ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ขั้นตอนการจัดการตลาดนัดสีเขียว โครงการตลาดนัดสีเขียว กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : พื้นที่ตำบลคำบง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีการปลูกข้าว ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ไม้ผล การปลูกพืชฤดูแล้งและการปลูกพืชผักต่างๆ นอกจากนี้ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรมด้านการผลิตไฟฟ้าจากไบโอก๊าช ทำให้ประชากรในพื้นที่มีงานทำและมีรายได้ตลอดปี ด้านการตลาดการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายสนับสนุนการจัดตลาดนัดเกษตรสีเขียวเพื่อให้มีช่องทางการตลาด หรือมีสถานที่จำหน่ายผลผลิตสินค้าเกษตรโดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ผลิตตามระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่ดีมีคุณภาพ และกำหนดให้เกษตรกรผู้ผลิตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าเอง ในตลาดดังกล่าว ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาจำหน่ายอย่างทั่วถึง เปิดโอกาสให้เกษตรกรได้พบปะกับผู้บริโภคโดยตรง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ทำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต ให้สินค้ามีคุณลักษณะและปริมาณสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ในขณะที่ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในคุณภาพ และความปลอดภัย ของสินค้า ส่งผลให้เกษตรกรสามารถช่วยเหลือตนเองได้แบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นวิถีดำเนินการที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่เกษตรกรในการผลิตสินค้าเกษตรที่ดี และเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้ดำเนินโครงการดังกล่าวนี้ขึ้น เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญถึงการจำหน่ายสินค้าด้านการเกษตร และความปลอดภัยของผู้บริโภค  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อจัดทำแนวทางตลาดนัดสีเขียว ให้เกิดการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม อย่างเป็นระบบครบ วงจร 2.เพื่อให้เกษตรกรมีสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพในระดับชุมชน 3.เกษตรกรมีโอกาสพบผู้บริโภค ได้เรียนรู้ในการวางแผนการผลิตและการตลาด 4.ผู้บริโภคมีความมั่นใจได้ซื้อสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ปลอดภัย จากเกษตรกรโดยตรง  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ค้าขาย และประชาชนในตลาดนัดวันศุกร์บ้านคำบง ตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : 1.แบบประเมินการมีส่วนร่วม 2.แบบประเมินความพึ่งพอใจ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๑ จัดทำโครงการและเสนอประธานคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติ ๒ ประสานงานจัดหาสถานที่ที่เหมาะสมในตัวจังหวัดทั้งในด้านขนาดของพื้นที่ มีการคมนาคมสะดวก และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านตลาดสีเขียวของชุมชนที่จะศึกษาดูงาน ๓ ดำเนินการตามโครงการ ๔ สรุปผลและรายงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพให้ทราบ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง