ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การมีส่วนร่วมของภาคีเครือ่ข่ายในการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหมูม่น
ผู้แต่ง : เกดแก้ว ตาสาโรจน์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : อาศัยอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 (และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 6 ปี พ.ศ.2552 ) มาตรา 67 (6) ส่งเสริม การพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลถือว่าเป็นบทบาทหน้าที่หลัก ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุสามารถ ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมควบคู่ไปกับลูกหลานคนรุ่นหลังและเป็นแบบอย่างการใช้ชีวิตในอนาคต อย่างมีความสุข ผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่งเนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก ได้เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อนมีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญในการยกย่องให้การดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิต สุขภาพกายเป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น ได้ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุมาโดยตลอด ได้ร่วมกับ ส่วนราชการในพื้นที่ กลุ่มองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุขึ้น โดยเป็นการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลหมูม่น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ เช่น การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต ส่งเสริมการออกกำลังกาย ถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่ลูกหลาน ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม จัดกิจกรรมวันสำคัญ รดน้ำผู้สูงอายุในวันสงกรานต์ จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่นถือเป็นภารกิจหลักที่จะต้องดำเนินการ ดังนั้น อบต.หมูม่นจึงเห็นควรให้มีการประเมินการมีส่วนร่วมในการร่วมดำเนินงานของภาคีเครือข่าย และวัดผลการดำเนินงานตามมาตรฐานของการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาการดำเนินงานให้ดียิ่งๆขึ้นไป  
วัตถุประสงค์ : ๑. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ ๒. เพื่อนำผลการศึกษาไปพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น ๓. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน ชุมชน ภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุ เข้ามามีส่วนร่วมดูแลผู้สูงอายุ ด้วยภูมิปัญญาในท้องถิ่น  
กลุ่มเป้าหมาย : คณะกรรมการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ อบต.หมูม่น  
เครื่องมือ : แบบ Check List  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๔.๑ ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ๔.๒ จัดทำแบบประเมิน และตรวจสอบความตรงและความครอบคลุมของเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๒ ท่าน ๔.๓ ส่งแบบประเมินให้กลุ่มเป้าหมาย เมื่อสิ้นสุดโครงการ ๔.๔ วิเคราะห์ผลและแปรผลการประเมิน ๔.๕ สรุปและถอดบทเรียน ๔.๖ คืนข้อมูลแก่ผู้บริหารและชุมชน  
     
ผลการศึกษา : ๑. การศึกษาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ : องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น ในด้านการวิเคราะห์ปัญหา การวางแผน การดำเนินงาน/กิจกรรมต่างๆ และการติดตามและประเมินผล ปรากฏผลดังนี้ ๑.๑ ข้อมูลของบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นผู้บริหารท้องถิ่น พนักงานส่วนตำบล และพนักงานจ้าง องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ ๗๑.๔๓ มีอายุ ๔๑ – ๕๐ ปี ร้อยละ ๕๐.๐๐ มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ ๔๒.๘๖ และมีประเภทตำแหน่ง เป็นพนักงานส่วนตำบล ร้อยละ ๕๗.๑๔ ๑.๒ การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ : องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น ในแต่ละด้านโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับการมีส่วนร่วมมาก ( =๔.๓๓) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ : องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น ทั้ง ๕ ด้าน จากลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ซึ่งทั้ง ๕ ด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ปรากฏดังนี้ การวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในภาพรวม ( =๔.๓๓) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า ๑. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและชี้แจงปัญหาต่างๆ ในการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ ( =๔.๔๓) ๒. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อบังคับและหลักสูตรของ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหมูม่น มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ ( =๔.๒๕) การวางแผน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในภาพรวม ( =๔.๓๓) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า ๑. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการร่วมวางแผน ปรับปรุง แก้ไขปัญหา เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ ( =๔.๔๓) ๒. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากับ ( =๔.๒๕) การดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในภาพรวม ( =๔.๓๓) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า ๑. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ ( =๔.๔๓) ๒. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ขององค์กร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากับ ( =๔.๒๕) -9- ด้านการติดตามและประเมินผล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในภาพรวม ( =๔.๓๓) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า ๑. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการประเมินผลการดำเนินงานและหากพบ ปัญหาจะนำปัญหานั้นไปปรับปรุง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ ( =๔.๔๓) ๒. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรอยู่ เสมอ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากับ ( =๔.๒๕)  
ข้อเสนอแนะ : จากผลการศึกษาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการ ดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ : องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น พบว่าการมีส่วนร่วมในแต่ละด้านโดยรวม ทุกด้านอยู่ในระดับการมีส่วนร่วมมาก ( =๔.๓๓) ควรเผยแพร่และขยายการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆต่อไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ