|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : พฤติกรรมการดูแลตนเองกับความพึงพอใจในชีวิตผู้สูงอายุ ที่มารับบริการ ผู้ป่วยใน |
ผู้แต่ง : |
โศรดา ชุมนุ้ย |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ในปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความก้าวหน้าทางด้าน
เทคโนโลยีทางการแพทย์ และการสาธารณสุข ทำให้อัตราการตายของประชากรลดลง และประชากรมี
อายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้น องค์การอนามัยโลก (วรรณี ชัชวาลทิพากร และคนอื่นๆ. 2543:1 ) ได้คาดประมาณ
ว่า ในปี ค.ศ. 2025 โลกจะมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จำนวน 800 ล้านคน และ 2 ใน 3 เป็นประชากรที่อยู่ประเทศกำลังพัฒนา จากสถานการณ์ดังกล่าวองค์การอนามัยโลกคาดว่า อีก 30 ปี ข้างหน้า ประเทศที่กำลังพัฒนาจะมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 300 โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบภูมิภาคลาตินอเมริกา และเอเชียซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในแถบภูมิภาคที่มีการคาดการณ์ว่า จะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งเห็นได้จาก การประมาณการณ์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (2545: 19) พบว่าในปี 2544 ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยมีเพียง 9.3% และเพิ่มเป็น 9.4% ในปี 2545 และเพิ่มขึ้นถึง 9.6% ในปี 2546 ตามการคาดการณ์จะพบว่าในปี 2562 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุสูง ถึง 14.7% ซึ่งถือว่าอัตราการเติบโตของสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทย ความสำคัญของผู้สูงอายุนั้นประเด็นไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนที่เพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว คุณภาพ ชีวิตที่ดี ความสุขความพึงพอใจในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เป็นสิ่งสำคัญที่ลูกหลานหรือคนใน ครอบครัวควรที่จะตระหนักและพิจารณาในจุดนี้ด้วยว่าควรที่จะเป็นอย่างไร เนื่องจากเมื่อบุคคลเข้าสู่ วัยสูงอายุแล้วย่อมมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย โรคภัยไข้เจ็บ ปัญหาทางด้านจิตใจ ความจำ การ เรียนรู้ บุคลิกภาพ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมทั้งสิ้น
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในรูปของการ
เสื่อมถอยมากกว่าการเจริญเติบโต แต่จะมากหรือน้อย ช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
เช่น พันธุกรรม สภาพแวดล้อม และโภชนาการของแต่ละบุคคล ความเสื่อมดังกล่าวทำให้ประสิทธิภาพ
ในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ลดลง ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยได้ง่าย
จากการให้บริการที่หน่วยงานผู้ป่วยในพบว่าจำนวนผู้ป่วยสูงอายุมารับบริการที่หน่วยงานผู้ป่วยในเพิ่มมากขึ้นทุกปี และพบว่าผู้สูงอายุ บางคนจะคิดว่าตนเองไร้ค่า ไร้ความสามารถมองภาพตนเองในเชิงลบ สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อสภาพจิตใจของผู้สูงอายุมาก เนื่องจากผู้สูงอายุบางคนไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตนเองและสภาพแวดล้อมได้ จึงส่งผลทำให้ผู้สูงอายุนั้นมีความพึงพอใจในชีวิตต่ำจนอาจจะเกิดผลร้ายต่อจิตใจทำให้เกิดปัญหาทางจิตขึ้นได้
หน่วยงานผู้ป่วยในได้เห็นความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ จึงศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองกับความพึงพอใจในชีวิตผู้สูงอายุ ที่มารับบริการ ผู้ป่วยใน เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ครอบคลุมทั้งในสถานบริการและที่บ้าน
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการดูแลตนเอง และความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ
2. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองตามตัวแปร เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ และสภาพการเป็นอยู่
3. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุตามตัวแปร เพศ สถานภาพสมรส ระดับ การศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ และสภาพการเป็นอยู่
4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองต่อความพึงพอใจในชีวิตของ ผู้สูงอายุ
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้สูงอายุ มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สามารถให้ข้อมูลได้ |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2. กำหนดประชากรและเลือกกุ่มตัวอย่าง
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำและวิเคราะห์ข้อมูล
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|