|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาแนวทางการนำน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลคำม่วง กลับมาใช้ประโยชน์ |
ผู้แต่ง : |
อรรคพล ภูผาจิตต์ นักวิชาการสาธารณสุข , ประทุมมาศ ไชยสุนทร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรงพยาบาลเป็นสถานบริการทางการแพทย์ที่มีบทบาทครอบคลุมทั้งในด้าน การรักษาพยาบาล การป้องกันควบคุมโรค การฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการส่งเสริมอนามัยสิ่งแวดล้อม การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลถือว่ามีความสำคัญ เพราะหากมีการจัดการไม่ดีหรือไม่ถูกสุขลักษณะ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของบุคลากรภายในโรงพยาบาล ผู้ป่วย ประชาชนที่มารับบริการ และประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงกับโรงพยาบาลได้ เช่น การเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหาร การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ อันเนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมไม่ดี โรคจากการทำงาน เป็นต้น (กรมอนามัย, 2557) นอกจากนี้ยังอาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษทางน้ำ ดังนั้น โรงพยาบาลจึงควรมีการพัฒนาระบบการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลให้ได้ มาตรฐานมีการสุขาภิบาลที่ดี และเป็นไปตามกฎหมาย เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของบุคลากร ผู้ป่วย ผู้มารับบริการ และประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ยังเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนอีกด้วย การนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ ถือเป็นการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะนำกลับมาใช้ทางด้านการเกษตร น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดและคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานถือเป็นแหล่งน้ำทดแทน ที่สำคัญสำหรับภาคการเกษตรในพื้นที่ประสบกับความแห้งแล้ง (WHO, 1996) แต่การจะนำน้ำทิ้งกลับมาใช้จะต้องมีการศึกษาถึงความเป็นไป และตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อการเกษตรจนสามารถนำมาใช้ กับพืชได้ (USEPA, 2012) ดังนั้นการนำน้ำทิ้งไปใช้ประโยชน์ในโรงพยาบาลจะต้องมีการศึกษาถึงความเหมาะ สม เพื่อให้คุณภาพน้ำที่จะนำมาใช้ประโยชน์นั้นเป็นไปตามมาตรฐาน
การบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลคำม่วงนั้นใช้ระบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบถังเติมอากาศ (Aeration Tank) ร่วมกับบึงประดิษฐ์หรือบึงวิศวกรรม (Constructed Wetland) เมื่อน้ำเสียถูกส่งเข้าสู่จุดรวมน้ำเสีย น้ำเสียจะถูกส่งไปยังถังเติมอากาศ ออกซิเจนโดยใช้เครื่องเติมอากาศ จากรายงานคุณภาพน้ำทิ้งของโรงพยาบาลคำม่วง (2557) พบว่า มีค่าบีโอดีเฉลี่ย 9 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen:TKN) เฉลี่ย 2.00 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนค่าปริมาณโคลิฟอร์มทั้งหมดและฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรียนั้นมีค่าเฉลี่ย 262 MPN/100ml และ 70 MPN/100ml ตามลำดับ อย่างไรก็ตามสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของโรงพยาบาลคำม่วงตั้งอยู่ในเขตชุมชน และทางระบายน้ำยังอยู่ในพื้นที่การเกษตรที่สำคัญของอำเภอคำม่วง ปล่อยออกสู่แหล่งดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อน และกังวลใจแก่คนในชุมชนโดยรอบได้ และนอกจากนั้นยังมีมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพ (Hospital accreditation : HA) ที่กำหนดให้ระบบงานที่สำคัญของโรงพยาบาล หมวด สิ่งแวดล้อมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม องค์กรจัดการเพื่อลดปริมาณของเสียโดยจัดให้มีระบบการนำมาใช้ใหม่ การลดปริมาณการใช้ การแปรรูปและลดการใช้วัสดุที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ดังนั้นผู้ศึกษาจึงมีแนวคิดการนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ โดยรัตนี คำมูลคร (2552) ได้มีการนำเอาน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลจิตเวช จังหวัดข่อนแก่น ใช้ในการรดน้ำสนามหญ้า ปรมาภรณ์ โอจงเพียร (2546) ได้นำน้ำทิ้งจากชุมชนมาใช้ในการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และน้ำฝน จำปามูล (2554) ได้นำน้ำทิ้งจากโรงพยาบาลมาปลูกข้าวโพดหวาน และยังมีการศึกษาองค์ประกอบของน้ำทิ้งมีธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบ โตของพืช การศึกษาของ Munir J. Mohammad Rusan (2006) พบว่าน้ำทิ้งมีเกลือและธาตุ อาหาร ประเภทปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (Total Nitrogen) ฟอสฟอรัสที่มีประโยชน์ (Available Phosphorus) และโปแตสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ (Exchangeable Potassium) ซึ่งมีปริมาณที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของพืช
การจะใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งโรงพยาบาลนั้น อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาถึงความเหมาะสมและพิจารณาถึงความเสี่ยงทางด้าน สุขภาพที่อาจก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม และมลพิษ นอกจากจะเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพแล้วนั้น จะต้องมีกระบวนการคุณภาพการทำงานของระบบ ประสิทธิภาพการทำงานของระบบ ตลอดจนแนวทางรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมในการใช้น้ำทิ้งให้สอดคลองกับคุณภาพน้ำ ทิ้งที่โรงพยาบาลคำม่วง ดังนั้นผู้ศึกษาจึงสนใจศึกษาในประเด็นแนวทางการนำน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำ เสียโรงพยาบาลคำม่วง กลับมาใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบและพื้นที่การเกษตรที่สำคัญในพื้นที่
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อประเมินประสิทธิภาพการบำบัดของระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลคำม่วง
2. เพื่อศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลคำม่วงในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลคำม่วง |
|
เครื่องมือ : |
แบบสำรวจ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ในการศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งศึกษาแนวทางการนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ใหม่
การวิเคราะห์ข้อมูล
1 เพื่อประเมินประสิทธิภาพการบำบัดของระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลคำม่วง
1.1 เก็บตัวอย่างน้ำเสียในจุดน้ำเสียรวมก่อนเข้าระบบบำบัดน้ำเสียดังแสดงตามรูปที่ 1 แสดงจุดเก็บตัวอย่างน้ำเสีย
1.2 เก็บตัวอย่างน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดและผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน
1.3 ขั้นตอนการเก็บและรักษาตัวอย่างวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการกลาง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยแยกเก็บตัวอย่างตามประเภทของการวิเคราะห์ตัวอย่าง เช่น ขวดเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจสอบทางแบคทีเรีย ต้องล้างให้สะอาดจริงๆ และผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อในหม้อนึ่งอัดไอ (autoclave) โดยทำการปิดจุกขวด เอากระดาษ foil หุ้ม แล้วนำไปนึ่งที่อุณหภูมิ 121oC นาน 15 นาที (sterile) ขวดเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อวิเคราะห์ทางกายภาพ และเคมี ใช้เป็นพลาสติกชนิดโพลีเอทธีลลีน มีจุกที่สามารถปิดได้แน่นสนิท ไม่ให้น้ำซึมออกมาได้ ความจุประมาณ 1 ลิตร
1.4 วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (วิเคราะห์ในพารามิเตอร์ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากอาคารประเภท ก) โดยผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์เอง
1.5 วิเคราะห์หาโลหะหนัก (Cr, Pb, Cd)
1.6 ตรวจวัดค่า Cl2 residual ด้วยเครื่อง Chlorine Meter รุ่น CL-2006 ทุกๆ 1 ชั่วโมง เวลา 9.00 – 16.00 น. เป็นเวลา 5 วัน
1.7 ทำการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพน้ำ 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 วันที่ 1 เมษายน 2559
ครั้งที่ 2 วันที่ 30 เมษายน 2559
1.8 คำนวณหาประสิทธิภาพการบำบัดของระบบบำบัดน้ำเสีย
2 ศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลคำม่วงในรูป แบบกิจกรรมต่างๆ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำตามรูปแบบกิจกรรม ต่างๆ ดังนี้
- รูปแบบการใช้น้ำทางกด้านการเกษตร
1. การใช้กับพืชทั่วไปในบริเวณขอบเขตโรงพยาบาลคำม่วง เช่น สนามหญ้าและสวนหย่อมต่างๆ
2. การใช้กับพืชที่ใช้บริโภค เช่น พืชผักสวนครัวของบุคลากรและเจ้าหน้าที่
- รูปแบบการใช้น้ำเพื่อสำรองในแหล่งน้ำสาธารณะของโรงพยาบาล เช่น กิจกรรมล้างถังขยะ ล้างรถขนขยะ หรือใช้ในห้องน้ำ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
1.ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งทางด้านกายภาพ
ผลการวิเคราะห์ลักษณะทิ้งที่ผ่านการบำบัดจากระบบบำบัดน้ำเสีย โรงพยาบาลคำม่วง โดยผู้ศึกษาได้ดำเนินการเก็บตัวอย่าง 2 ครั้ง โดยควบคุมจุดเก็บและวิธีเก็บตัวอย่างให้เหมือนกัน พบว่าผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งทางด้านกายภาพดังแสดงในตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์น้ำทิ้งทางด้านกายภาพ มีรายละเอียดเป็นดังนี้
1.1 ค่าสารแขวนลอย (Suspended Soilds) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 51.2 + 0.25 mg/l และ 50.9 + 0.23 mg/l และเป็นไปมาตรฐานควบคุมการระบาย น้ำทิ้ง อาคารประเภท ก
1.2 ค่าสารที่ละลายได้ทั้งหมด (Total Dissolved Solid) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 296.5 + 1.32 mg/l และ 301.5 + 2.84 mg/l และเป็นไปมาตรฐานควบคุมการระบาย น้ำทิ้ง อาคารประเภท ก
1.3 ค่าตะกอนหนัก (Settleable Solids) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.36 + 0.01 mg/l และ 0.35 + 0.01 mg/l และเป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการระบาย น้ำทิ้ง อาคารประเภท ก
2. ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งทางด้านเคมี
ผลการวิเคราะห์ลักษณะทิ้งที่ผ่านการบำบัดจากระบบบำบัดน้ำเสีย โรงพยาบาลคำม่วง โดยผู้ศึกษาได้ดำเนินการเก็บตัวอย่าง 2 ครั้ง โดยควบคุมจุดเก็บและวิธีเก็บตัวอย่างให้เหมือนกัน พบว่าผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งทางด้านเคมีดังแสดงในตารางที่ 6 ผลการวิเคราะห์น้ำทิ้งทางด้านเคมี มีรายละเอียดเป็นดังนี้
2.1 ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.6+0.06 และ 6.6+0.05 และเป็นไปมาตรฐานควบคุมการระบาย น้ำทิ้ง อาคารประเภท ก
2.2 ค่าซีโอดี (COD) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 50.91+0.09 mg/l และ 51.4+0.52 mg/l และเป็นไปมาตรฐานควบคุมการระบาย น้ำทิ้ง อาคารประเภท ก
2.3 ค่าบีโอดี (BOD5) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.1+0.11 mg/l และ 4.3+0.46 mg/l และเป็นไปมาตรฐานควบคุมการระบาย น้ำทิ้ง อาคารประเภท ก
2.4 ค่า Sulfide มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.02+0.01 mg/l และ 0.02+0.01 mg/l และเป็นไปมาตรฐานควบคุมการระบาย น้ำทิ้ง อาคารประเภท ก
2.5 ค่า Sulfide มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.02+0.01 mg/l และ 0.02+0.01 mg/l และเป็นไปมาตรฐานควบคุมการระบาย น้ำทิ้ง อาคารประเภท ก
2.6 ค่า TKN มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.24+0.01 mg/l และ 2.65+ 0.3 mg/l และเป็นไปมาตรฐานควบคุมการระบาย น้ำทิ้ง อาคารประเภท ก
2.7 ค่า Grease and Oil มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.4+0.3 mg/l และ 1.3+0.1 mg/l และเป็นไปมาตรฐานควบคุมการระบาย น้ำทิ้ง อาคารประเภท ก
3. ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งทางด้านชีวภาพและโลหะหนัก
ผลการวิเคราะห์ลักษณะทิ้งที่ผ่านการบำบัดจากระบบบำบัดน้ำเสีย โรงพยาบาลคำม่วง โดยผู้ศึกษาได้ดำเนินการเก็บตัวอย่าง 2 ครั้ง โดยควบคุมจุดเก็บและวิธีเก็บตัวอย่างให้เหมือนกัน พบว่าผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งทางด้านชีวภาพและโลหะหนักดังแสดงในตาราง ที่ 7 ผลการวิเคราะห์น้ำทิ้งทางด้านชีวภาพและโลหะหนัก มีรายละเอียดเป็นดังนี้
3.1 ค่า TCB มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 262+4.61 MPN/100 ml. และ 272+5.29 MPN/100 ml. และเป็นไปมาตรฐานควบคุมการระบาย น้ำทิ้ง อาคารประเภท ก
3.2 ค่า FCB มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 262+4.61 MPN/100 ml. และ 272+5.29 MPN/100 ml. และเป็นไปมาตรฐานควบคุมการระบาย น้ำทิ้ง อาคารประเภท ก
3.3 ค่าโลหะหนัก (Pb, Cr, Cd) มีค่าน้อยไม่และเป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการระบาย น้ำทิ้ง อาคารประเภท ก
4. ประเมินประสิทธิภาพการบำบัดของระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลคำม่วง
การประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลคำม่วง พบว่าโดยรวมระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลคำม่วง ที่มีการทำงานแบบประยุกต์โดยใช้ระบบบ่อเติมอากาศร่วมกันกับการบำบัดโดยใช้ พืช ในการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบพบว่ามีประสิทธิภาพในการบำบัดสูง เช่น BOD5 มีประสิทธิภาพในการบำบัดเท่ากับ 98.10% COD มีประสิทธิภาพการบำบัดเท่ากับ 71.11% เป็นต้น
5. แนวทางการใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลคำม่วง
จากผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้ง ระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลคำม่วง นำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำซ้ำทางด้านการเกษตร โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานการใช้น้ำทางการเกษตร สำหรับผลิตผลทางการเกษตรใช้บริโภค (2012 Guidelines for the waste water reuse, USEPA)
สรุปและอภิปรายผล
จากการศึกษาแนวทางการนำน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลคำม่วง กลับมาใช้ประโยชน์ โดยทำการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งศึกษาแนวทางการนำน้ำเสียกลับมาใช้ สำรวจการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ประสิทธิภาพการทำงานของระบบ และแนวทางที่เหมาะสมในการนำสู่รูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบท ของโรงพยาบาล สามารถสรุปได้ดังนี้
1. คุณภาพน้ำทิ้งเมื่อนำมาเทียบกับมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง อาคารประเภท ก คุณภาพน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกพารามิเตอร์
2. ประสิทธิภาพการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พบว่าระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพในการบำบัดพารามิเตอร์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผลคุณภาพน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลคำม่วง เทียบกับมาตรฐานการใช้น้ำเพื่อการเกษตร สำหรับผลิตผลทางการเกษตรที่ใช้บริโภค พบว่ามี 2 พารามิเตอร์ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน คือ Cl2 residual และ Fecal coliform bacteria
4.รูปแบบกิจกรรมการใช้น้ำทิ้งที่เหมาะสมของโรงพยาบาลคำม่วง มีอยู่หลายกิจกรรมเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดของระบบ บำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลคำม่วง
4.1 กิจกรรมรดสนามหญ้าหรือบริเวณสวนหย่อม
4.2 กิจกรรมสำรองน้ำเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน
4.3 กิจกรรมใช้ในการล้างทำความสะอาด เช่น ล้างรถเข็นขยะ ล้างถังขยะ หรือล้างรถ
4.4 กิจกรรมใช้ในห้องน้ำในชักโครก
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1.เนื่องจากผลการศึกษาพบว่าค่า Fecal coliform bacteria เป็นไปตามาตรฐานการควบคุมการระบายน้ำทิ้ง อาคารประเภท ก แต่เมื่อมาเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำทางการเกษตร สำหรับผลิตผลทางการเกษตรใช้บริโภค ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ควรมีการศึกษาในรูปแบบการทดลองใช้กับพืชจริง โดยการควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้องและออกแบบการทดลองในการใช้น้ำทิ้งเจือจาง กับน้ำประปา ในอัตราส่วนต่างๆ เพื่อวัดค่าการสะสนมในพืชและในดิน
2.พิจารณาการใช้น้ำทิ้งในด้านเศรษฐศาสตร์ ในเรื่องของมูลค่าเงินสดปัจจุบัน (Net Present Value) และคิดอัตราการคืนทุน (Internal Rate of Return) ในการศึกษาระบบการใช้น้ำทิ้ง
3.ควรมีสำรวจความพึงพอใจในประเด็นการยอมรับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้น้ำทิ้งจากระบบบำบัดเสีย
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|