ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ระบบการแพ้ยาซ้ำ
ผู้แต่ง : คณะกรรมการเภสัชกรรมรพ.กมลาไสย ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การแพ้ยาซ้ำเป็นอุบัติการณ์ที่ป้องกันได้ ถ้ามีการบริหารจัดการระบบในทุกๆด้าน ความเสี่ยงในการเกิดการแพ้ยาซ้ำเกิดได้จากทุกขั้นตอนในการให้บริการ บุคลากรที่เกี่ยวข้องต้องมีความรู้ ความเข้าใจและเฝ้าระวังการใช้ยาทุกขั้นตอน เมื่อเกิดเหตุการณ์แพ้ยาซ้ำทีมสหสาขาวิชาชีพควรทบทวนกระบวนการหาสาเหตุ และแนวทางปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ระบบรัดกุมยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ ไม่มีผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำในโรงพยาบาล  
วัตถุประสงค์ : ไม่มีผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำ  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้มารับบริการ  
เครื่องมือ : กระบวนการกลุ่ม กระบวนการให้ยาแก่ผู้มารับบริการ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : จัดทำแนวทางปฏิบัติการป้องกันการแพ้ยาซ้ำในโรงพยาบาล 1.การคัดกรอง โดยการซักประวัติการแพ้ยาตั้งแต่จุดพยาบาลซักประวัติ แพทย์หรือผู้สั่งใช้ยา จนถึงจุดจ่ายยาโดยเภสัชกร 2.การบันทึกประวัติแพ้ยาและแจ้งเตือน โดยเภสัชกรเป็นผู้ประเมินอาการแพ้ยา แพทย์ลงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแพ้ยา เภสัชกรลงบันทึกประวัติการแพ้ยาในระบบ HosXP ติดสติ๊กเกอร์ยาที่ OPD card 3.ทำบัตรแพ้ยาให้ผู้ป่วย พร้อมกับแนะนำผู้ป่วยทราบ 4.กรณีประวัติไม่ชัดเจนให้ทำบัตรเฝ้าระวังการแพ้ยาและติดสติ๊กเกอร์เฝ้าระวังการแพ้ยาที่ OPD card และ Pop up แจ้งเตือนแพ้ยาในโปรแกรมจ่ายยาใน HosXP  
     
ผลการศึกษา : พบการแพ้ยาซ้ำ ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยากลุ่มเพนนิซิลินแพทย์ได้สั่งการรักษาโดยให้ยากลุ่มที่ผู้ป่วยแพ้ พบว่าสาเหตุจากระบบการเฝ้าระวังการแพ้ยาที่ไม่รัดกุม แก้ไขโดย ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาหลังการซักประวัติประเมินการแพ้ยาของเภสัชกรแล้วต้องบันทึกประวัติการแพ้ยาลงใน OPD card ในคอมระบบ Hos XP โดยมีระบบ POP up ขึ้นเตือนทุกครั้งโดยที่สัญญาณเตือนนี้จะมีข้อความ”ห้ามสั่งการใช้ยาชนิดนี้” ผลลัพธ์ หลังการทบทวนไม่พบผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำ  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ