|
|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน |
ผู้แต่ง : |
บุญญรัตน์ ฐานะรุ่งเรืองเลิศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคมะเร็งเป็นปัญหาสำคัญของคนไทย จากสถิติสาธารณสุขปี พ. ศ. 2549 ของกระทรวงสาธารณสุขโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับที่หนึ่ง ของประชากรไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ถึง 2549โดยมีอัตราตายต่อแสนคนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ถึง 2549 เพิ่มขึ้นทุกปีดังนี้ 68.4, 73.3,78.9,81.3,81.4 , 83.1 ตามลำดับโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในประชากรไทยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 5 อันดับแรก คือ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเต้านม (ประเสริฐ อัสสันตชัย, 2552)และพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ. 2550 – 2552 มีจำนวนต่อแสนประชากรดังนี้ 53,434 , 55,403, 56,058 ตามลำดับ (วิมลรัตน์ เสนาะเสียง และคณะ, 2553)
โรคมะเร็งนอกจากจะมีผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว ยังมีผลต่อเศรษฐกิจดังนี้ ค่าใช้จ่ายของการรักษามะเร็งปอดของคนไทยในปี พ.ศ. 2549 มีสูงถึง 368.49 ล้านบาท (Berer D, 1998 อ้างใน ประเสริฐ อัสสันตชัย, 2552) ในสหรัฐอเมริกา โรคมะเร็งปากมดลูกทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา ในปี พ.ศ. 2548 สูงถึง 2.25 พันล้านเหรียญสหรัฐ (Atchison JW and et al ,1996 อ้างใน ประเสริฐ อัสสันตชัย, 2552) ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งตับมีดังนี้ โรคตับอักเสบเรื้อรัง 761ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โรคตังแข็งชนิด compensated 227 เหรียญสหรัฐต่อปี โรคตับแข็งชนิด decompensated 11,459 เหรียญสหรัฐต่อปี การปลูกถ่ายตับ (liver transplant) 86,552 เหรียญสหรัฐต่อปี การดูแลหลังจากการปลูกถ่ายตับแล้ว 1 ปี 12,560 เหรียญสหรัฐต่อปี และโรคมะเร็งเซลล์ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ตับ 7,533 เหรียญสหรัฐต่อปี (Mahoney FJ ,et al , 1965 อ้างใน ประเสริฐ อัสสันตชัย, 2552)จะเห็นได้ว่ารัฐต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมหาศาลและพบว่ามะเร็งส่วนใหญ่ มักจะตรวจพบเมื่ออาการของโรคได้ลุกลามอวัยวะอื่น ๆ ไปแล้ว อันเป็นสาเหตุทำให้รักษาไม่หายต้องให้การดูแลประคับประคองอาการของผู้ป่วยไป เรื่อย ๆ จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งผู้ป่วยที่อยู่ในระยะประคับประคองนี้นอกจากจะมีความต้องการการดูแลด้าน ร่างกาย เช่น การให้ยาระงับอาการปวด และการรักษาตามอาการต่าง ๆแล้ว ยังมีความต้องการในส่วนที่เป็นนามธรรม คือจิตใจ อารมณ์และจิตวิญญาณ ซึ่งสามารถสรุปเป็น 5 ประเด็นดังนี้ (ทัศนีย์ ทองประทีป, 2552 ) 1 .ความรักและความสัมพันธ์ (love and connectedness ) 2. การค้นหาความหมายของชีวิตและการเจ็บป่วย (meaning of life and illness)3. การขออโหสิกรรมหรือการให้อภัย (forgiveness)4. การปฏิบัติตามความเชื่อและศาสนา (religious practice ) 5. ความหวัง (hope)
ความตายเป็นการสูญเสียที่เกิดขึ้นแล้วทำให้ระบบครอบครัวขาดภาวะสมดุล สร้างความวิตกกังวลให้แก่สมาชิกในครอบครัวและผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจเกิดปฏิกิริยาตอบสนองอย่างรุนแรงได้ ความต้องการที่จะได้รับการปฏิบัติจากบุคลากรทางการแพทย์ เช่นเดียวกับผู้ป่วยโดยทั่วไป จนถึงวินาทีสุดท้ายของชีวิตถึงแม้นรูปแบบการรักษาจะเป็นแบบประคับประคองแต่ ผู้ป่วยก็ต้องการความหวังที่จะได้รับการดูแลเพื่อบรรเทาทุกข์ทรมานเกิดความ สงบด้านจิตใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นโรคที่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขของโลกเป็น สาเหตุของการตายประมาณร้อยละ 13 ของการตายทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่า 6 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2547 มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งมากกว่า 18 ล้านคนและมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 9 ล้านคน ในทุกๆปีโลกจะมีคนตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าวา 11 ล้านคนและจะเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา 7 ล้านคน เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวกับการเกิดโรคมะเร็งซึ่งโรคมะเร็งเป็น โรคที่ต้องใช้เวลาการเจ็บป่วยหลายปีในการก่อให้เกิดโรค ในอนาคตประชากรมีอายุที่ยืนยาวขึ้น มีการควบคุมโรคก่อให้เกิดโครงสร้างทางประชากรเปลี่ยนไปมีสารก่อมะเร็งมาก ขึ้นในสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงชีวิตประชากรโดยเฉพาะการสูบบุหรี่ที่ได้ มีจำนวน 30,940 รายต่อปี เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุด10 อันดับแรกตามลำดับ (แผนงานและสถิติสถาบันมะเร็งแห่งชาติ) (National cancer Institute พ.ศ. 2554)
จากรายงานสถิติโรงพยาบาลคำม่วง มีผู้ป่วย Palliative Care ในช่วง 2556-2558 พบว่ามี ผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งทั้งหมด 192,202,และ267 ตามลำดับ จากข้อมูลผู้ป่วย Palliative Care อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ.2556,2557และ2558) พบจำนวนผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งที่มารับการรักษาจำนวน 68,67และ115 รายตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 35.41,33.16 และ43.07 ตามลำดับ และเป็นผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่มีการส่งข้อมูลผู้ป่วยมายัง ศูนย์ดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านโดยทีมสหวิชาชีพ จำนวน 20,40และ50 รายตามลำดับ โดยมีผลงานการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง ปี2556 จำนวน 15 ราย ( คิดเป็น ร้อยละ 75 ) ปี2557 จำนวน 38 ราย ( คิดเป็น ร้อยละ 95 ) ปี2558 จำนวน 48 ราย ( คิดเป็น ร้อยละ 96 ) ตามลำดับ จากข้อมูลพบว่าจำนวนผู้ป่วยสูงอายุ Palliative Care มีแนวโน้มสูงขึ้น (งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลคำม่วง ,2558)
จากแนวโน้มการพบผู้ป่วยสูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน รวมทั้งการเข้าถึงยา แก้ปวดชนิดรุนแรง ( ยากลุ่ม Opioids ) และการจัดการอาการปวดยังปฏิบัติไม่เป็นรูปแบบเดียวกันเนื่องจากโรงพยาบาลยัง ไม่มีแนวปฏิบัติเฉพาะเจาะจงและชัดเจนด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้ศึกษาจึงสนใจที่ จะพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็ง ระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน โรงพยาบาลคำม่วงขึ้น โดยประยุกต์แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาแนวปฏิบัติด้านคลินิกของสภาวิจัยทางการ แพทย์และสุขภาพแห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย ( Nation Health Medical Research Council (NHMRC),1999 ) ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาครั้งนี้จะทำให้ได้แนวทางในการปฏิบัติการ พยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับ ประคองที่บ้าน น่าเชื่อถือและได้มาตรฐานซึ่งจะช่วยให้ทีมผู้ให้บริการมีแนวปฏิบัติเพื่อ จัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน ที่มีประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ในการจัดการความเจ็บปวด ของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน และส่งผลให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการปวด ไม่ทุกข์ทรมาน ตายอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
|
|
วัตถุประสงค์ : |
วัตถุประสงค์(ทั่วไป)
เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน
วัตถุประสงค์(เฉพาะ)
1. พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน
2. ศึกษาความเป็นไปได้ของผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน
3. ศึกษาความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับตามแนว ปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้าย แบบประคับประคองที่บ้าน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาประกอบด้วย
1. ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ประกอบด้วย นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบคัว จำนวน 1 ท่าน พยาบาลชำนาญการวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะสาขาผู้สูงอายุ จำนวน 1 ท่าน พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลชำนาญการวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะสาขาเวชปฏิบัติชุมชน จำนวน 2 ท่าน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ จำนวน 1 ท่าน
2. กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 10 คน ประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ แพทย์แผนไทย พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อสม.และผู้ดูแลผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่ปฏิบัติงาน ดูแลผู้ป่วย Palliative Care โรงพยาบาลคำม่วง
3. กลุ่มตังอย่างผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยรหัส ICD 10 = Z515 จากแพทย์ จึงเข้าข่าย Palliative Care คือต้องดูแลแบบประคับประคอง และขึ้นทะเบียนรับการรักษา แบบ Palliative Care ในโรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 5 คน
|
|
เครื่องมือ : |
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. แบบสอบถามความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวด ของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน ประกอบด้วย 1 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามความเป็นไปได้ของผู้ทดลองใช้แนวปฏิบัติแบ่งเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษาระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน และตำแหน่งงานที่ปฏิบัติ
ตอนที่ 2 แบบสอบถามความเป็นไปได้ของผู้ใช้แนวปฏิบัติเป็นรายข้อ ลักษณะเป็นคำถามปลายปิดและปลายเปิดซึ่งลักษณะของคำถามปลายปิด ประกอบด้วย คำถามเรื่องเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในหน่วยงาน ลักษณะคำถามเป็นแบบเลือกตอบเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้
ตอนที่ 3 แบบสอบถามความเป็นไปได้ผู้ใช้แนวปฏิบัติ โดยภาพรวม ลักษณะเป็นคำถามปลายปิดและปลายเปิดซึ่งลักษณะของคำถามปลายปิด ประกอบด้วย คำถามเรื่อง ความง่าย และความสะดวกในการใช้แนวปฏิบัติ ความชัดเจนของข้อเสนอแนะในแนวปฏิบัติ ความเหมาะสม กับการนำไปใช้ในหน่วยงาน ความประหยัด ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติ ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติที่จะนำไปใช้ในหน่วยงาน โดยสอบถามถึงความเป็นไปได้ใน 3 ระดับ คือ มาก ปานกลาง และน้อย ส่วนคำถามปลายเปิดเป็นคำถามเกี่ยวกับ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการใช้แนวปฏิบัติ (พิกุล นันทชัยพันธ์,2547)
ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อการดูแลที่ได้รับตามแนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ที่บ้าน แบ่งเป็น 2 ตอน คือ
ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย อายุ เพศ ระดับ วุฒิการศึกษา อาชีพ และสถานภาพ
ตอนที่ 2 แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้สูงอายุต่อการดูแลที่ได้รับตาแนว ปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้าย แบบประคับประคองที่บ้าน
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การวิเคราะห์ข้อมูล มีรายละเอียดดังนี้
1. ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่
2. ข้อมูลความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวด ของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นรายข้อไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่
3. ข้อมูลความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวด ของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์โดยภาพรวมไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่
4. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับ ประคองที่บ้านมีความพึงพอใจต่อการดูแลที่ได้รับตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อ จัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่
วิธีการวิเคราะห์
ผลการศึกษาได้ได้นำเสนอเป็นตารางประกอบการบรรยาย โดยแบ่งเป็น 6 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ลักษณะของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็ง ระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ส่วนที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล
ส่วนที่ 3 ความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูง อายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นรายข้อ
ส่วนที่ 4 ความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติการพยาบาลไปทดลองใช้เพื่อจัดการกับความเจ็บปวด ของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยภาพรวม
ส่วนที่ 5 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน
ส่วนที่ 6 ความพึงพอใจของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน ต่อการดูแลที่ได้รับตามแนวปฏิบัติการพยาบาลไปทดลองใช้เพื่อจัดการกับความ เจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็ง ระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้ศึกษานำเสนอการอภิปรายผลใน ๒ ประเด็นได้แก่
1. ลักษณะของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน
2. ความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน ดังนี้
1. ลักษณะแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน
ผู้ศึกษาอภิปรายลักษณะแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้ สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน เป็น 2 ประเด็น คือ ลักษณะทั่วไปของแนวปฏิบัติการพยาบาลและการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ ดังนี้
1.1 ลักษณะทั่วไปของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุ มะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน โรงพยาบาลคำม่วง มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่
1. การพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุและจริยธรรม
2. การประเมินผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
3. การประเมินการจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ที่บ้าน
4. การจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่ บ้านโดยการทำสมาธิบำบัด SKT เทคนิค ที่ 1 และ เทคนิค ที่ 6
5. การดูแลต่อเนื่อง
6. การพัฒนาคุณภาพบริการ ซึ่งพัฒนาตามขั้นตอนการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลของสภาวิจัยด้านการแพทย์และ สุขภาพแห่งชาติของประเทศออสเตรเลียที่มุ่งเน้นที่กระบวนการและให้เกิด ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดทั้งต่อบุคลากรทีมสุขภาพและผู้รับบริการ
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1. ก่อนนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็ง ระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้านไปใช้ทางหน่วยงานควรทำความเข้าใจและ เตรียมความพร้อมในด้านการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับเพื่อความร่วมมือ ในการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. ควรมีการศึกษาและทบทวนความรู้เชิงประจักษ์ใหม่ ๆอย่างสม่ำเสมอและปรับปรุงแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของ ผู้สูงอายุมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน ให้ทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์และมีประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้รับบริการ
3. การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะ สุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้านไปใช้ในการปฏิบัติจริง กลุ่มผู้ปฏิบัติควรทำการทบทวนและพิจารณาความเหมาสมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายและมีการติดตามประเมินผลเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงแก้ไข ให้เหมาะสม
4. ควรนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุมะเร็งระยะ สุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน เสนอต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณานำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการบริการต่อไป
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|
|