ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พฤติกรรมการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยการพึ่งตนเองตามหลัก “แพทย์ วิธีธรรม”
ผู้แต่ง : สุจิตรา วงศ์มีแก้ว,แสงจนทร์ พลลาภ, ประภัสสร ดลวาส,สมร โประสาก ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การดำเนินงานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ผ่านมา โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มักไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ส่วนใหญ่จะเป็นการให้ความรู้ในวันที่ผู้ป่วยไปรับยาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลหรือ รพ.สต.และจะจัดอบรมเพิ่มเติมในพื้นที่ตำบล ซึ่งมักเป็นการอบรมในระยะเวลาสั้นและไม่ต่อเนื่อง ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้ดีพอ บางส่วนเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือบางรายอาจถึงแก่ชีวิต ส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง ข้อมูลจากการสังเกต การใช้เครื่องมือวัดและสอบถาม พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง ไม่ค่อยให้ความใส่ใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกกับโรค ขาดการออกกำลังกาย ตลอดจนการปฏิบัติตัวอื่น ๆ ที่ส่งผลให้อาการของโรครุนแรงขึ้น ผู้ป่วยต้องคอยพึ่งพิงการใช้ยาและการดูแลจากบุคลากรสาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่ จากปัญหาดังกล่าว รพ.สต.บ้านหนองบัวโดน ต.สมเด็จ จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนารูปแบบการจัดบริการเพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วย โดยเน้นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถบำบัดโรคและดูแลสุขภาพด้วยการพึ่งตนเองให้มากขึ้น ยึดหลักการใช้วัสดุและทรัพยากรที่มีในพื้นที่ เน้นความสะดวก ประหยัด ทำง่าย ได้ผลจริง ควบคู่กับการรับบริการจากสถานบริการของรัฐ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป  
วัตถุประสงค์ : ๑. เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้สมุนไพรรักษาโรคที่เหมาะสม ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง ๒. เพื่อส่งเสริมการพึ่งตนเองด้วยการใช้สมุนไพรควบคู่กับการใช้ยาแผนปัจจุบันของผู้ป่วยให้มากขึ้น 3. เพื่อติดตามพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ๓. เพื่อลดความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พื้นที่ดำเนินงาน  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่รพ.สต.หนองบัวโดน จำนวน ๒๗๗ คน  
เครื่องมือ : ๑. แบบบันทึกประจำวันผู้ป่วย 2. แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้วยการใช้สมุนไพร 3. แบบสอบถามการปฏิบัติตัวหลังการอบรม 4. แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เข้าร่วมกิจกรรม 5. แบบบันทึกเปรียบเทียบผลการตรวจสุขภาพในแต่ละเดือน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๑. ประชุมผู้รับผิดชอบเป้าประสงค์และผู้รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้อง ๒. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วยผู้รับผิดชอบงาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของ รพ.สต.และตัวแทน อสม. ๓. กำหนดรูปแบบการดำเนินงานร่วมกัน ดังนี้ 1) จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย แบบฟอร์มเอกสาร วัสดุที่เกี่ยวข้องและจำเป็น 2) เชิญกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม 3) ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนัก ทำการตรวจประเมินสุขภาพผู้ป่วย จัดกลุ่มสีโรคตามแนวทางปิงปองจราจรชีวิต ๗ สี โดยใช้รูปแบบจัดทำป้ายขนาดใหญ่ให้ผู้ป่วยรู้จักกลุ่ม ( สี ) ของตนเอง 4) การอบรมเน้นการบำบัดโรคด้วยตนเองควบคู่กับการใช้ยาแผนปัจจุบันที่เคยใช้ประจำ ซึ่งทักษะที่ใช้เพื่อบำบัดโรคด้วยตนเอง ได้แก่ - การทำและดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ฤทธิ์เย็น - การขูดระบายพิษ ( กัวซา ) - การสวนล้างลำไส้ ( ดีท็อกซ์ ) - การแช่มือ-เท้าด้วยสมุนไพร - การกดจุดที่เท้า - การทำสมาธิ - การออกกำลังกายแบบแกว่งแขน 5) ให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวด้วยวิธีเหมาะสมกับตนเองที่บ้านตามแนวทางที่อบรมมา โดยมีแบบบันทึกประจำวันเป็นตัวควบคุม 6) จัดกิจกรรมพบกลุ่มของผู้ป่วยที่ผ่านการอบรม เดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อให้ผู้ป่วยมีการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและเพื่อให้ความรู้คำแนะนำเพิ่มเติม ตลอดจนประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย ๔. จัดอบรมให้ความรู้หลักสูตรเดียวกันแก่ อสม.เพื่อเป็นพี่เลี้ยงและติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ๕. เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ออกเยี่ยมบ้านเพื่อให้บริการและแนะนำเพิ่มเติมเฉพาะราย ๖. ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ๗. รายงานผลการดำเนินงานและคืนข้อมูลแก่ผู้เกี่ยวข้อง ๘. ถอดบทเรียนและสรุปองค์ความรู้  
     
ผลการศึกษา : จากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.00 อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 53.33 การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 90.00 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 80.00 ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 73.33 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 3,000 บาท ร้อยละ 76.67 ระยะป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มากกว่า 10 ปี ร้อยละ 93.33 ระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 126 – 154 mg/dl ร้อยละ 43.33 และค่าดัชนีมวลกาย ( BMI ) ใน ช่วง 18.5 – 23.4 ร้อยละ 36.67 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับ “แพทย์วิธีธรรม” 2 – 5 ครั้ง การทำและดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ฤทธิ์เย็นของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 63.33 การขูดระบายพิษ ( กัวซา ) ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 16.66 การสวนล้างลำไส้ ( ดีท็อกซ์ ) ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 6.66 การแช่มือ – เท้า ด้วยสมุนไพรของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับดี ร้อยละ 73.33 การกดจุดที่เท้าของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 23.33 การทำสมาธิของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.33 และการออกกำลังกายแกว่งแขนของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 93.33 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยในคลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัวโดน ตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ในผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 30 คน จากการเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง พบว่าหลังการอบรม “แพทย์วิถีธรรม” ของกลุ่มตัวอย่างมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ค่าดัชนีมวลกายลดลง มีความพึงพอใจในการรับบริการที่คลินิกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัวโดน และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้  
ข้อเสนอแนะ : จะเห็นว่าการให้สุขศึกษาในคลินิกเกี่ยวกับ “แพทย์วิถีธรรม” ให้มีกระบวนการให้ความรู้ ร่วมเรียนรู้ร่วมกันของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งประกอบด้วย การทำและดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ฤทธิ์เย็น การขูดระบายพิษ ( กัวซา ) การสวนล้างลำไส้ ( ดีท็อกซ์ ) การแช่มือ – เท้า ด้วยสมุนไพร การกดจุดที่เท้า การทำสมาธิ และการออกกำลังกายแกว่งแขน สร้างทีมติดตามกระตุ้นให้ความรู้เกี่ยวกับ "แพทย์วิถีธรรม” โดย อสม. เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในบ้านรับผิดชอบตนเอง ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดี สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ความดันโลหิต และสามารถส่งเสริมสุขภาพตนเองที่ดีขึ้น จึงควรส่งเสริมให้มีการนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ