ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน
ผู้แต่ง : นางสาวอภิญญา ช่วยนา นางสาวจริยภาณ์ บุญรมย์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ปัญหาที่พบ ถึงแม้งานกายภาพบำบัดจะให้บริการเชิงรุกออกเยี่ยมในชุมชนแก่ ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยระยะฟื้นฟูที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวทุกวัน เวลา 08.00-16.00 น แต่จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยระยะฟื้นฟูที่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องมีจำนวนมากนักกายภาพบำบัดไม่เพียงพอต่อการให้บริการ นอกจากนี้ยังพบว่าชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีบทบาทในการดูแลคนพิการมากนัก แนวทางการแก้ไข จากการวิเคราะห์ปัญหาที่พบงานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลเขาวงร่วมกับเครือข่ายกายภาพบำบัดจังหวัดกาฬสินธุ์ได้จัดตั้งศูนย์โฮมสุขเพื่อดำเนินงานให้บริการกลุ่มเป้าหมายซึ่งได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยระยะฟื้นฟูที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ได้รับการตรวจคัดกรอง เบิกจ่ายกายอุปกรณ์ กายอุปกรณ์ประยุกต์และปรับสภาพบ้านให้มีความเหมาะสมเพื่อให้ชุมชนมีบทบาทในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย โดยศูนย์โฮมสุขได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัดกาฬสินธุ์ในการสนับสนุนการดำเนินงานของอาสาสมัครศูนย์โฮมสุขและการพัฒนาศักยภาพในการดูแล รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนสนับสนุนในการดำเนินงานศูนย์โฮมสุข  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการปรับสภาพบ้านเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของผู้พิการ 2. เพิ่มเครือข่ายการดูแลศูนย์พื้นฟูสภาพ ตัวชีวัด 1.ร้อยละความครอบคลุมในการปรับสภาพบ้านของคนพิการในอำเภอเขาวง 2.จำนวนเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น (เป้าหมาย 2แห่ง)  
กลุ่มเป้าหมาย : คนพิการทุกประเภทที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ,อสม. ,แกนนำชุมชน ,เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ,คกก.ดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ,ทีมครอบครัว  
เครื่องมือ : แบบประเมินการทำกิจวัตรประจำวัน(ADL) ,ฐานข้อมูลคนพิการ ,แบบประเมินการทรงตัว(BBS) ,แบบประเมิน ICF  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน และรักษาสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย คนพิการทุกประเภท ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระยะฟื้นฟูที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว - ให้ความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความพิการและข้อจำกัดทางสุขภาพ เช่น แนะนำให้กลุ่มเป้าหมายนอนเตียงแทนการนอนพื้น - มีการประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเป็นรายเคส - มีการวางแผน การดูแลร่วมกันทั้งภาคเครือข่าย - มีการส่งต่อข้อมูลกลุ่มเป้าหมายระหว่างเจ้าหน้าที่ศูนย์โฮมสุข และทีมสหวิชาชีพผ่านทางโซเชียลมีเดีย เช่น facebook และ line เป็นต้น - ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพร่วมกับทีมสหวิชาชีพและสอนญาติ/ผู้ดูแลเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพและการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อน - แนะนำการใช้กายอุปกรณ์และกายอุปกรณ์ประยุกต์ที่เหมาะสม - มีการสำรวจ ค้นหา ขึ้นทะเบียนคนพิการรายใหม่ 2. มีการดำเนินกิจกรรมปรับสภาพบ้านร่วมกัน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/เจ้าหน้าที่ อบต./เทศบาล และเจ้าหน้าที่ศูนย์โฮมสุข เช่น การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยชุมชน การออกแบบโดยนักกายภาพบำบัด การประมาณค่าใช้จ่ายโดยเจ้าหน้าที่ อปท. การประสานเพื่อจัดทำโครงการโดยนักพัฒนาชุมชน ฯลฯ 3. ส่งเสริมการประกอบอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมาย เช่น เจ้าหน้าที่ศูนย์โฮมสุขสอนการทำกระติบข้าว การทำหมวก และการทำลูกประคบสด เป็นต้น 4. มีการสำรวจ ค้นหา และส่งต่อข้อมูลคนพิการรายใหม่/เก่าให้กับครูการศึกษาพิเศษเพื่อส่งเสริมให้คนพิการสามารถเข้าถึงบริการด้านการศึกษา  ศูนย์โฮมสุขมีการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายดังนี้ 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการของศูนย์โฮมสุข และการปรับสภาพบ้านคนพิการ - สนับสนุนรถรับ-ส่ง สำหรับคนพิการที่มีความยากลำบากในการเดินทาง - ส่งเสริมการประกอบอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมาย - สนับสนุนบุคลากรในการดำเนินการปรับสภาพบ้านและการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย 2. ชุมชน - อสม.ในพื้นที่ส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยรายใหม่ให้กับเจ้าหน้าที่ศูนย์โฮมสุข - สนับสนุน แรงงาน งบประมาณในการปรับสภาพบ้าน - บริจาคอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ ให้แก่คนพิการ 3. รพ.สต. - ประสานทีม สหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย ได้แก่ ทีมเจ้าหน้าที่ รพ.เขาวง รพ.กาฬสินธุ์ เทศบาล ชุมชน และครูการศึกษาพิเศษ - ร่วมสำรวจ คัดกรองและประเมินกลุ่มเป้าหมายรายใหม่ - สนับสนุนบุคลากรในการออกเยี่ยมบ้าน การปรับสภาพบ้าน และให้บริการ เปลี่ยนอุปกรณ์ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีการเคลื่อนไหวลำบาก เช่น สายอาหาร สายสวนปัสสาวะ และสอนการล้างแผล เป็นต้น  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง