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยที่เข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง 13 ราย , 37 ราย และ 82 ราย ตามลำดับ จากการทบทวนผู้ป่วยระยะท้ายที่ศูนย์รักบริบาลโรงพยาบาลร่องคำได้ดูแล พบว่า ร้อยละ 100 ผู้ป่วยต้องการกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยระยะท้ายมีอาการปวด หรือหายใจลำบากและมีความทุกข์ทรมานในระยะท้ายของชีวิต ขาดการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยระยะท้าย การเข้าถึงบริการในการใช้ยาระงับปวดกลุ่ม strong opioidยังน้อย แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายไม่ชัดเจน ไม่มีเครือข่ายในการดำเนินงาน วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือและเวชภัณฑ์ยาที่จะให้บริการผู้ป่วยไม่เพียงพอ และขาดการประเมินผลร่วมกันระหว่างทีมผู้ดูแล  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองโดยภาคีเครือข่ายและชุมชนมีส่วนร่วม อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อให้ผู้ป่วยระยะท้ายเข้าถึงบริการการดูแลแบบประคับประคอง 3. เพื่อให้ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการจัดการอาการรบกวนอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อให้ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการดูแลต่อเนื่องเชื่อมโยงจากโรงพยาบาลถึงบ้าน  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1) แต่งตั้งคณะกรรมการและกำหนดบทบาทของทีมการดูแลให้ชัดเจน 2) จัดตั้งศูนย์ “รักบริบาล” และจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ยา ให้เพียงพอ 3) มีระบบการบริหารยาระงับปวดชนิดเสพติด 4) ปรับปรุง ทบทวนและพัฒนา CPG ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งเครือข่าย 5) สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดสู่ผู้ปฏิบัติ และผู้เกี่ยวข้อง 6) พัฒนาศักยภาพทีมสุขภาพ ภาคีเครือข่าย อสม. จิตอาสา และCare giver 7) มีการทำ Grand rounds และทบทวน Case เพื่อการดูแลผู้ป่วยร่วมกันของทีมสหวิชาชีพ 8) มีระบบการให้คำปรึกษาแก่ทีมสหวิชาชีพที่ดูแล ชุมชน และผู้ป่วย ทางไลน์กลุ่ม และโทรศัพท์ 9) มีระบบการส่งต่อ – ส่งกลับ 10) ประสานงานการดูแลระหว่างทีมสุขภาพเพื่อความต่อเนื่องทั้งในขณะที่นอนโรงพยาบาลเชื่อมโยงการดูแลต่อเนื่องถึงชุมชน 11) การประเมินประสิทธิผลการดูแล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ