|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวชโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและภาคีเครือข่ายในชุมชน ภายใต้การสนับสนุนดำเนินงานของกองทุนสุขภาพระดับพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสมเด็จ ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
ทิพย์สุดา พันธ์ดี,กนกลดา รัตน์วิเศษ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย โดยพบว่าประชากร 1 ใน 5 ของประเทศมีปัญหาสุขภาพจิต ทำให้เกิดความพิการและสูญเสียเป็นจำนวนมาก เพราะปัญหาสุขภาพจิตมิใช่ส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเท่านั้น รวมไปถึงญาติ ผู้ดูแลและบุคคลในสังคม ยังพบว่าผู้ป่วยจิตเวช ยังขาดโอกาสและแรงสนับสนุนทางสังคม ทำให้เป็นตกเป็นเหยื่อในรูปแบบต่างๆหรือเสี่ยงต่อการก่อคดีอุกฉกรรจ์ และยังพบว่าญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาระสูงต่อการดูแล ส่งผลให้ญาติมีความท้อแท้เบื่อหน่าย หมดหวังและกำลังใจในการรักษา ประกอบกับอาการผู้ป่วยไม่คงที่ กำเริบบ่อยครั้ง เกรงว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่นและชุมชน ญาติหรือผู้ดูแลจึงต้องล่ามขังไว้และก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบตามมา นอกจากนี้ผู้ป่วยมักมีอาการกำเริบซ้ำบ่อยซึ่งมีผลกระทบต่อความรุนแรงของอาการมากขึ้นและอาการเรื้อรังไม่หายขาดส่งผลเสียต่อชีวิตของผู้ป่วยและญาติ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องได้รับการรักษาและดูแลต่อเนื่องจากคนในครอบครัวและในชุมชน โดยอาศัยแนวทางการดำเนินงานและการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยแบบมีส่วนร่วมของครอบครัวและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผ้ป่วยสามารถอยู่ในสังคมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวชโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและภาคีเครือข่ายในชุมชน
2. เพื่อให้ผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวชได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
3. เพื่อสร้างเครือข่ายดูแลผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
1. ผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในเขตพื้นที่ตำบลศรีสมเด็จ อ.สมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 50 คน 2. ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพจิตและจิตเวชตำบลศรีสมเด็จ |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ภาคีเครือข่ายร่วมวิเคราะห์ปัญหาในการดำเนินงานและ สภาพปัญหาของผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ในพื้นที่
2. ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองแสงกำหนดแผนการดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีสมเด็จ
3. ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองแสงอบรมพัฒนาศักยภาพแก่ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
4. ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองแสงอบรมพัฒนาศักยภาพแก่อาสาสมัครสาธารณสุข และญาติในการดูแลสุขภาพผู้ป่วย (Home health care )
5. ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองแสงกำหนดรูปแบบ แนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช
6. ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีสมเด็จออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วย
7. สรุปผลการเยี่ยมบ้าน และคืนข้อมูลแก่ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ผลงาน บรรลุตามวัตถุประสงค์
ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวช
ร้อยละ 100 ร้อยละ100
ผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวชในตำบลศรีสมเด็จทุกรายได้รับการติดตามดูแลต่อเนื่องจากภาคีเครือข่าย
ร้อยละ100 ร้อยละ 100
ผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวชทุกรายได้รับการขึ้นทะเบียนสิทธิผู้พิการ
ร้อยละ 100 ร้อยละ 100
การจัดสรรงบประมาณทำให้เกิดแกนนำและผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชทั่วถึง
ร้อยละ 100 ร้อยละ 100
จากการดำเนินโครงการพบว่า หลังการจัดโครงการพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวชเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายโดยการ ดำเนินการตามบาบาทหน้าที่ การติดตามเยี่ยมบ้าน และการพัฒนาศักยภาพแกนนำและผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวช การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยตามบริบทแต่ละปัญหา จึงทำให้เกิดเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวช ชุมชนเป็นเจ้าของปัญหาในการดูแลและดำเนินกิจกรรมตามบทบาทของแต่ละฝ่าย ผู้ดูแลและแกนนำสามารถดูแลผู้ป่วยด้วยความมั่นใจและถูกต้อง ลดภาระในการดูแล ผู้ป่วยไม่มีอาการกำเริบ ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ผู้ป่วยสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้โดยชุมชนยอมรับ |
|
ข้อเสนอแนะ : |
ควรมีผู้ดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวชที่เป็นผู้ดูแลรองที่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยเมื่อผู้ดูแลหลักไม่สามารถดูแลได้
โอกาสพัฒนามีการสนับสนุนการประกอบอาชีพในผู้ป่วยรายที่สามารถประกอบอาชีพและกำลังว่างงานเพื่อเป็นการฟื้นฟูสมรรถนะของผู้ป่วย
มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องภาคีเครือข่ายมีการรับสงข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันในการวางแผนแก้ปัญหาให้ครั้งต่อไป
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชนของผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวชที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถนะ เช่น การจัดเวทีประกวดต่างๆ การร่วมกิจกรรมตามปฏิทินชุมชน
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|