|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยหลักโภชนบำบัดตามบริบทชุมชน โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
วัชภูมิ ทองใบ นักโภชนาการ |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ทุกปีจะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นกว่า 7 ล้านคน โดยมีผู้เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เพิ่มขึ้นมากที่ ปัจจุบันมีประชากรในประเทศไทยป่วยด้วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มสูงขึ้นและใน พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลคำม่วง มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานทั้งหมดจำนวน 2,994 ราย ผู้ป่วยเบาหวาน ร้อยละ 56.02 มีภาวะแทรกซ้อน และมีอัตราการตายจากภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลคำม่วงมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ตายจากภาวะแทรกซ้อน จากปี พ.ศ.2551-2556 คิดเป็น 252 ราย ร้อยละ 8.4 สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยเฉพาะเรื่องการบริโภคอาหาร ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังมีความรู้เรื่องโภชนาการที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลยัง ไม่มีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงตัวบุคคล จึงได้จัดทำโครงการ นี้ขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความตระหนักเพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกหลักการทาง โภชนาการที่เหมาะสม แต่ละบุคคลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่จะเกิดขึ้น |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
2. ผู้ป่วยมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง ด้านโภชนาการ
3. พัฒนาทักษะอสม. ให้เป็น อาสาโภชนาการชุมชน
4. ลดอัตราการเกิดภาวะ/โรคแทรกซ้อน จากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้(FBS 155-182mg/dL) จำนวน 46 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ และอสม. 22 คน |
|
เครื่องมือ : |
การสนทนากลุ่ม(Focus Group Discussion)
แบบประเมินภาวะโภชนาการ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ(Action research: AR) เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยการให้โภชนบำบัดรายบุคคล ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้(FBS 155-182mg/dL) จำนวน 46 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ และอสม. 22 คน โดยการเก็บข้อมูลเบื้องต้นผู้ป่วยเบาหวาน จัดกลุ่มผู้ป่วยตามปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ทำการสนทนากลุ่ม(Focus Group Discussion) สังเคราะห์ข้อมูล จัดทำเนื้อหาการอบรม จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านอาหารและโภชนาการ ประเมินภาวะโภชนาการและวางแผนโภชนบำบัดให้แก่ผู้ป่วยรายบุคคล อบรม อสม.อาสาโภชนาการชุมชน มอบหมายภารกิจ ในการติดตามพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานทุกสัปดาห์ เสริมพลังจากนักโภชนาการเข้ากลุ่มย่อยทุกเดือน และประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือด 3 ครั้ง (ตามวันนัดพบแพทย์คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลคำม่วง) |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 73.92 ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 61.54 การศึกษาส่วนใหญ่ชั้นประถมศึกษาร้อยละ 80.43 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 76.08 และสถานภาพสมรส ร้อยละ 86.95 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ทำอาหารกินเอง ร้อยละ 58.69% ญาติทำอาหารให้ ร้อยละ 41.30 ผู้ป่วยส่วนใหญ่กินอาหารครบ 3 มื้อ ร้อยละ 95.65 กินข้าวตรงเวลา ร้อยละ 52.17 กินข้าวไม่ตรงเวลา ร้อยละ 47.82 ประเภทอาหารที่ชอบรับประทานส่วนใหญ่คือ อาหารพื้นบ้าน (ป่น แกงลาว ปิ้ง ย่าง น้ำพริก) รสชาติที่ชอบ รสเค็ม ร้อยละ 47.82 รสชาติจืด/พอดี ร้อยละ 45.65 ผลการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ระดับปานกลาง ร้อยละ 47.82 และระดับที่ควรปรับปรุง ร้อยละ 39.13 กลุ่มเป้าหมายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าน้อยกว่า 155mg/dL ได้ ร้อยละ 52.64 , 60.88 และ 69.58 ตามลำดับ ผู้ป่วยเบาหวานไม่มีภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน (hypoglycemia , hyperglycemia) มีความรู้ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 91.30 และมีความพึงพอใจในระดับดีมากทุกคน มี อสม. ผ่านการอบรม และติดตามผู้ป่วยเบาหวาน เป็น อสม. อาสาโภชนาการชุมชน ทั้งหมด 22 คน |
|
ข้อเสนอแนะ : |
การวางแผนโภชนบำบัดรายบุคคลโดยนักโภชนาการ อสม.อาสาโภชนาการชุมชน ออกติดตามให้กำลังใจทุกสัปดาห์ และเข้ากลุ่มย่อย พบนักโภชนาการ ทุกเดือน เพื่อเสริมพลังและรับฟังปัญหาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ข้อเสนอแนะการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานในทุกกลุ่มสี (ตามปิงปองจราจรชีวิต) เพื่อหาความสัมพันธ์ในการวางแผนโภชนบำบัดรายบุคคลกับผู้ป่วยแต่ละกลุ่มสี |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|