ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยชุมชนที่ส่งผลต่อ ความรู้ และการมีส่วนร่วม ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนจาน อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นายศิววงศ์ ทองซาว ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทย การเกิดโรคไข้เลือดออกระบาดใหญ่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 ที่กรุงเทพมหานคร พบผู้ป่วยประมาณ 2,000 กว่าราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 14 ในระยะ 5 ปีต่อจากนั้นมาก็มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (รายงานรวมทั้งไข้เดงกีไข้เลือดออกเดงกีและไข้เลือดออกช็อก) ทุกปีส่วนใหญ่รายงานจากรุงเทพฯ และธนบุรีการระบาดเป็นแบบปีหนึ่งสูงและปีถัดมาลดต่ำลง หลังจากนั้นโรคไข้เลือดออกได้แพร่กระจายไปตามจังหวัดต่างๆโดยเฉพาะที่เป็นหัวเมืองใหญ่มีประชากรหนาแน่นและการคมนาคมสะดวกโรคไข้เลือดออกแพร่กระจายอย่างรวดเร็วจนในที่สุดก็พบว่ามีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคนี้จากทุกจังหวัดของประเทศไทยและรูปแบบการระบาดของโรคไข้เลือดออกก็ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เป็นแบบปีเว้นปีมาเป็นแบบสูง 2 ปีแล้วลดต่ำลง หรือลดต่ำลง 2 ปีแล้วเพิ่มสูงขึ้น สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2558 (สำนักระบาดวิทยา, 2558) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever :DF, Dengue haemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม 13,187 ราย อัตราป่วย 20.25 ต่อประชากรแสนคน มีการรายงานจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 62.42 (1.62 เท่า) เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2557 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ผู้ป่วยเสียชีวิต 10 ราย อัตราป่วยตาย เท่ากับ ร้อยละ 0.08 การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกตามกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 10-14 ปีมีอัตราป่วยสูงสุด คือ 61.66 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา ได้แก่ กลุ่มอายุ 5-9 ปี (44.34), อายุ 15-24 ปี(37.17), อายุ 25-34 ปี (20.86) และอายุ 0-4 ปี (19.58) ตามลำดับ สัดส่วนอาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ นักเรียน ร้อยละ 44.41 รองลงมาได้แก่ รับจ้าง (ร้อยละ 21.87) และไม่ทราบอาชีพ (ร้อยละ 19.25)ตามลำดับ ผู้ป่วยเพศชาย 6,675 ราย เพศหญิง 6,512 ราย คิดเป็นอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 1.03 : 1 การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่า ภาคกลางมีอัตราป่วยสูงที่สุดเท่ากับ 36.07 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 7,896 ราย รองลงมา ได้แก่ ภาคใต้ อัตราป่วย 22.18ต่อประ ชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 2,042 ราย ภาคเหนือ อัตราป่วย 12.12 ต่อประชากรแสนคนจำนวนผู้ป่วย 1,476 ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อัตราป่วย 8.12 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 1,773 ราย ตามลำดับ (สำนักงานโรคติดต่อนำโดยแมลงกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2558) สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดกาฬสินธุ์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 ได้รับรายงานผู้ป่วย 1,230 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 114.19 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราส่วน ชาย : หญิง 1.03 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุด คือ 10-14 ปี อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือนักเรียน 769 ราย พบผู้ป่วยสูงสุดในเดือนสิงหาคม 288 ราย พบผู้ป่วยในเขตเทศบาลเท่ากับ 626 ราย ในเขตองค์การบริหารตำบล 576 ราย อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ อำเภอสามชัย 556.58 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ อำเภอนาคู อำเภอคำม่วงอัตราป่วย 466.94 , 400.63 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ พบผู้ป่วยใน115 ตำบล คิดเป็น ร้อยละ 85.19 497 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 30.68สามารถควบคุมโรคใน 2 Generation ได้ร้อยละ 95.15 เมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำแนกรายเดือน กับจำนวนผู้ป่วยเมื่อปีที่แล้วและค่ามัธยฐาน ย้อนหลัง 5 ปี (2553– 2557) ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558พบว่า ปี 2558 มีจำนวนผู้ป่วยสูงกว่าทั้งเมื่อปีที่แล้ว และ ค่ามัธยฐาน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2558 จนปัจจุบัน (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์,2558) สถานการณ์โรค ไข้เลือดออกอำเภอ ดอนจาน จังหวัด กาฬสินธุ์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดอนจาน,2558) นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดอนจานดอนจาน ได้รับรายงานผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออกรวม จำนวนทั้งสิ้น 14 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 50.80 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 - 14 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 6 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 5 - 9 ปี,15 - 24 ปี,0 - 4 ปี,65 ปี ขึ้นไป, 55 - 64 ปี, 45 - 54 ปี,35 - 44 ปี และ 25 - 34 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 5,2,1,0,0, 0, 0 และ 0 ราย ตามลำดับ อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 12 ราย รองลงมาคือ อาชีพ นปค., อาชีพเกษตร, อาชีพบุคคลากรสาธารณสุข, อาชีพอาชีพพิเศษ, อาชีพนักบวช, อาชีพเลี้ยงสัตว์, อาชีพอื่นๆ, อาชีพครู, อาชีพประมง, อาชีพทหาร/ตำรวจ, อาชีพงานบ้าน, อาชีพค้าขาย, อาชีพรับจ้าง, อาชีพราชการ, จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 1,1,0,0,0,0,0,0,0,0,0,0,0,0, ราย ตามลำดับ ช่วงเวลาที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือเดือน กรกฎาคม จำนวนผู้ป่วย เท่ากับ 7 ราย จำนวนผู้ป่วยเดือน พฤศจิกายน เท่ากับ 0 ราย เดือน ตุลาคม เท่ากับ 0 ราย โดยมีรายงานผู้ป่วยเดือน มกราคม 0 ราย กุมภาพันธ์ 0 ราย มีนาคม 0 ราย เมษายน 0 ราย พฤษภาคม 1 ราย มิถุนายน 5 ราย กรกฎาคม 7 ราย สิงหาคม 1 ราย กันยายน 0 ราย ตุลาคม 0 ราย พฤศจิกายน 0 ราย พื้นที่ตำบลที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือตำบล ดอนจาน อัตราป่วยเท่ากับ 150.65 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ ตำบล สะอาดไชยศรี, ตำบล ดงพยุง, ตำบล นาจำปา, ตำบล ม่วงนา, อัตราป่วยเท่ากับ 55.05 , 41.57 , 24.34 , 0 , ราย ตามลำดับ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์มีการกำหนดมาตรการการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ทั้งก่อนการระบาด ช่วงของการระบาด และหลังการระบาด โดยมีการนำกลวิธีต่างๆ มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆเช่น ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แต่ปัญหาที่ผ่านมายังพบว่า การดำเนินงานด้านการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกยังไม่เกิดผลที่แน่ชัด ถึงแม้ว่าจะได้รับความร่วมมือในการป้องกันโรคจากประชาชนและองค์กรต่างๆ มาโดยตลอด เนื่องจากยังขาดความต่อเนื่อง และไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ทำให้มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอยู่เสมอ อาสาสมัครสาธารณสุข มีบทบาทอย่างมากในการพัฒนางานระดับสาธารณสุขระดับหมู่บ้าน โดยทำหน้าที่ในการสร้างเครือข่ายประสานความร่วมมือกับชุมชนในแต่ละครอบครัว แต่ละหมู่บ้าน ยังพบว่ามีปัญหาด้านความไม่ชัดเจนของการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสาธารณสุขระดับหมู่บ้านกับเจ้าหน้าที่ในการที่จะส่งข่าวสารข้อมูลลงสู่ระดับครอบครัว ดังนั้นนโยบายและแนวทางในการดำเนินงานแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 จึงได้กำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนา เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาการประสานงานในระดับครอบครัวกับชุมชน และเสริมสร้างมาตรการการดูแลตนเองในระดับครอบครัวโดยได้พัฒนากลุ่มองค์กรที่เรียกว่า แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวขึ้นมา ทำหน้าที่ประสานงานและดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนบ้านต่อไป (วนิดา วิระกุล และคณะ, 2544, อ้างใน ไชยรัตน์ เอกอุ่น, 2547) จากความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจศึกษาปัจจัยชุมชน ความรู้ และการมีส่วนร่วมในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยนำกรอบแนวคิดตามทฤษฎี ความรู้ และการมีส่วนร่วม มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อนำผลการศึกษาวิจัยมาใช้ในการกำหนดรูปแบบ วางแผน และกำหนดกลวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก จะส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อศึกษาความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนจาน อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนจาน อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยชุมชนที่ส่งผลต่อความรู้ และการมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนจาน อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนจาน อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 133 คน โดยเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลดอนจานทั้งหมด  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม(Questionnaires)ปัจจัยชุมชนที่ส่งผลต่อความรู้และการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลดอนจาน อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดและวัตถุประสงค์ในการวิจัย โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ของครอบครัว และระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประสบการณ์การอบรมด้านการป้องกันโรค ส่วนที่ 2. แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยชุมชนที่ส่งผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนจาน อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนที่ 3 แบบทดสอบวัดความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนจาน อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนที่ 4. แบบทดสอบการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนจาน อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ตามขั้นตอน ดังนี้ 1. ผู้วิจัยขอหนังสือจากคณะศิลป์ศาสตร์และวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ถึง สาธารณสุขอำเภอดอนจานเพื่อขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูล ชี้แจงวัตถุประสงค์และขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง เพื่อให้ได้ข้อมูล ครบถ้วน 3. ผู้วิจัยตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามและข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง