|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ความรู้ของประชาชนในการรณรงค์ไม่ใช้ยาที่มีการลักลอบผสมสารสเตียรอยด์ ยาชุด หรือยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำหรับยา ประจำปี 2560 |
ผู้แต่ง : |
นายวิทวัฒน์ ภูยอดเมฆ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัจจุบันประชาชนมีทางเลือกในการรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและคนในครอบครัวมากมายหลากหลายทางเลือก โดยประชาชนส่วนใหญ่จะมีวิธีการรักษาตนเองเมื่อเกิดความเจ็บป่วยตามแต่ทัศนคติของแต่ละคนโดยประชาชนส่วนมากเลือกที่จะซื้อยามารับประทานเอง ซึ่งยาในท้องตลาดมีหลากหลายขนาน และยาชุดก็เป็นหนึ่งในยาขนานที่ประชาชนเลือกรับประทาน ทั้ง ๆ ที่ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการรณรงค์ให้เลิกใช้ยาชุดและห้ามการจำหน่ายยาที่มีสเตียรอยด์หากไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ รวมถึงมีการรณรงค์ให้หยุดใช้ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำหรับยา ซึ่งยาชุดบางขนานมีส่วนผสมของ สเตียรอยด์อยู่ด้วย จากข้อมูลของแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังในระบบยา (กพย.) พบว่าสถานการณ์การใช้ยาที่มีสารเสตียรอยด์ในประเทศไทยในปี 2550 มีการใช้สเตียรอยด์มากที่สุดถึง 853 ล้านเม็ด คิดเป็นการใช้ต่อคนจำนวน 13.2 เม็ดต่อคนต่อปี ขณะที่ปี 2556 มีปริมาณการใช้ 737 ล้านเม็ด หรือคิดเป็นการใช้ต่อคนจำนวน 11.34 เม็ดต่อคนต่อปี ซึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และชมรมเภสัชชนบทได้มีการสำรวจอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับสเตียรอยด์หรือผลิตภัณฑ์ปลอมปนสเตียรอยด์ ในโรงพยาบาลชุมชน 10 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 31 พฤษภาคม 2557 พบว่า มีผู้ที่ป่วยจากการใช้สเตียรอยด์ 60 ราย เสียชีวิต 2 ราย จากอาการไตวายเฉียบพลัน โดยแบ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบ ร้อยละ 45 จากอาการต่อมหมวกไตผิดปกติร้อยละ 18 โรคคุชชิ่งซินโดรม ร้อยละ 6
พฤติกรรมการใช้ยาที่ผสมสารสเตียรอยด์ ยาชุด หรือยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำหรับยาของประชาชนในตำบลหนองอีบุตรก็ยังพบเห็นอยู่บ้าง ดังนั้นผู้จัดทำเองเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำกิจกรรมเพิ่มพูนความรู้ประชาชนในการรณรงค์ไม่ใช้ยาที่มีการลักลอบผสมสารสเตียรอยด์ ยาชุด หรือยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำหรับยา ประจำปี 2560 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ยาในชุมชน รวมทั้งเป็นการเฝ้าระวังเกี่ยวกับภัยที่เกิดจากการใช้ยา
|
|
วัตถุประสงค์ : |
- เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้สามารถรณรงค์ลดการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
- ประชาชนตำบลหนองอีบุตร อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 8 หมู่บ้าน |
|
เครื่องมือ : |
- แบบสอบถาม
- แบบทดสอบ
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ประชุมชี้แจ้งการดำเนินงาน เพื่อจัดตั้งทีมในการดำเนินงาน ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จิตอาสาในชุมชน
2. ชี้แจ้ง ประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนได้ทราบถึงแนวทางการดำเนินงาน
3. จัดทำแบบสอบถาม พร้อมลงพื้นที่ร่วมกับทีมจิตอาสาให้การเก็บแบบสอบถาม เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาปัญหา
4. มอบหมายให้ทีมจิตอาสาประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวเป็นประจำทุกวัน
5. สร้างแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้กลุ่มเป้าหมายหลังจากมีการประชาสัมพันธ์
6. หางบประมาณในการจัดประชุม/อบรม สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ตอบแบบทดสอบได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
7. สรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
- พบว่า ระดับความรู้ และ ระดับพฤติกรรมเพิ่มขึ้นหลังการให้ความรู้ จากการประชาสัมพันธ์ทางหอกระจ่ายข่าวสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การจับประชุม/อบรมให้ความรู้จำนวน 1 วัน |
|
ข้อเสนอแนะ : |
- ควรมีการตั้งงบประมาณสำหรับการตรวจหาสารสเตียรอยด์ในยา เพื่อใช้ตรวจหาในกลุ่มพื้นที่เป้าหมายได้เอง
- ควรมีเนื้อหาการประชาสัมพันธ์ใหม่ๆ เพื่อใช้ในการแจ้งผ่านทางหอกระจายข่าวเป็นประจำ
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|