|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : เก็บข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลการค้นหาวัณโรคในคลินิกเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
กาญจนา พะวินรัมย์ , ผู้รับผิดชอบงานวัณโรคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 17 แห่ง |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
อำเภอยางตลาดมีประชากร 139,942 คน พบผู้ป่วยวัณโรคปี 2556-2558 จำนวน 228,174,184คน คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 164.0, 125.17, 132.3 / แสนประชากร ซึ่งอัตราป่วยน้อยกว่าที่คาดว่าจะพบในชุมชน เป้าหมายอัตราป่วยวัณโรค 170/แสนประชากร หรือ ต้องมีผู้ป่วยวัณโรค 236 คน/ปี และผู้ป่วยวัณโรคที่มีโรคร่วมสูงสุด คือโรคเบาหวาน ปี 2557-2558 จำนวน 27 (ร้อยละ 15.51) , 33 (17.93) คน ตามลำดับ อีกทั้งผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงหลักที่ติดเชื้อวัณโรคและเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในระหว่างการรักษา จึงต้องดำเนินการเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว
ทบทวนการคัดกรองค้นหาที่ผ่านมา รพ.สต ร่วมคัดกรองกับโรงพยาบาลโดยการอบรม อสม.แล้วออกไปคัดกรองพบผู้ที่มีอาการเข้าได้แจกตลับเสมหะ 3 ตลับ/คน แล้วรวบรวมทั้งหมดส่ง รพ.สต.ตรวจสอบและนำส่งห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลปี 2557 -2558 นำส่งเสมหะ 576 คน (1,728 ตลับ),
340 (1,020 ตลับ) พบผู้ป่วยเสมหะบวก 1 คน ในปี 2557 ปี 2558 ไม่พบค่าใช้จ่ายในการคัดกรองค้นหาปี 2557-2558 เป็นจำนวนเงิน 201,640 บาทและค่าใช้จ่ายด้านวัสดุอุปกรณ์ อื่นๆเช่น ตลับเสมหะซองใส่ตลับ ภาระงานของเจ้าหน้าที่ทุกจุดบริการ เพื่อให้การค้นผู้ป่วยวัณโรคให้พบโดยเร็ว มีประสิทธิภาพ ลดภาระงาน ลดค่าใช้จ่ายการบริการที่ฟุ่มเฟือย
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงวัณโรคได้รับการคัดกรองวัณโรคและเข้าสู่กระบวนการรักษา |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ และมีความเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรค |
|
เครื่องมือ : |
แบบคัดกรองวัณโรคในคลินิกโรคเบาหวาน ปรับปรุงจากสำนักนักวัณโรค |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1 ประชุมทีมผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค PCT TB วิเคราะห์ข้อมูลอัตราป่วยในอำเภอวางแผนยุทธศาสตร์ร่วมกัน ในการค้นหา เพิ่มอัตราป่วยและลดภาระระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
2 เจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง คัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในคลินิกเบาหวานที่มารับยาใน รพ.สต. โดยใช้แบบฟอร์ม ICF 3 (ตามโครงการ new funding model) แล้วรวบรวมเอกสารมาส่งเจ้าหน้าที่ คลินิกวัณโรคคัดกรองเฉพาะผู้ที่มีอาการเข้าได้จริง มาตรวจ เอ็กซเรย์ปอดถ้าผลปกติไม่ต้องตรวจเสมหะ ให้คำแนะนำกลับบ้าน
3 ตรวจสอบกระบวนการทำงาน คัดแยกใบคัดกรอง ประสานห้องเอ็กซเรย์ ห้องปฏิบัติการ แพทย์ พยาบาลจุดคัดกรอง ประชาสัมพันธ์ให้ทุกจุดบริการทราบทั่วถึง
4 เจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำรวจ จำนวน และวันนัดผู้ป่วยเบาหวานที่มารับยาใน รพ.สต.
5 ซักประวัติการรักษาเบาหวานและ ซักประวัติคัดกรองวัณโรคตามแบบฟอร์ม ICF 3
6 รวบรวมแบบฟอร์ม ICF 3 นำส่งพยาบาลคลินิกวัณโรคคัดแยกผู้ที่มีอาการเข้าเกณฑ์
7 พยาบาลคลินิกวัณโรคทำหนังสือแจ้ง ให้ผู้ที่มีอาการเข้าได้มาตรวจ เอ็กเรย์ปอด
8 ผู้ที่มีอาการเข้าได้ เอ็กซเรย์ปอดพบเงาผิดปกติ ส่ง ตรวจเสมหะ AFB
9 ผลตรวจเสมหะ (AFB) เป็นบวก เอ็กซเรย์ปอดเข้าได้กับวัณโรคให้ขึ้นทะเบียนการรักษา แบบ DOT
10 รายงานโรคให้ เจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทราบ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|