|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบบันทึกทางการพยาบาล แบบปัญหาชี้เฉพาะ (Focus charting record) งานห้องคลอด โรงพยาบาลร่องคำ |
ผู้แต่ง : |
สวาท วันอุทา |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
บันทึกทางการพยาบาลเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่แสดงถึงความเป็นอิสระแห่งวิชาชีพและเป็นหัวใจสำคัญของวิชาชีพพยาบาล มีความสำคัญต่อการดูแลผู้ป่วยของทีมสุขภาพ เนื่องจากบันทึกทางการพยาบาลเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงข้อมูลและรายงานความก้าวหน้าอาการของผู้ป่วย ใช้เป็นหลักฐานที่อ้างอิงการปฏิบัติการพยาบาล บันทึกทางการพยาบาลที่ดีและมีคุณภาพจะสื่อให้เห็นถึงการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง จากการเยี่ยมประเมินรับรองผลการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลจากสถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาลในปี 2557 ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบันทึกทางการพยาบาลแก่กลุ่มการพยาบาลในทุกแผนกโดยเน้นความสำคัญในการนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนการดูแลทั้งในระหว่างอยู่โรงพยาบาลและวางแผนการจำหน่ายเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการดูแลตนเองที่บ้าน กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลร่องคำมีนโยบายให้ความสำคัญกับการบันทึกทางการพยาบาล สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในโรงพยาบาลร่องคำพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐานทางการพยาบาลเน้นการบันทึกที่แสดงถึงคุณภาพและความรู้ความสามารถในเชิงคลินิกของบริการพยาบาลและใช้เวลาสั้นในการบันทึก งานห้องคลอดเป็นหน่วยงานหนึ่งในกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลร่องคำที่เห็นความสำคัญของการบันทึกทางการพยาบาล ในอดีตเคยมีการพัฒนารูปแบบการบันทึกที่หลากหลายรูปแบบผลการประเมินจากผู้ปฏิบัติพบว่าแต่ละรูปแบบมีความยุ่งยากซับซ้อน ใช้แบบฟอร์มจำนวนมาก ใช้เวลาบันทึก จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าการบันทึกทางการพยาบาลแบบปัญหาชี้เฉพาะ (Focus charting record) เป็นรูปแบบที่รวบรัดและกระชับ ทำให้ง่ายต่อการหาข้อมูลสำคัญ ปัญหาของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และส่งเสริมการสื่อสารข้อมูลสำคัญของผู้ป่วยให้แก่บุคลากรวิชาชีพอื่นในทีมดูแลรักษาได้ชัดเจน ด้วยเหตุผลและความสำคัญดังกล่าว ผู้ศึกษาในฐานะเป็นหัวหน้างานห้องคลอด จึงมีความสนใจที่นำรูปแบบการบันทึกแบบชี้เฉพาะ(Focus charting record) มาประยุกต์ใช้ ในการพัฒนารูปแบบการบันทึกการพยาบาลงานห้องคลอด โรงพยาบาลร่องคำ
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลแบบปัญหาชี้เฉพาะ (Focus charting record) งานห้องคลอด โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
|
|
เครื่องมือ : |
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาและเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
3.1 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ ศึกษาพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลงานห้องคลอดโรงพยาบาลร่องคำ ได้แก่
3.1.1 รูปแบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น
3.1.2 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการบันทึกทางการพยาบาลเพื่อให้พยาบาลผู้ปฏิบัติงานห้องคลอดมีความรู้และทักษะในการบันทึกตามรูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นก่อนนำไปทดลองใช้จริง
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ชุด ได้แก่
3.2.1 แบบตรวจสอบคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลและคู่มือสำหรับวิเคราะห์การตรวจสอบคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล
3.2.2 แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานห้องคลอด ต่อการพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลแบบปัญหาชี้เฉพาะ (Focus charting record) ที่พัฒนาขึ้น
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ผู้ศึกษาได้ใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง PDCA ของ Edward Deming
มาใช้ในการพัฒนา โดยใช้ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่เดือน เมษายน พ.ศ 2559 ถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งแบ่งการศึกษาเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน (Plan) ขั้นตอนการปฏิบัติ (Do) ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check) และขั้นปรับปรุงแก้ไข (Act) ดังนี้
1. ขั้นตอนการวางแผน (Plan) โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1 ศึกษาบริบท ทบทวน/วิเคราะห์สถานการณ์เดิมของการบันทึกทางการพยาบาลของกลุ่มงานห้องคลอด โรงพยาบาลร่องคำ โดยทบทวนย้อนหลังเกี่ยวกับปัญหาในการบันทึกทางการพยาบาลจาก เวชระเบียนผู้ป่วยที่รับไว้ในห้องคลอดโรงพยาบาลร่องคำ และสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานห้องคลอด
1.2 รวบรวมปัญหาต่างๆที่พบ ประชุมกลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการเพื่อศึกษาปัญหาเพิ่มเติมในส่วนที่ขาด ศึกษา ค้นคว้าเอกสารวิชาการในเรื่อง นโยบายที่สำคัญของกลุ่มการพยาบาลการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติงาน การบันทึกทางการพยาบาล เพื่อเป็นพื้นฐานในการออกแบบบันทึกทางการพยาบาล นำมาจัดทำนโยบายการบันทึกทางการพยาบาล
1.3 เสนอผลการประชุมและแนวคิดการพัฒนารูปแบบบันทึกการพยาบาลของห้องคลอดโรงพยาบาลร่องคำ ต่อหัวหน้ากลุ่มการพยาบาลและผู้อำนวยการโรงพยาบาลร่องคำ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในการดำเนินการพัฒนารูปแบบบันทึกทางการพยาบาลงานห้องคลอดโรงพยาบาลร่องคำ
1.4 แต่งตั้ง คณะทำงานผู้รับผิดชอบการบันทึกทางการพยาบาล เพื่อเป็นทีมกลางในการสื่อสารนโยบาย คู่มือ และรูปแบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น
1.5 ร่างโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาล กลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาลร่องคำและเสนอขออนุมัติโครงการจากหัวหน้ากลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลร่องคำ
1.6 ประชุมเพื่อปรึกษาหารือและวางแผนการจัดอบรม
1.7 ติดต่อวิทยากรภายนอกหน่วยงานที่เชี่ยวชาญ ด้านการบันทึกทางการพยาบาล
1.8 เตรียมสถานที่ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ
1.9 ร่างแนวทางบันทึกทางการพยาบาล โดยการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ตำรา เอกสารต่างๆ และงานวิจัย เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบบันทึกทางการพยาบาลและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพบันทึกทางการพยาบาลในงานห้องคลอด เพื่อนำมาให้คณะทำงานผู้รับผิดชอบที่เข้าร่วมโครงการร่วมพิจารณาและปรับปรุงแนวทางการบันทึก เพื่อใช้ในการทดลองปฏิบัติ
1.10 ประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมประชุมโครงการพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลห้องคลอด โรงพยาบาลร่องคำ
1.11 เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลโครงการพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาล มาเป็นแนวทางทบทวนเพื่อขอความเห็นชอบจากผู้เข้าอบรมถึงความเป็นไปได้ในการนำมาทดลองใช้
2. ขั้นตอนการปฏิบัติ (Do) ดำเนินการระหว่าง มี 2 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบบันทึกทางการพยาบาลและ 2)ขั้นตอนการใช้รูปแบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น
3. ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลงานห้องคลอดโดย
3.1 ประเมินคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลจากการใช้แบบบันทึกแบบที่พัฒนาขึ้น
3.2 ประเมินความพึงพอใจจากการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น
4 ขั้นการปรับปรุงแก้ไข (Act) มีการดำเนินการดังนี้
4.1 จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบันทึกทางการพยาบาลของกลุ่มการพยาบาล เพื่อสรุปผลการพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น และระดมสมองค้นหาปัญหาอุปสรรค แก้ไขแนวทางการพัฒนารูปแบบบันทึกทางการพยาบาลและมีการนิเทศติดตามผลเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
4.2 จัดทำคู่มือรูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลงานห้องคลอดโรงพยาบาลร่องคำ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|