ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานรุนแรง
ผู้แต่ง : กาญจนา พะวินรัมย์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การต่อต้านโรควัณโรคของอำเภอยางตลาดนั้นได้เริ่มจัดการเป็นระบบตั้งแต่ปี 2549 มีระบบการดูแลรักษาโดยให้ผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกนอนโรงพยาบาลเพื่อดูแลความพร้อมทั้งร่างกายจิตใจและครอบครัวก่อนเริ่มกินยา มีการจัดสถานที่เพื่อรับไว้เป็นผู้ป่วยในมีทีมสหวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตามยังพบปัญหาวัณโรคดื้อยาทุกปี ปีละ2-3 คน คิดเป็นร้อยละ 1.57 เป็นที่ทราบดีว่าโรควัณโรคได้ส่งผลกระทบต่อร่างกายและสภาพจิตใจทั้งต่อผู้ป่วยและครอบครัว อำเภอยางตลาดได้พบผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานรุนแรง 1 รายขึ้นทะเบียนเมื่อเดือน มิถุนายนปี 2557 และทราบผลการเพาะเชื้อวัณโรคว่าดื้อยาหลายขนานรุนแรงเดือน ธันวาคม 2558 กล่าวคือเป็นวัณโรคเสมหะบวกที่ดื้อต่อยาต้านวัณโรคทุกตัว ไม่มียารักษามีการแพร่เชื้อวัณโรคได้ตลอดเวลาถ้าผู้ป่วยไอ จาม ไม่สวมหน้ากากอนามัย ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบในระดับกว้างของจังหวัดกาฬสินธุ์อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ผู้ศึกษาจึงสนใจศึกษาความรู้ใหม่ในการเกิดโรค การดูแลเฉพาะโรค การดูแลสภาพจิตใจผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชนและสภาพจิตใจเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานรุนแรงและการดูแลที่เหมาะสม  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานรุนแรง XDR TB 1 ราย 2 ทีมสหวิชาชีพผู้ดูแลผู้ป่วย โรงพยาบาลยางตลาด 10 คน 3 ทีมผู้ดูแลต่อเนื่องกำกับการกินยาในชุมชน DOT 5 คน 4 ผู้ประสานงานวัณโรคระดับจังหวัด PTC  
เครื่องมือ : 1. ข้อมูลการรักษาจากเวชระเบียน 2 แบบสัมภาษณ์ครอบครัว ผู้ดูแล  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1 ขั้นเตรียมการ นำเสนอผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาอนุญาตเก็บข้อมูล ศึกษาบทบาททีมผู้ดูแล 2 ขั้นดำเนินการ 2.1 ประเมินข้อมูลสุขภาพผู้ป่วย และครอบครัว ได้แก่ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยวัณโรคปอด ข้อมูลทางด้านการแพทย์ ประวัติการรักษา เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส ที่อยู่ ประวัติการมีผู้ป่วยในครอบครัว ประวัติโรคเรื้อรังทั่วไป ประวัติการรักษาโรคครั้งนี้ ประวัติครอบครัวโรคอื่นๆร่วม ผู้ที่สามารถทำหน้าที่กำกับการกินยา (DOT) โครงสร้างหน้าที่ครอบครัว ได้แก่ บทบาท / ค่านิยม/การสื่อสาร/ ความผูกพัน และการเผชิญปัญหาในครอบครัว แหล่งประโยชน์ที่มี 2.2 วิเคราะห์ข้อมูล วินิจฉัยปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัวร่วมกับทีมผู้ดูแล 2.3 ประสานงานและพัฒนาแผนการดูแลของผู้ป่วยวัณโรคแต่ละคนร่วมกับ ทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องประสานวัน เวลา สถานที่ประชุม ทางเสียงตามสาย และทำหนังสือแจ้งทีมที่เกี่ยวข้อง นำเสนอข้อมูล ทีมผู้ดูแลผู้ป่วยพิจารณาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ทบทวนแนวปฏิบัติเดิมว่าเหมาะสมกับผู้ป่วยหรือไม่ จดบันทึกประเด็นสำคัญและข้อสรุปที่ได้จากการประชุมอย่างละเอียดลงในเวชระเบียน เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการจัดประชุมในครั้งต่อไป 3 ขั้นประเมินผล ประเมินผลภายหลังการดำเนินงาน 1 ปี 3.1 ผลลัพธ์ของผู้ป่วย ได้แก่ ผลการเปลี่ยนเสมหะเมื่อสิ้นสุดระยะเข้มข้นผลการเพาะเลี้ยงเชื้อ อาการข้างเคียงของยา 3.2 ผลลัพธ์ของครอบครัว ได้แก่ พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยการทำหน้าที่กำกับการกินยา  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง