|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพบุคลากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรค NCD โรงพยาบาลเขาวงด้วยหลักการแพทย์วิถีธรรมและสมาธิบำบัด SKT |
ผู้แต่ง : |
นางอดิศร อุดรทักษ์ นางวิชชุนี ละม้ายศรี นางยุวดี คาดีวี |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
สุขภาพของบุคลากรมีผลกับการจัดบริการ และผลลัพธ์การดำเนินงานขององค์กรโดยรวม การดูแลสุขภาพของบุคลากร นอกจากจะดูแลปกป้องจากปัจจัยอันตราย จากสภาพแวดล้อมการทำหน้าที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของบุคลากร แล้วยังต้องดูแลให้ครอบคลุมถึงปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานอีกจำนวนมาก เช่นอุบัติเหตุ จากการทำงาน โรคกลุ่ม NCD ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
จากการสำรวจข้อมูลสุขภาพ ปี 2559 โดยการตรวจเลือดประจำปี การสัมภาษณ์ พบ มีดัชนีมวลกาย 25 Km/m2 ร้อยละ 16.51 การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำร้อยละ 3.8 และบ่อยครั้งร้อยละ 31.32 นอกจากนี้มีบุคลากรป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 13 คน เบาหวาน 5 คน และมีภาวะไขมันในเลือดสูง โดยไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง 20 คนและคลอเรสเตอรอลสูง 45 คน
จากข้อมูลเบื้องต้น คณะทำงานพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ได้มองเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรของโรงพยาบาล ปี 2560 จึงมีการดำเนินงานพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้หลักการแพทย์วิถีธรรมและสมาธิบำบัด SKT ผลการศึกษาที่ได้จะช่วยให้มีแนวทางการพัฒนาสุขภาพบุคคลากรที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1 เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และอารมณ์
ของบุคลากรโรงพยาบาลเขาวง กลุ่มเสี่ยง ที่มีภาวะ BMI สูง ไขมันในเลือดสูง และกลุ่มป่วยโรค NCD
2 เพื่อศึกษาผลการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยหลักการแพทย์วิถีธรรมและสมาธิบำบัด SKT
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
บุคลากรของโรงพยาบาลที่มีภาวะ BMI สูง ไขมันในเลือดสูง และกลุ่มป่วยโรค NCD ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ |
|
เครื่องมือ : |
แบบสอบถามประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และอารมณ์ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1 ประชุมคณะกรรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพบุคลากร เพื่อกำหนดแผนงาน/โครงการดำเนินงาน
2 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะ BMI ไขมันในเลือดสูง และกลุ่มป่วยโรค NCD ด้วยหลักการแพทย์วิถีธรรมและสมาธิบำบัด SKT
3 สัมภาษณ์ การนำแพทย์วิถีธรรมและสมาธิบำบัด SKT มาใช้ในการปรับพฤติกรรมสุขภาพหลังการอบรม 1 เดือน
4 ติดตามประเมินผล สรุปและถอดบทเรียนผลการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยหลักการแพทย์วิถีธรรมและสมาธิบำบัด SKT ทุกสามเดือน
5 เขียนรายงาน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|