|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ห่วงใยดูแลสุขภาพ พ่ออุ้ย แม่อุ้ย ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น “โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหมูม่น” |
ผู้แต่ง : |
จรัศรี ศรีเวีย,นัยนา จำเริญเจือ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่งเนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก ได้เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีความรู้ มีทักษะ สมควรค่าแก่การอนุรักษ์ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และผู้สูงอายุได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญในการยกย่องให้การดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิต สุขภาพกายเป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข จากผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553 – พ.ศ.2583 พบว่า สัดส่วนของประชากรสูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนกล่าวคือสัดส่วนของผู้สูงอายุวัยปลายจะเพิ่มจากประมาณร้อยละ 12.7 ของประชากรสูงอายุทั้งหมดเป็นเกือบ 1 ใน 5 ของประชากรสูงอายุ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุวัยปลายนี้ จะสะท้อนถึงการสูงอายุขึ้นของประชากรสูงอายุ และนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิง ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพเมื่อพิจารณาสัดส่วนเพศของประชากรสูงอายุ พบว่า ประชากรสูงอายุเพศหญิงมีสัดส่วนร้อยละ 55.1 ในปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 56.8 ในปี 2583 โดยเฉพาะประชากรสูงอายุวัยปลายเพศหญิงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากร้อยละ 13.9 ในปี 2553 เป็นร้อยละ 21.3 ในปี 2583 เนื่องจากเพศหญิงจะมีอายุยืนยาวกว่าเพศชายสำหรับแนวโน้มประชากรสูงอายุไทยจะอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลหรือเขตเมืองเพิ่มขึ้นโดยในปี 2553 มีประชากรสูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลจำนวน 3.3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 39.7 เพิ่มขึ้นเป็น11.6 ล้านคน หรือร้อยละ 59.8 ในปี 2583 ผู้สูงอายุติดสังคม ร้อยละ ๗๙.๕๐ ผู้สูงอายุติดบ้าน คิดเป็นร้อยละ ๑๙ ผู้สูงอายุติดเตียง คิดเป็นร้อยละ ๑.๕๐ ทั้งนี้ เนื่องมาจากแนวโน้มการเติบโตของประชากรเมืองในประเทศไทยมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นทำให้จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น และจำนวนผู้สูงอายุ ในเขตตำบลหมูม่นมีจำนวนทั้งหมด 1,333 คนคิดเป็นร้อยละ17.38 มีผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 1,316 คนคิดเป็นร้อยละ ๙๘.๗๒ ผู้สูงอายุติดบ้าน จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๖๗ ผู้สูงอายุติดเตียงจำนวน ๔ คนคิดเป็นร้อยละ๐.๓๐ และมีผู้สูงอายุป่วยด้วยโรค เบาหวาน ร้อยละ ๕.๐๓ ผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 13.87 ผู้สูงอายุป่วยทั้งโรคเบาหวานและความดัน ๙.๖๗ แนวโน้นการป่วยด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุของตำบลหมูม่นมีแนวโน้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่เจ็บป่วยได้ง่ายเนื่องจากความเสื่อมตามสภาพร่างกายของผู้สูงอายุเอง ผู้สูงอายุจึงต้องได้รับการดูแล
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่น ได้ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุมาโดยตลอด
โดยได้ร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ กลุ่มองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ในการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เช่นการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต ส่งเสริมการออกกำลังกาย ถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่ลูกหลาน ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม จัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่น จึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมอย่างเต็มที่ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้นและห่างไกลจาก
โรคภัยไข้เจ็บ
๒.เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น สมุนไพร อาหารท้องถิ่น วัสดุท้องถิ่น ดนตรี และ
ประเพณีวัฒนธรรม นำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันของตนเองด้านสุขภาพจิตใจและสังคม ได้
2. เพื่อให้เป็นศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุน ชุมชน ภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุ เข้ามามี
ส่วนร่วมดูแลผู้สูงอายุ ด้วยภูมิปัญญาในท้องถิ่นโดยใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น สำหรับการดูแลผู้สูงอายุ
๓. เพื่อเป็นการสร้างขวัญ และกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
เพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า
๔. เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่ม และสร้างความสามัคคีในชุมชน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้สูงอายุ จำนวน ๔๒ คน |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
๖.๑ จัดประชุมสร้างแนวร่วมกับหน่วยที่เกี่ยวข้องภาคีเครือข่ายสร้างจิตอาสาของภูมิปัญญาในท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมการดูแลผู้สูงอายุ
๖.๒ เตรียมความพร้อมด้านองค์ความรู้/หลักสูตรการนำไปฝึกอบรมให้ตอบโจทย์ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายกำหนดปฏิทิน ช่วงเวลาการจัดกิจกรรม
๖.๓ เขียนแผนงานโครงการเพื่อเสนอผู้บริหาร
๖.๔ ประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ ให้กลุ่มเป้าหมายได้ทราบอย่างทั่วถึงและรับสมัครผู้เข้าร่วมโรงเรียนผู้สูงอายุ
๖.๕ ประสานวิทยากรเพื่อให้การอบรม
๖.๖ ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการดำเนินการ รายกิจกรรมดังนี้
เทรอม 1 เริ่ม มกราคม – เมษายน ๒๕๖๐ เดือนละ ๒ ครั้ง
เทรอม ๒ เริ่ม กรกฎาคม – กันยายน 2560 เดือนละ ๒ ครั้ง
- กิจกรรมที่ ๑ (วิชาสุขศึกษา) การดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร
- กิจกรรมที่ ๒ (วิชาโภชนาการ) อาหารท้องถิ่นสำหรับผู้สูงอายุ
- กิจกรรมที่ ๓ (วิชาพลศึกษา) สร้างความแข็งแรงของร่างกายด้วยวิธีและวัสดุ
ภูมิปัญญาในท้องถิ่น
- กิจกรรมที่ ๔ (วิชาดนตรี-นาฏศิลป์) การนันทนาการดูแลจิตใจและอารมณ์
- กิจกรรมที่ 5 (วิชาภูมิปัญญา-ประดิษฐ์) ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก โดยใช้วัสดุ ในท้องถิ่น
- กิจกรรมที่ ๖ (มอบรางวัลนักเรียนดีเด่น) ยกย่องผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง จากการดูแลตนเอง รวมทั้งการเป็นต้นแบบให้กับผู้อื่นนำไปเป็นแบบอย่างได้
๖.๗ ติดตามและประเมินผลโครงการ ฯ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|