|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัญหาและสาเหตุเกี่ยวกับการใช้ยาในการจัดการผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โรงพยาบาลเขาวง |
ผู้แต่ง : |
สุลาวัณย์ วรรณโคตร, คณะกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
หลักการและเหตุผล: การตายด้วยโรคมะเร็งในประเทศไทยมีอัตราตายเพิ่มขึ้นทุกปี กระทั่งปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมาพบว่าสาเหตุการตายของมะเร็งทุกชนิดมีอัตราสูงเป็นอันดับหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า โรคมะเร็งเมื่อเกิดขึ้นแล้วโอกาสที่เจ็บป่วยถึงขั้นเสียชีวิตมีสูงสุด นั่นคือโอกาสที่จะรักษาให้หายนั้นมีโอกาสน้อยมาก และถือว่าเป็นโรคเรื้อรังที่มีค่าใช้จ่ายสูงและเวลาในการรักษายาวนาน 1
โรงพยาบาลเขาวงเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยในอำเภอ เขาวงและนาคูจังหวัดกาฬสินธุ์ และ บางส่วนของอำเภอบ้านค้อ คำชะอี ดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร รวมทั้งสิ้นประมาณ 70,000 คน ปัจจุบันได้รับการส่งต่อผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อมาดูแลแบบประคับประคองต่อในชุมชน จากการดำเนินงานที่ผ่านมายังพบปัญหาอยู่มาก โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา (Drug related problems) เนื่องจากยังไม่มีแนวทางการใช้ยากลุ่ม Opioids และยาชนิดอื่นๆที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการจัดการอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่ชัดเจน เมื่อปี 2559 จึงได้มีการจัดทำงานวิจัยในงานประจำเรื่อง รูปแบบและปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาในการจัดการอาการของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผลการศึกษาพบปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา ได้แก่ ปัญหาการสั่งใช้ยาแก้ปวดไม่ต่อเนื่อง ทำให้ผู้ป่วยหลายรายไม่ได้รับยาแก้ปวดเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ปัญหาผู้ป่วยไม่ได้รับยาเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการปวดได้ด้วยยาแก้ปวดชนิดที่ให้เพื่อควบคุมอาการปวดไว้แล้ว (dose for break through pain) และพบการเลือกชนิดยาไม่เหมาะสม ได้แก่ การเลือกใช้ยาแก้ปวดไม่สัมพันธ์กับระดับความปวดของผู้ป่วย การใช้ยาแก้ปวดซ้ำซ้อนกัน ตลอดจนผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาแก้ปวดเช่น ท้องผูก ปากแห้ง คอแห้ง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาอื่นๆ เพื่อจัดการอาการของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เช่น การใช้ยาเพื่อเป็น ยาเสริมประสิทธิภาพของยาแก้ปวด (adjuvant therapy) ไม่เหมาะสม ขาดการใช้ยาเพื่อจัดการอาการอื่น ๆ เช่น ยาระบายในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก เป็นต้น
ดังนั้น เพื่อหาสาเหตุและรวบรวมปัญหาที่เกี่ยวกีบการใช้ยา จึงมีความจำเป็นในการศึกษา เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาหาปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาที่ใช้ยาการจัดการของอาการในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ตลอดจนสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายทุกรายที่ได้รับดูแลแบบประคับประคอง ในโรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
เกณฑ์การคัดเข้าในการศึกษา :
1. ผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป
2. เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่า เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย และได้รับการรักษาแบบประคับประคอง (palliative care) ณ โรงพยาบาลเขาวง
3. ได้รับการรักษาด้วยยา
4. เป็นผู้ป่วยที่สามารถเก็บข้อมูลได้จากฐานข้อมูลที่บันทึกไว้ได้แก่ เวชระเบียนผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก และบันทึกการเยี่ยมบ้าน
เกณฑ์การคัดออก :
1. ผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้การรักษาด้วยยา ในการดูแลแบบประคับประคอง ได้แก่ กายภาพบำบัด การฝังเข็ม การประคบ นวดแผนไทย เป็นต้น
|
|
เครื่องมือ : |
แบบเก็บข้อมูล, ทะเบียนผู้ป่วย |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
จากฐานข้อมูลโรงพยาบาล ( HosXp ) , เวชระเบียนผู้ป่วยใน เพื่อสำรวจหาปัญหาจากการใช้ยา และสาเหตุของปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา
ลักษณะของข้อมูลที่เก็บ:
● ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย รายการยาที่ผู้ป่วยได้รับ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา และปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ในการจัดการอาการของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ตามที่มีการบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วยใน ซึ่งระดับความปวดจะใช้การประเมินด้วย Visual analog scale มีค่าคะแนนตั้งแต่ 0-10 และการประเมิน Palliative performance scale (PPS) ซึ่งเป็นการประเมินระดับของผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ซึ่งพยาบาลจะเป็นผู้ประเมินและบันทึกข้อมูล
● อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
● ปัญหาการใช้ยาที่พบขณะนอนโรงพยาบาลและยาที่ได้รับเมื่อมีการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล โดยยึดตามเกณฑ์ประเมินของ The Pharmaceutical Care Network Europe (PCNE) versions 7.0 ในส่วนของ สาเหตุ และการระบุปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
- |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|