ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ความสำเร็จของการใช้สมุนไพรช่วยกระตุ้นน้ำนม
ผู้แต่ง : น.ส.พัชรินทร์ ศรีโพธิ์ชัย, น.ส.สุนัฐฐา หนองห้อง, น.ส.สุลาวัลย์ วรรณโคตร ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การส่งเสริมให้ลูกได้ดูดนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ให้ บรรลุเป้าหมายตาม ตัวชี้วัดนั้นต้องเน้นหลัก 3 ดูดคือดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี แต่ทำอย่างไรถึงจะทำให้ปริมาณน้ำนมเพียงพอให้ลูกดูด การใช้สมุนไพรช่วยกระตุ้นน้ำนมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้น้ำนมมาไวมากยิ่งขึ้น ในระยะ 2- 3วัน หลังคลอดขณะนอนโรงพยาบาล ถ้าระยะนี้น้ำนมมีปริมาณเพียงพอจะทำให้มารดาหลังคลอดไม่มีความวิตกกังวล เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเพิ่ม ความเชื่อมั่นที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นาน 6 เดือน และการได้รับนมไม่เพียงพอส่งผลทำให้ทารกแรกเกิดมีโอกาสเกิดตัวเหลือง ต้องได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟรักษาต่อ เพิ่มค่าใช้จ่ายและสร้างความวิตกกังวลให้กับบิดา มารดา  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อการไหลของน้ำนมมาเร็วยิ่งขึ้น 2.เพื่อให้น้ำนมมีปริมาณเพียงพอ 3. เพื่อเพิ่มพลังศรัทธา ที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจนถึง 6 เดือนและต่อไปในมารดาหลังคลอดให้ประสบผลสำเร็จ  
กลุ่มเป้าหมาย : มารดาหลังคลอดที่โรงพยาบาลเขาวง  
เครื่องมือ : แบบบันทึก,แบบประเมินหัวนมเต้านมLatch score แบบสอบถามความพึงพอใจ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. การประเมินความพร้อมในการให้นมของมารดาและความพร้อมของทารกในการดูดนมทุกราย 2. การประเมินหัวนมเต้านมโดยใช้ Latch score 3. ให้ความรู้มารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตามแบบกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ 4. กระตุ้นให้มารดาดื่มน้ำต้มสมุนไพรวันละ 3,000 ซีซี 5. ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรกระตุ้นน้ำนมกับเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วยและญาติ 6. นวดประคบเต้านมให้มารดาที่น้ำนมไม่ไหล หรือไหลข้างละ 1- 2 รู ทุกราย 7. กระตุ้นให้มารดา Early bonding , Breast feeding ทุก 2-3 ชั่วโมง 8. ประเมินความรู้และทักษะของบุคลากรในหน่วยงานเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 9. จัดบุคลกรในหน่วยงานเข้าอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทุกคน 10. ติดตามนิเทศงานการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรในหน่วยงานเพื่อพัฒนาระบบการให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอ 11. จัดทำบอร์ดรณรงค์เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 12. จัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังคลอดทุกราย 13. ประเมินความเพียงพอของน้ำนมทุกเวร  
     
ผลการศึกษา : การใช้สมุนไพรที่มีในท้องถิ่นช่วยกระตุ้นน้ำนมในมารดาหลังคลอด เป็นนวัตกรรม การดูแลแบบผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ช่วยให้น้ำนมมาไวมากยิ่งขึ้น ช่วง 2-3 วันหลังคลอด ขณะนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จากการเก็บรวบรวมข้อมูล ปี 2558-2560 ประเมินความเพียงพอของปริมาณน้ำนมในวันจำหน่ายกลับบ้านในมารดาครรภ์แรกร้อยละ 84.9, 88.7, และ 84 ตามลำดับ และครรภ์สอง ปริมาณน้ำนมเพียงพอร้อยละ 98.6, 98.8, และ100 ตามลำดับ  
ข้อเสนอแนะ : การใช้สมุนไพรพื้นบ้านช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำนม ประกอบกับการสอนการอุ้ม และดูดนมที่ถูกต้อง ส่งผลให้น้ำนมมีความเพียงพอ อัตราการได้กินนมแม่ก่อนออกจากโรงพยาบาลร้อยละ 100  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)