ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลการเปรียบเทียบการประเมินไขว้สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายระหว่างหมู่บ้านและกลุ่มหมู่บ้านประเมินตนเอง ปี 2560
ผู้แต่ง : นางสาวนงลักษณ์ โชติมุข ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในทุก ๆ ปีที่ผ่านมา จากการดำเนินงานโครงการรณรงค์การเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ปี 2559 ได้จัดทำกิจกรรมประเมินไขว้สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายระหว่างหมู่บ้านทั้ง8 หมู่บ้านขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ อสม. และประชาชนในแต่ละครัวเรือนให้สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านของตนเอง และทุกคนในชุมชนร่วมมือกันดูแลสภาพแวดล้อมให้สะอาด ผลการดำเนินงานพบว่า ค่า HI CI ลดลงบ้างในบางส่วน และไม่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับอัตราป่วยในปีที่ผ่าน ๆ มา และในปี 2560 นี้ ทางเจ้าที่ รพ.สต. จึงได้จัดเปลี่ยนรูปแบบเพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินไขว้สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายระหว่างหมู่บ้านและการประเมินสำรวจกลุ่มหมู่บ้านประเมินตนเองขึ้น  
วัตถุประสงค์ : - เพื่อให้ อสม. และประชาชนมีตระหนัก และเห็นความสำคัญของการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน และค่า HI CI ลดลง -เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินไขว้สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายระหว่างหมู่บ้านและการประเมินสำรวจกลุ่มหมู่บ้านประเมินตนเอง  
กลุ่มเป้าหมาย : - ทุกหลังคาเรือนเขตบริการ 8 หมู่บ้าน วัด 5 แห่ง โรงเรียน 3 แห่ง ศูนย์เด็กเล็ก 2แห่ง ในตำบลหนองอีบุตร  
เครื่องมือ : - แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย - ไฟฉาย  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. จัดประชุมชี้แจงแนวทางในการดำเนินกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกปี 2560 2. ผู้นำชุมชนประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว รณรงค์ทำความสะอาดกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยใช้มาตรการ 5 ป 1 ข ทุกวันพฤหัสบดี 3. อสม. สำรวจ HI, CI ทุกวันศุกร์และรายงานผลการสำรวจให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อรวบรวมข้อมูล 4. อสม.ออกประเมินไขว้สุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายระหว่างหมู่บ้านหมู่ที่ 1, 3, 5, 7 และสำรวจในหมู่บ้านของตนเองในหมู่ที่ 2, 4, 6, 8 เดือนละ 1 ครั้ง รวบรวมข้อมูลส่ง รพ.สต.เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เสี่ยง และเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน 5. รพ.สต.วิเคราะห์ข้อมูลและส่งข้อมูลคืนชุมชนทุกเดือนเพื่อให้ชุมชนรับทราบข้อมูล และดำเนินการแก้ไข กรณีที่พบ พื้นที่สีแดง และสีส้ม ให้ อสม. ประจำครัวเรือนดำเนินการแก้ไขรายครัวเรือนร่วมกับครัวเรือนที่พบ โดยการใช้ทรายอะเบท หรือปลาหางนกยูง ร่วมกับ 5 ป 1 ข 6. สรุปผล ถอดบทเรียนเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดในปีถัดไป  
     
ผลการศึกษา : จากผลการดำเนินงานพบว่า ค่าค่าเฉลี่ยดัชนีลูกน้ำยุงลายจากการประเมินไขว้ของการสำรวจระหว่างหมู่บ้าน มีค่า HI น้อยกว่า 5 ค่า CI เท่ากับ 0 และในส่วนการสำรวจหมู่บ้านประเมินตนเอง มีค่า HI มากกว่า 5 ค่า CI มากกว่า 0 อาจเนื่องมาจากสภาพอากาศ สิ่งแวดล้อม และทักษะของอาสาสมัครสาธารณสุขที่ได้ฝึกปฏิบัติบ่อยครั้งขึ้น แต่สถานการณ์ของผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่พบจนถึงปัจจุบัน (เดือนพฤษภาคม 2560)  
ข้อเสนอแนะ : 1. ควรให้มีการประเมินไขว้ระหว่างหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน เพื่อสร้างความร่วมมือในการป้องกันไข้เลือดออกภายในชุมชนที่ยั่งยืนและเข้มแข็งต่อไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)