ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ลดภาวะแทรกซ้อนทางทันตกรรม
ผู้แต่ง : ทพ สุชาติ จันทรบุตร ทพสุรีพร เกษมศิริ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางทันตกรรม เช่น การแพ้ยาชา ,บวมหลังถอน , เลือดไหลไม่หยุด , หน้ามืด หลัง/ระหว่างทำหัตถการ , dry socket , กลืนฟัน/วัสดุทันตกรรม , ถอนฟันทะลุไซนัส , เศษกระดูกแตก , ปลายประสาทอักเสบ , เศษรากเหลือ การติดเชื้อหลังถอนฟัน  
วัตถุประสงค์ : ลดภาวะแทรกซ้อน ทางทันตกรรม  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้มารับบริการทางทันตกรรม  
เครื่องมือ : กระบวนการทำงาน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.จัดระบบการวิเคราะห์บริบทและสถานการณ์ เรื่องสำคัญที่ควรพัฒนา ,หาสาเหตุรากเหง้า , วางแผนพัฒนาโดยใช้หลัก 3p , วางแผน ทำแนวทางป้องกันแก้ไข,จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่ทำ กำหนดระยะเวลาและผู้รับผิดชอบ,ระบบติดตามต่อเนื่อง * บริการทันตกรรม มีเป้าหมายให้ผู้ป่วยปลอดภัย เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด ได้มาตรฐานวิชาชีพ และผู้ป่วยพึงพอใจ ( ปลอดภัย ถูกต้อง ถูกใจ ) * สาเหตุรากเหง้าที่สำคัญ บุคลากร ..หลากหลาย ทั้ง ทพ. ทั่วไป/ เฉพาะทาง , ทันตาภิบาล ประสบการณ์ต่างกัน สิ่งแวดล้อม ...สถานที่ อุปกรณ์เครี่องมือต้องสะอาด เพียงพอตามหลักการฆ่าเชื้อ การจัดการ... การประเมิน คัดกรองผู้ป่วย ( ก่อนทำ ขณะทำ หลังทำ ) ,การให้คำแนะนำ และการดูแลตัวเองของผู้ป่วย หลังทำหัตถการ 2.ปฏิบัติตามแผนป้องกัน แก้ไข โดยมีกิจกรรมดังนี้ *พัฒนาองค์ความรู้ ประชุมวิชาการในหน่วยงาน(ทบทวนโรคทางระบบทีสำคัญ เช่น โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง) *มีการจัดทำ CPG โรคสำคัญเช่น เรื่อง โรคฟันผุ/โรคปริทันต์ *มีการจัดทำ SP เรื่องการทำให้ปราศจากเชื้อ *จัดทำ WI การประเมินผู้ป่วยและแก้ไขเหตุการณ์ ที่สำคัญ เช่น การตรวจคัดกรอง การประเมินผู้ป่วย การสังเกตอาการ , การแก้ไขภาวะแทรกซ้อน ช่วยเหลือเบื้องต้น การช่วยฟื้นคืนชีพ และมีการซักซ้อม การช่วยฟื้นคืนชีพทุกปี *มีการจัดทำจัดทำ WI ของหัตถการที่สำคัญ เรื่องการฉีดยาชา, วิธีการถอนฟัน, วิธีรักษาแผลที่เป็น DRY SOCKET การถอนฟันในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง *จัดเตรียมสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ เครื่องมือ เน้นกระบวนการ 5 ส จัดเก็บสะอาด สะดวกใช้ ติดป้ายให้ชัดเจน จัดซื้อเครื่องมือ วัสดุ เวชภัณฑ์ที่จำเป็นเพิ่มเติม ปรับปรุงระบบการทำให้ปราศจากเชื้อตามระเบียบปฏิบัติที่จัดทำ *พัฒนาการให้สุขศึกษาและคำแนะนำกับผู้ป่วย -ให้ผู้ปฏิบัติงาน เป็นผู้แนะนำเองในเรื่องสำคัญ เช่น ภาวะแทรกซ้อน การปฏิบัติตัว , และสังเกต อาการทั้งขณะ ทำ หลังทำ - จัดทำโปสเตอร์, แผ่นพับ เพื่อความสะดวกในการอธิบาย -ในผู้ป่วยที่ประเมินแล้วไม่แน่ใจว่าเข้าใจหรือไม่ เช่น คนแก่ หลังจากแนะนำแล้วจะประเมินซ้ำโดยการถามซ้ำและให้ผู้ป่วยตอบ *ติดตามบุคลากรให้ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติเป็นระยะ ๆ -แบบทางการ โดยติดตามในวาระการประชุมฝ่ายประจำเดือน การทบทวนเวชระเบียน -แบบไม่เป็นทางการ สังเกตขณะปฏิบัติงาน การพูดคุยกับผู้ป่วย การปฏิบัติกับผู้ป่วย ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางทันตกรรม ≤ 0.5 ผ่านตามเกณฑ์ เป้าหมาย และมีแนวโน้มลดลง  
     
ผลการศึกษา : อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางทันตกรรม ≤ 0.5  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ