ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของโปรแกรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการใช้ตัวแบบในการป้องกันโรคของกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : รัศมี ลือฉาย ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาดเป็นปัญหาสุขภาพของคนไทย เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ทวีความรุนแรงทั่วโลก เป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโดยไม่รู้ตัวและยังมีภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย จากสถานการณ์โรคเบาหวานของอำเภอร่องคำ ปีงบประมาณ 2557-2559 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วย 890 ราย , 894 ราย และ 931 ราย ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มที่สูงขึ้น และอัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 10.02, 9.65 และ 10.24 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน (โรงพยาบาลร่องคำ, 2559) จากการที่คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอร่องคำ ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมเป็นทีมเรียนในเรื่องการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System Management Learning : DHML) ได้ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหากลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคเบาหวาน พบว่า การสอนตามปกติไม่สามารถทำให้บุคคลเกิดการรับรู้ได้เพียงพอที่จะเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ทีมเรียนจึงสนใจที่จะสอนให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้รับรู้ผ่านสื่อที่เขาสนใจหรือชอบ โดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจ ในการป้องกันโรค (Protection Motivation Theory) มาเป็นทฤษฎีหลักในการออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย มาใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการใช้ตัวแบบในการป้องกันโรคของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ การรับรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน และภาวะสุขภาพ ได้แก่ ค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว และระดับน้ำตาลในเลือด ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานก่อนและหลังการใช้โปรแกรม รูปแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (One-groups pre-post test design)  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาให้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โดยให้ความรู้ ให้รับรู้ นำเสนอตัวแบบด้านลบ - ด้านบวก สาธิตและฝึกทักษะให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเกิดการเรียนรู้เชิงประจักษ์ในฐานการเรียนรู้ 3 ฐาน คือ ฐานอาหาร ฐานออกกำลังกาย และฐานการผ่อนคลายความเครียด 2. จัดกิจกรรม “แลกเปลี่ยนเรียนรู้สู้เบาหวาน” จำนวน 3 ครั้ง สัญจรไปในชุมชน ครั้งละ 4 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 13.00-17.00 น. โดยจัดเดือนละ 1 ครั้ง มีกิจกรรมตรวจประเมินสภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน เรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพร่วมกัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ