ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การให้ความรู้เรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 เพื่อชะลอการเสื่อมของไต
ผู้แต่ง : นางศรีสุดา เศษฤทธิ์, ทีมสหวิชาชีพคลินิกโรคไต ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เพราะมีความชุกที่สูงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคไตเรื้อรังแบ่งตามความรุนแรงของโรคเป็น 5 ระยะ ซึ่งจากการศึกษาระบาดวิทยาโรคไตเรื้อรังในชุมชนของประเทศไทย (Thai SEEK Study)พบความชุกของโรคจากระยะที่ 1-5 เท่ากับร้อยละ 3.3, 5.6, 7.5, 0.8 และ 0.3 ตามลำดับ โดยความชุกของโรคไตเรื้อรังจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น มีประชากรเพียงร้อยละ 1.9 เท่านั้นที่ทราบว่าตนกำลังเป็นโรคไตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 ซึ่งเป็นระยะที่สามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ดี ดังนั้นหากมีการค้นพบผู้ป่วยในระยะแรกของโรคสามารถให้ความรู้เรื่องอาหารและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและชะลอการเสื่อมของหน้าที่ไตได้ข้อมูลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอำเภอเขาวง ปี2557-2559 มีจำนวน 209,309,352 รายพบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นและระบบการให้บริการการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงยังไม่ครอบคลุมผู้ป่วยผู้ดูแลขาดความรู้ความเข้าใจรวมถึงความตระหนักในเรื่องการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัวโดยเฉพาะในเรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ดังนั้นจึงได้จัดให้มีโปรแกรมการการสอนเกี่ยวกับการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่3ที่มารับบริการในคลินิกรักษ์ไตเพื่อให้ผู้ป่วยและญาตินำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองที่ถูกต้องอันจะ ส่งผลต่อการลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคและเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้สามารถอยู่ได้อย่างคนปกติ  
วัตถุประสงค์ : 6. วัตถุประสงค์ :1.เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง 2.เพื่อเพิ่มความตระหนักในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 3.เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไตเรื้อรัง 4.เพื่อชะลอการเสื่อมของไต ตัวชี้วัด ร้อยละความความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคไตเรื้อรัง ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการคลินิกรักษ์ไต  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่3 ที่มารับบริการที่คลินิกรักษ์ไต โรงพยาบาลเขาวง จำนวน 50 คน  
เครื่องมือ : แบบประเมินความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคไตเรื้อรังและแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการคลินิกรักษ์ไต  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเรื่องโรคไตเรื้อรัง 2. ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไตของผู้ป่วยและญาติ 3.จัดทำเอกสาร แผ่นพับ คู่มือ เกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคไต อาหารสำหรับโรคไตเรื้อรังและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง 4. จัดกิจกรรมให้ความรู้เป็นกลุ่มผู้ป่วย ๆละ 10 คน ในเรื่อง โรคไตและอาหารสำหรับโรคไตเรื้อรัง 5.ค้นหาบุคคลต้นแบบในการดูแลตนเองได้ดีในแต่ละรุ่น 6. ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการคลินิกรักษ์ไต 7.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม 8.สรุปและประเมินผล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ