ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก ๓อ. แบบพอเพียงด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา : ตำบลสะอาดไชยศรี อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นางสาวเกษสุดา สมเพ็ชร ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล :  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมนวัตกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ. แบบพอเพียงด้วยภูมิปัญญา ท้องถิ่นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการลดเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากร คือ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่รับผิดชอบตำบลสะอาดไชยศรี อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่ผู้วิจัยกำหนดดังนี้ 1. มีดัชนีมวลกายเกิน รอบเอวเกิน เสี่ยงโรคเบาหวานและเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 2. เป็นเพศชายหรือเพศหญิงอายุอยู่ในช่วง ระหว่าง 35-60 ปีอาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลสะอาดไชยศรี ระยะเวลาที่ทำการศึกษา  
เครื่องมือ : 6.1 แบบคัดกรองมาตรฐานในการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือด (Verbal Screening) 6.2 แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 6.3 แบบประเมินภาวะสุขภาพจิตตามแบบประเมินดัชนีชี้วัดความสุขของคนไทย (แบบประเมินกรม สุขภาพจิตฉบับสั้น 15 ข้อ) 6.4 แบบบันทึกการสังเกต สัมภาษณ์และรายงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : .1 ขั้นเตรียมการ 1) จัดประชุมโดยมุ่งเสริมสร้างพลังปัญญา (Empowerment) ให้แก่บุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใน ชุมชน เป็นการปรับความคิดเชิงระบบ พัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งโดยการวิเคราะห์บริบท (Context analysis) จาก ข้อมูลพื้นฐานในพื้นที่ วิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการ ทรัพยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือต้นทุนในชุมชนและ ศักยภาพที่มีอยู่ นําไปสู่การพิจารณาดําเนินการ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เพื่อสร้างองค์กรการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม โดยการมอง อดีต ปัจจุบัน อนาคต ศึกษารากเหง้า ให้รู้จักตัวเองและความต้องการของชุมชนเพื่อให้เกิดการแก้ไข ปัญหาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องยั่งยืน 2) ใช้กระบวนการการระดมสมองเพื่อกําหนดพันธกิจและเป้าหมายของชุมชนในการนําไปสู่ ชุมชนต้นแบบในการลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือด 3) ลําดับความสําคัญ แผนงานโครงการ กิจกรรม นําไปสู่การปฏิบัติมีการติดตามประเมินผลเพื่อ ดูผลลัพธ์รวม 7.2 ขั้นดําเนินการ 1) จัดเวทีประชาคมในระดับตําบลเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพตามหลัก 3อ. แบบพอเพียงด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) จัดอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพ อสม. ผู้นําชุมชน สอบต. ในการคัดกรองโรคเบาหวาน โรค ความดันโลหิตสูงโดยบูรณาการเข้ากับงานสาธารณสุขมูลฐาน 3) คัดกรองกลุ่มเสี่ยงในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ตามแนวทางที่กําหนด 4) คัดเลือกกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงตามเกณฑ์หรือคุณสมบัติที่ผู้วิจัยกําหนดเข้ารับการอบรมเชิง ปฏิบัติการ โดยมีการชั่งน้ําหนัก วัดส่วนสูง หาดัชนีมวลกาย วัดรอบพุง วัดระดับความดัน เจาะหาระดับน้ําตาลใน กระแสเลือดและประเมินภาวะสุขภาพจิตตามแบบประเมินดัชนีชี้วัดความสุขของคนไทย (ฉบับสั้น 15 ข้อ) ก่อนการ อบรม 5) ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค / การปฏิบัติตัวเพื่อห่างไกลโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง 6) การให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารแลกเปลี่ยน อาหารทดแทนพร้อมกับคํานวณพลังงานอาหารของ แต่ละคนที่ต้องใช้ในหนึ่งวัน 7) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) อ. อาหารส่งเสริมการบริโภคข้าวฮางที่ผลิตขึ้นเองในชุมชน 2) อ. ออกกําลัง กายเพื่อลดน้ำหนักและรอบพุงโดยใช้ฮูล่าฮูปที่ผลิตขึ้นเองในชุมชน 3) อ. อารมณ์โดยการการเข้าวัดปฏิบัติธรรมทุกวัน พระและนําบทสวดสรภัญญะที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอยู่แบบพอเพียงมาใช้ในการสกัด สะกด และสะกิดอารมณ์ 8) สาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกําลังกายด้วยการใช้ฮูล่าฮูป เพื่อลดพุง 9) สาธิตและฝึกปฏิบัติการฝึกจิต สวดสรภัญญะที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอยู่แบบพอเพียงมาใช้ใน การสกัด สะกด และสะกิดอารมณ์ 7.3 ขั้นประเมินผล 1 ให้เครือข่ายซึ่งประกอบด้วย อสม. ผู้นำชุมชน ส.อบต. แกนนำสุขภาพครอบครัวเสริมพลังกระตุ้น ติดตามให้เกิดการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง ในช่วง 3 เดือนแรก พร้อมทั้งปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงและพัฒนาต่อ 2 ประเมินผลเมื่อครบ 6 เดือน โดยมีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง หาดัชนีมวลกาย วัดรอบพุง วัดระดับความ ดัน เจาะหาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและประเมินภาวะสุขภาพจิตตามแบบประเมินดัชนีชี้วัดความสุขของคนไทย (ฉบับสั้น 15 ข้อ) หลังการดำเนินงาน 3 สรรหาบุคคลต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. ด้วยภูมิ ปัญญาท้องถิ่น พร้อมมอบรางวัล 4 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปและถอดบทเรียนจากบุคคลต้นแบบเพื่อนำไปขยายผลต่อในกลุ่ม เสี่ยงให้คลอบคลุมพื้นที่ตำบลสะอาดไชยศรี  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง