|
|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน : กรณี ชุมชนบ้านส้มป่อย ม.3, ม.4 และ ม.6 ตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
สันติ อุทรังษ์,รัตนมาลา ภูชมศรี,สุธาทิพย์ สิมมะลิ,กัลยา บุศดี,ต้อง วรรณทอง,รัชดาภรณ์ วิชาดี |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Ageing Society) นับแต่ปี พ.ศ. 2543 และคาดว่าในปี พ.ศ. 2564 ประชากรสูงอายุจะมีถึง 1 ใน 5 เป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) และในปัจจุบันผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 85 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด คือ ผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น(กลุ่มติดสังคม) อีกร้อยละ 14 เป็นผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่นบ้างในการประกอบกิจวัตรประจำวัน(กลุ่มติดบ้าน) และต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมดร้อยละ 1 โดยกลุ่มนี้มีแนวโน้มสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบันผู้สูงอายุต้องเผชิญกับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและตกอยู่ในภาวะทุพพลภาพเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งถูกทอดทิ้งขาดผู้ดูแล และยากจน ประกอบกับปัจจุบันผู้สูงอายุต้องพบกับการดูแลจากระบบสุขภาพชุมชนที่ขาดการเชื่อมโยงการดูแลสุขภาพระยะยาวในผู้สูงอายุทั้งด้านการแพทย์ การฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้านสวัสดิการสังคม, และด้านจิตใจมิติความเชื่อจิตวิญญาณ ซึ่งหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว และชุมชน กลายเป็นปัญหาที่สำคัญในอนาคต ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องตลอดจนการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม จัดระบบสุขภาพชุมชน ทั้งท้องถิ่น สถานบริการสาธารณสุข และผู้ดูแลเชื่อมโยงกัน มีศูนย์กลางในชุมชนในการให้บริการจัดหาอุปกรณ์ทางแพทย์และฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน ประสานการส่งต่อ จัดการข้อมูลสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายในตําบล พร้อมทั้งประสานงานการดําเนินการขึ้นทะเบียน และประสานการรวมกลุ่มและการจัดกิจกรรมของผู้สูงอายุในกลุ่มที่มีความต้องการแตกต่างกัน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสะอาดจึงได้ศึกษาหารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เหมาะสมในชุมชนขึ้น |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพ ระดับการดูแลสุขภาพ และความต้องการของผู้สูงอายุต่อรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน
2. เพื่อหารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เหมาะสมในชุมชน
3. เพื่อสรุปข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้สูงอายุในชุมชนส้มป่อย ม.3,ม.4,และ ม.6, บุคลากรองค์การส่วนท้องถิ่น/ผู้นำท้องถิ่น กองสาธารณสุข/กองสวัสดิการ, พัฒนาชุมชน, บุคลากรสาธารณสุข, ผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน, อสม. |
|
เครื่องมือ : |
แบบคัดกรองภาวะสุขภาพ, การสัมภาษณ์เจาะลึกความต้องการ, สนทนากลุ่ม, เวทีประชาคมหารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1.คัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน
2.วิเคราะห์และประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ และความต้องการของผู้สูงอายุต่อรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน
3. ประชุมประชาคมหารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
ผู้สูงอายุกลุ่มที 1 เป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการ ประกอบกิจวัตรประจําวันได้เอง ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น และ สามารถช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมได้ การดูแลส่งเสริม สุขภาพสําหรับกลุ่มนี้จึงเป็นการนําศักยภาพที่มีอยู่ ออกมาใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งดูแลมิให้เกิดความเสื่อม หรือเกิดภาวะพึ่งพิง กิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ คือ “การรวมตัวกันในรูปของชมรมผู้สูงอายุ” และการสร้างกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน
ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการประกอบ กิจวัตรประจําวันได้เองบ้าง จําเป็น ต้องพึ่งพาผู้อื่นในบางกิจกรรม จึงต้องมีการติดตาม กิจวัตรต่างๆ ของผู้สูงอายุในชุมชนโดยผู้ให้บริการเพื่อเฝ้าระวัง อันตรายและเพื่อให้ความช่วยเหลือในกิจวัตรที่ผู้สูงอายุ คือ “การเยียมบ้าน ” เป็นบริการต่อเนื่องที่บ้านที่จัดให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งดําเนินการโดยอาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสาในชุมชน
ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจําวันได้เองต้องพึ่งพาผู้อื่น การดูแลช่วยเหลือในกิจวัตรประจําวันตลอดเวลาอย่างถูกวิธี ลด ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น สําลักอาหาร แผลกดทับ ทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ ทุพโภชนาการ เป็นต้น กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุกลุ่มนี้ คือ “การจัดให้มีผู้ดูแล” เป็นการช่วยเหลือในการดูแล ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง เพื่อแบ่งเบาภาระจากสมาชิกในครอบครัว และรวมถึงการดูแลสมาชิกของชุมชนที่เป็นผู้ สูงอายุที่ไม่มีครอบครัวดูแลด้วย เพื่อให้เกิดการดูแลระยะยาวในชุมชนต่อไป
4.ติดตามผลการดำเนินงานในชุมชน
5.ประเมินผลการดำเนินงาน
6.สรุปรายงาน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 88.9 เพศชาย ร้อยละ 11.1 มีอายุส่วนมากอยู่ในช่วง 65-70 ปี คิดเป็นร้อยละ 66.7 ส่วนใหญ่จบประถมศึกษา ร้อยละ 77.8 ส่วนใหญ่มีสถานภาพคู่ ร้อยละ 68.1 ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 1,000 -2,000 บาท ร้อยละ 76.4 ระยะเวลาที่เจ็บป่วยส่วนใหญ่มากกว่า 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 62 จากการศึกษากระบวนการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุในชุมชน พบว่า กระบวนการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุในชุมชนคือ การดูแลสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุในชุมชนแบบมีพี่เลี้ยง(DM-HT-DOT) โดยการอบรมพี่เลี้ยงดูแลสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย การติดตามการกินยาที่ถูกต้องในชุมชน การรักษาตามนัด และผลการประเมินประสิทธิผลการใช้กระบวนการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุในชุมชนหลังการดำเนินงาน 3 เดือน พบว่า ผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด(FBS)ลดลง(μ=131.23, S.D.=11.43, Min=113,Max=162) น้อยกว่าก่อนการทดลอง(μ=164.04,S.D.=14.14,Min=141, Max=203) ภาวะความดันโลหิตสูง(Systolic)ลดลง(μ=147.43,S.D.=16.98, Min=116, Max=176) น้อยกว่าก่อนการอบรม(μ=160.15,S.D.=12.08,Min=140,Max=182)ภาวะความดันโลหิตสูง((Diastolic)ลดลง(μ=84.03,S.D.=6.43, Min=69,Max=96) น้อยกว่าก่อนการอบรม(μ=85.22, S.D.=9.67, Min=66, Max=105)และเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้การดูแลสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุในชุมชน พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดโดยรวมหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยลดลงก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05 ,95 % CI 31.91,33.71) ส่วนภาวะความดันโลหิตสูง(Systolic)หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยลดลงก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05 ,95 % CI 7.89,17.55) และภาวะความดันโลหิตสูง(Diastolic)หลังการทดลองไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.359,95 % CI -1.39,3.78) |
|
ข้อเสนอแนะ : |
- |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|
|