|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการเตรียมคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ ห้องคลอดโรงพยาบาลยางตลาด |
ผู้แต่ง : |
พูลเพชร ภูต้องใจ,รัชนี พจนา |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การคลอดในปัจจุบันเป็นการใช้แนวทางการดูแลตามรูปแบบทางการแพทย์(Medical model) เป็นหลัก ซึ่งมีแนวคิดที่เชื่อว่ากระบวนการคลอดในผู้คลอดทุกคนล้วนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนในระยะการเจ็บครรภ์และคลอดบุตร จำเป็นต้องได้รับการดูแลแบบผู้ใช้บริการที่มีภาวะเจ็บป่วยต้องได้รับการดูแลจากบุคคลากรทางการแพทย์อย่างใกล้ชิด มีการทำกิจกรรมทางการแพทย์แบบกิจวัตร เช่นการฟังเสียงหัวใจทารกโดยใช้เครื่อง การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก การเจาะถุงน้ำทูนหัว
การตัดฝีเย็บ หรือการช่วยคลอดโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการ กิจกรรมเหล่านี้นอกจากเป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นแล้วยังเป็นกิจกรรมที่องค์การอนามัยโลกประกาศว่าเป็นการปฏิบัติที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือมีผลเสียชัดเจน ส่งผลให้ผู้คลอดมีโอกาสเกิดการติดเชื้อ นอนพักในโรงพยาบาลนานขึ้นมีการเริ่มต้นในการให้นมบุตรช้าออกไปและค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรสูงมากขึ้น เป็นต้น จึงมีการนำแนวคิดของการส่งเสริมการคลอดวิถีธรรมชาติ(Promoting Natural Childbirth)เป็นการคลอดที่ยึดผู้คลอดเป็นศูนย์กลาง ให้ความสำคัญกับการทำหน้าที่ของกระบวนการทางสรีระวิทยาของผู้คลอด พยาบาลช่วยให้การคลอดดำเนินไปตามธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยกิจกรรมทางการแพทย์ที่เกินจำเป็น หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่รบกวนกระบวนการคลอดตามธรรมชาติ และมีการให้บริการทางการแพทย์เมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนเท่านั้น
ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ส่งเสริมและสนับสนุนการคลอดวิถีธรรมชาติในสถานบริการ ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่สำหรับผู้คลอดในประเทศไทย นอกจากนี้การบริการการคลอดวิธีธรรมชาติมีการบริการเพียงส่วนน้อยยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย แม้ว่าจะมีหลักบานเชิงประจักษ์จากการศึกษาวิจัยทั้งในและต่างประเทศว่า การคลอดวิถีธรรมชาติเป็นการเสริมสร้างกระบวนการคลอดตามธรรมชาติ ช่วยลดกิจกรรมทางการแพทย์ที่จะรบกวนกระบวนการตามธรรมชาติของการเจ็บครรภ์และการคลอดบุตร และมีผลดีต่อผู้คลอด ทารกและครอบครัว เช่นลดการใช้ยาบรรเทาความเจ็บปวด ช่วยลดระยะเวลาของการคลอด ช่วยให้ผู้คลอดมีทัศนคติและประสบการณ์ที่ดีต่อการคลอด
ห้องคลอดโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวจึงได้นำแนวคิดการคลอดวิธีธรรมชาติมาใช้ในการดูแลผู้คลอด โดยยึดแนวคิดในการบริการที่ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง(Patient centered care) ในการดำเนินงาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษารูปแบบในการจัดกิจกรรมการคลอดวิธีธรรมชาติในห้องคลอดโรงพยาบาลยางตลาด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริการในหน่วยงานอย่างเป็นรูปธรรมโดยมีงานวิจัยรองรับ และเป็นการพัฒนาคุณภาพบริการของหน่วยงานต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อพัฒนารูปแบบการคลอดแบบธรรมชาติในห้องคลอดโรงพยาบาลยางตลาด |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
แพทย์ 2 คน , พยาบาล 6 คน,ผู้คลอดจำนวน 30 คน |
|
เครื่องมือ : |
1. รูปแบบการเตรียมคลอดวิถีธรรมชาติ
2.แบบบันทึกข้อมูลการคลอด
3.แบบสอบถามความพึงพอใจ ผู้คลอด และญาติ
4.แนวทางสนทนากลุ่มผู้ให้บริการ (9 คน)
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ระยะที่1 ขั้นตอนพัฒนารูปแบบ
1 .ผู้วิจัยเข้ารับการอบรมการคลอดวิถีธรรมชาติที่มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นเวลา 3 วันพร้อมร่างรูปแบบการดำเนินงานการคลอดธรรมชาติในระยะแรก
2.ประชุมชี้แจงบุคลากรประกอบด้วย แพทย์ 2 พยาบาล 6
3.สรุปแนวทางการจัดกิจกรรมการคลอดธรรมชาติในโรงพยาบาลยางตลาดได้ดังนี้
3.1 ระยะเตรียมการ
เตรียมผู้คลอดและครอบครัวโดยกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ เมื่ออายุครรภ์มารดาได้ 32 สัปดาห์
อธิบายให้ทราบข้อดีและข้อเสียของการคลอดแต่ละชนิดที่มีผลต่อมารดาทารก ให้ผู้คลอดและญาติตัดสินใจเลือกสมัครเข้าโครงการคลอดวิถีธรรมชาติ
3.2 ระยะคลอด แบ่งเป็น
ระยะที่1 ของการคลอด
1.มีการใช้Patograph เพื่อเฝ้าระวังตามมาตรฐานการคลอด
2.ตรวจFHS และUterine contraction ทุก 1 ชั่วโมง ในระยะ latent phase
3.ตรวจFHS และUterine contraction ทุก 30 นาที ในระยะ Active phase
4.ตรวจภายในทุก 4 ชั่วโมงหรือเมื่อมีข้อบ่งชี้ในระยะlatent phase และตรวจภายในทุก 2 ชั่วโมงหรือเมื่อมีข้อบ่งชี้ในระยะActive phase
5.มีอิสสระในการเคลื่อนไหว และเลือกท่าที่เหมาะสมในระยะของการเจ็บครรภ์และคลอดบุตร
5.การดูแลผู้คลอดอย่างต่อเนื่องตลอดระยะของการเจ็บครรภ์และการคลอดบุตร
6.การช่วยลดกิจกรรมทางการแพทย์ที่จะรบกวนกระบวนการตามธรรมชาติของการเจ็บครรภ์และการคลอดบุตร
7.การไม่ใช้ยาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด
ระยะที่ 2 ของการคลอด
1.ให้คลอดในท่าที่ไม่ใช่ท่านอนหงายราบ ให้หัวสูง
2.ให้ผู้คลอดเบ่งเองตามความรู้สึก
3.ไม่ตัดฝีเย็บ
3.กระตุ้นสายสัมพันธ์แม่ลูก
ระยะที่ 3 ของการคลอด
1.ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
2.ให้รกคลอดเอง หรือทำคลอดรกแบบModified cred maneuver
ระยะที่ 4 ของการคลอด
1.วัดสัญญาณชีพทุก 30 นาที
2.ตรวจหลังคลอด ดูการหดรัดตัวของมดลูก ,Bleeding ,Bladder
3.กระตุ้น breat feeding
ระยะที่ 2 นำรูปแบบมาใช้กับผู้คลอดจำนวน 30 ราย ในระหว่าง 1 มีนาคม-30 มิถุนายน 2560
ระยะที่ 3 สรุปผลการใช้รูปแบบการคลอดวิถีธรรมชาติ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|