ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนากระบวนการคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดโรงพยาบาลร่องคำ
ผู้แต่ง : สวาท วันอุทา ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การตกเลือดหลังคลอดเป็นปัญหาที่สำคัญเนื่องจากการตกเลือดหลังคลอดเป็นสาเหตุการตายและการเจ็บป่วยของมารดาทั้งในประเทศที่กำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว พบว่าเป็นสาเหตุการตายของมารดาทั่วโลกถึงร้อยละ 25 และเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยของประเทศที่พัฒนาแล้วสูงถึงร้อยละ 18 ของการคลอด ประเทศไทย ในปี พ.ศ.2550-2552 มีมารดาตายจากการตกเลือดหลังคลอดเท่ากับร้อยละ 13.1,9.5และ 12 การตกเลือด ที่ที่ควบคุมไม่ได้อาจทำให้ต้องตัดมดลูกเพื่อหยุดการเสียเลือด ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปอีกได้ หากเลือดออกรุนแรงและรวดเร็วหรือดูแลรักษาไม่ทันท่วงที อาจทำให้เป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้ จากสถิติมารดาที่มารับบริการในงานห้องคลอดโรงพยาบาลร่องคำในปีงบประมาณ 2557-2559 พบอัตราการตกเลือดหลังคลอดร้อยละ 1.03,1.44 และ 1.15 ตามลำดับ แม้จำนวนหรือร้อยละ ของการตกเลือดหลังคลอดโรงพยาบาลร่องคำจะมีไม่มาก หากเกิดการตกเลือดหลังคลอดจะส่งผลกระทบให้ผู้รับบริการมีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้ผู้รับบริการเสียชีวิตได้ ในอดีตอำเภอร่องคำเคยมีระบบการคัดกรองภาวะเสี่ยงในระยะฝากครรภ์และระยะคลอดแต่รูปแบบการคัดกรองยังไม่มีความชัดเจนและไม่แยกเฉพาะเจาะจงทำให้บุคลากรผู้ปฏิบัติยังไม่ได้ตระหนักและแยกได้ชัดเจน การคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญมากในการป้องกันการเกิดตกเลือดหลังคลอด ผู้วิจัยในฐานะผู้ปฏิบัติงานห้องคลอดเห็นความสำคัญและปัญหาดังกล่าวจึงได้พัฒนากระบวนการคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดโรงพยาบาลร่องคำ  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนากระบวนการคัดกรองโดยใช้แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดในหญิงตั้งครรภ์ที่รับบริการที่แผนกฝากครรภ์และห้องคลอด โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : พยาบาลผู้ปฏิบัติงานห้องคลอด พยาบาลแผนกฝากครรภ์ และพยาบาลผู้ปฏิบัติงานจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จำนวน 15 คน  
เครื่องมือ : 1. แบบคัดกรองความเสี่ยง พัฒนาขึ้นจากแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด เดิมและการทบทวนวรรณกรรมเพิ่มเติมจนได้หัวข้อในการประเมิน จำนวน 24 ข้อ และตรวจสอบความ ตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน 2. แบบประเมินการมีส่วนร่วม สร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดของทฤษฎีการมีส่วนร่วม จำนวน 5 ด้าน คือ 1) การมีส่วนร่วม/บทบาทในกิจกรรม 2) การแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ 3) การให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ 4) การเคารพในสิทธิของผู้อื่นและคำนึงถึงจริยธรรมในการแสดง ความคิดเห็น 5) ความตรงต่อเวลาในการทำกิจกรรม 3. แบบสอบถามความคิดเห็นต่อแบบคัดกรองและกระบวนการคัดกรองความเสี่ยงต่อ ภาวะตกเลือดหลังคลอดของพยาบาลผู้ปฏิบัติงานห้องคลอด พยาบาลแผนกฝากครรภ์ และพยาบาลผู้ปฏิบัติงานจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โดยกำหนดความคิดเห็นเป็น 3 ระดับ คือ เห็นด้วยมาก เห็นด้วยปานกลาง เห็นด้วยน้อย  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ดำเนินการศึกษาโดยใช้กระบวนการพัฒนา PDCA cycle ของ Deming ดังนี้ 1.ขั้นวางแผน (Plan) ทบทวนปัญหาโดยการนำเหตุการณ์สำคัญในผู้รับบริการตกเลือดระยะหลังคลอดมาทบทวนจากเวชระเบียนย้อนหลัง 3 ปี (ปีงบประมาณ 2557-2559) ของโรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2.ขั้นตอนดำเนินการ (Do) โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนากระบวนการคัดกรองความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ผู้เข้าประชุมเป็นพยาบาลผู้ปฏิบัติงานห้องคลอด จำนวน 15 คน เริ่มจากการให้ความรู้และสร้างทัศนคติในการทำงานร่วมกัน ให้ผู้เข้าประชุมมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา วางแผนการแก้ปัญหา มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล มีส่วนร่วมในการ ติดตามผลและการประเมินผลการพัฒนา ระดมสมอง เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ พร้อมพิจารณาร่างแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด เมื่อประชุมเสร็จได้ข้อสรุปที่เป็นสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลร่องคำรวมทั้งได้แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดที่ได้จากการระดมสมองของพยาบาลผู้ปฏิบัติงาน และนำไป ทดลองใช้ที่แผนกฝากครรภ์และห้องคลอดเป็นระยะ เวลา 1 เดือน 3.ขั้นตอนประเมินผลขั้นประเมินผล (Check) ได้ทำการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ในการใช้แบบคัดกรองและให้คำแนะนำเมื่อเกิดปัญหาและมีการปรับแก้ไขแบบคัดกรองในระหว่างที่ นำทดลองใช้ และให้ทีมพยาบาลมีส่วนร่วมในการประเมินผลหลังจากทดลองใช้ 4. ขั้นปรับปรุง (Act) นำผลการดำเนินงานมาปรับปรุงแก้ไขและวางแผนการพัฒนาใหม่ และประชุมทีมพยาบาลเพื่อสรุปผลการทดลองใช้แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดและประกาศใช้แบบ คัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดของโรงพยาบาลร่องคำ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ