ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการลดโรคพยาธิใบไม้ตับ กำจัดมะเร็งท่อน้ำดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าอ้อย อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ปรีชา ลือฉาย ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคพยาธิใบไม้ตับเป็นสาเหตุสำคัญ ในการเป็นสารก่อมะเร็งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งพบว่าอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี ในประเทศไทยพบมากที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารประเภทที่ปรุงจากปลาน้ำจืดเกล็ดขาวตระกูลปลาตะเพียนปรุงดิบ หรือ สุกๆดิบๆซึ่งมีตัวอ่อนพยาธิใบไม้ตับปนเปื้อน จากสถานการณ์การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของอำเภอร่องคำ ปี 2558 พบว่า ตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง อายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป จำนวน 4,673 คน พบกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการตรวจอุจจาระทั้งหมด 4,021 คน มีผู้ป่วยติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับ จำนวน 304 คน คิดเป็นร้อยละ 14.02 และ16.10 ของกลุ่มเสี่ยง ในส่วนตำบลเหล่าอ้อยซึ่งเป็นพื้นที่ต้นแบบในการป้องกันและแก้ไขโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ได้ดำเนินการตรวจอุจจาระประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นจำนวน 1,393 คน คิดเป็นร้อยละ 100 พบกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการตรวจอุจจาระทั้งหมด 136 คน มีผู้ป่วยติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับ จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 16.91  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการลดโรคพยาธิใบไม้ตับ กำจัดมะเร็งท่อน้ำดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าอ้อย อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับและผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะแรก 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับและผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะแรกได้รับการวินิจฉัย/รักษา 4. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อโรคพยาธิใบไม้ตับ  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. แต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงานเพื่อลดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี 2. ลงนามพันธะสัญญาความเข้าใจร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. จัดอบรมรมวิชาการเชิงปฏิบัติการพัฒนาความรู้ความเข้าใจโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี แก่ผู้รับผิดชอบงานระดับตำบล อสม.นักจัดการฯ ครู นักเรียน ผู้นำ แกนนำ และประชาชน พร้อมมอบภาระงานร่วมกัน 4. คัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดยใช้เครื่องมือแบบคัดกรองด้วยวาจา (Verbal screening) และบันทึกข้อมูลในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 5. กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับ โดยวิธี Kato”thick smear 6. ผู้ติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับได้รับการรักษาและส่งต่อเพื่อ Ultrasound 7. ติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อการรักษาย่างมีคุณภาพและลดการกลับเป็นซ้ำ 8. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนทั่วไป, นักเรียน, กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยในพื้นที่เป้าหมาย ด้วยระบบสุขศึกษา รายบุคคล ครอบครัว และชุมชน 9. อบรมและรณรงค์สร้างกระแส การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคไม่กินปลาดิบ ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ำดีและประชาชนทั่วไป 10. อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.นักจัดการสุขภาพโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี 11. พัฒนาหมู่บ้านต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ “หมู่บ้านกินปลาสุก” และ โรงเรียนต้นแบบแห่งการเรียนรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ “โรงเรียนกินปลาสุก” 12. รณรงค์เพื่อให้ประชาชน/นักเรียน เกิดความตระหนักต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเชิงลึก รายบุคคล ครอบครัว ชุมชน 13. จัดทำสื่อสาธารณะเพื่อสร้างกระแสและให้ความรู้แก่ประชาชนเช่น หอกระจายข่าว วิทยุชุมชนฯ สปอร์ตโฆษณา ป้ายไวนิลคัตเอาท์ ๔ มุมเมือง และแผ่นพับความรู้เรื่องพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี 14. มหกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “คนเหล่าอ้อย-กาฬสินธุ์แท้ไม่กินปลาดิบ”  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ