|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การใช้สมุนไพรเนื้อในลำต้นมะละกอพอกลดอาการปวดบวมในโรคปวดเข่าหรือเข่าเสื่อม |
ผู้แต่ง : |
คณะทำงาน : นพ.สมานมิตร อัฐนาค ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำม่วง, ดุษฎี มงคล เจ้าพนักงานเภสัชกรรมชำนาญงาน, ทองยุ้น รมรื่น ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย, ทัศนีย์ โสภารักษ์ ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย, เสริมสุข ศรีนวล ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย
|
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพ และปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย อาการส่วนใหญ่ส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง จากข้อมูลผู้รับบริการโรงพยาบาลคำม่วง พบว่า ผู้ป่วยโรคปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นทุกปี จากการสำรวจข้อมูลผู้ป่วยโรคปวดเข่าหรือเข่าเสื่อม ปี 2557-2559 พบผู้ป่วยจำนวน 1,078 ราย 1,086 ราย และ 1,011 ราย (1 ต.ค.58-30พ.ค.59) ตามลำดับ (ฐานข้อมูลเวชสถิติโรงพยาบาลคำม่วง2559) พบว่ากลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพอกสมุนไพรเนื้อในลำต้นมะละกอในการลดอาการปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมที่มารับบริการที่โรงพยาบาลคำม่วง |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
อาสาสมัครที่ป่วยเป็นโรคปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมที่มารับการรักษา ที่โรงพยาบาลคำม่วงและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ว่ามีภาวะปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมจำนวน 60 คน |
|
เครื่องมือ : |
ประเมินอาการปวดโดยใช้ Pain Visual Analog Scale ร่วมกับแบบประเมินข้อเข่าเสื่อม |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
เป็นการศึกษากึ่งทดลอง โดยคัดเลือกอาสาสมัครที่ป่วยเป็นโรคปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมที่มารับการรักษา ที่โรงพยาบาลคำม่วงและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ว่ามีภาวะปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมจำนวน 60 คน ประเมินอาการปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมก่อนเข้ารับการรักษาระดับปานกลางถึงมาก ที่สุด หลังการรักษาครั้งที่3ประเมินอาการปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมลดลงระดับน้อยถึง น้อยมากที่สุด ตามการจำแนก Acute Arthritis of Knee จำนวน 20 คน , Chronic Arthritis of Knee จำนวน 25 คน และ Arthosis O Steoarthritis of Knee จำนวน 15 คน การรักษาอาการปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมโดยการพอกสมุนไพรเนื้อในลำต้นมะละกอไว้ ที่เข่า เวลา 3 ชั่วโมง/ครั้ง ทำติดต่อกัน 3 วัน ประเมินอาการปวดโดยใช้ Pain Visual Analog Scale ร่วมกับแบบประเมินข้อเข่าเสื่อมภายในกลุ่มทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 – พฤษภาคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณและเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยคะแนน อาการปวดก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ โดยใช้สถิติร้อยละ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผลการดำเนินงาน พบว่า อาสาสมัครเป็นเพศหญิงร้อยละ 83 มีอายุระหว่าง 70-79 การศึกษาอยู่ระดับประถมศึกษาร้อยละ 67 จากการประเมินอาการปวดของอาสาสมัคร พบว่า คะแนนเฉลี่ยอาการปวดก่อนการรักษาในครั้งแรกอยู่ที่ 8 และหลังการรักษาครั้งที่ 3 มีค่าคะแนนเฉลี่ยอาการปวดอยู่ที่ 4 และเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังให้การรักษาพบว่า ค่าเฉลี่ยอาการเจ็บปวดลดลงเฉลี่ย 2 คะแนน |
|
ข้อเสนอแนะ : |
ทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดอาการปวดเข่าหรือเข่าเสื่อม ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมได้ |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|