ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : นวัตกรรม “เมนูชูสุขภาพ” โครงการชุมชนร่วมใจ สมุนไพร ล้างพิษ
ผู้แต่ง : นางสาวปิยะพร แดนกะไสย ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ความเป็นมาของนวัตกรรม สืบเนื่องจาก กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายเร่งด่วนในการดำเนิน โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๘๔ พรรษา โดยมุ่งเน้นในการดูแลสุขภาพเกษตรกรทั้งกายและจิต รวมถึงการป้องกันควบคุมโรคและภัยคุกคามสุขภาพจากการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งมีความเป็นพิษเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังจนถึงอาการเฉียบพลัน ตั้งแต่ระดับเล็กน้อย จนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ปัจจุบันประเทศไทยมีประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมประมาณ ๑๓ ล้านคน ส่วนใหญ่ยังมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดความเสี่ยงอันตรายทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค โดยผลการตรวจตัวอย่างผัก ผลไม้สดของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปี ๒๕๕๙ พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ร้อยละ ๒๘ และ ปี ๒๕๕๙ มีเกษตรกรที่มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในร่างกายอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๓๙ และ จากรายงานผู้ป่วย ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐ เฉลี่ยปีละ เกือบ ๒,๐๐๐ ราย ในปี ๒๕๖๐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวงแสน มีการตรวจคัดกรองเกษตรกรโดยการเจาะเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ในบ้านหนองแคน หมู่ที่ ๑ ตำบลดอนจาน ซึ่งเป็นหมู่บ้านนำร่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน ๑๘๐ ราย พบว่า เกษตรกรมีผลเลือดในระดับที่เสี่ยงและไม่ปลอดภัย ๕๖ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๑ ของเกษตรกร ที่ได้รับการตรวจทั้งหมด จะเห็นได้ว่า เกษตรกรวัยทำงาน ทุกกลุ่ม แม้กระทั่ง ไม่เคยสัมผัสสารเคมีเลย ก็พบความเสี่ยง มีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยสูง เช่นเดียวกับค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ ซึ่งควรมีการเฝ้าระวังและดำเนินงานให้เกษตรกรได้ดูแลสุขภาพตนเองร่วมกับบุคลากรสาธารณสุข โครงการชุมชนปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวงแสน ปี ๒๕๖๑ ได้ตั้งเป้าหมายให้เกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมกันค้นหาเกษตรกรที่มีความเสี่ยงและตรวจเลือด เพื่อหาสารพิษตกค้าง หากพบว่า เกษตรกรมีสารพิษในเลือดอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัย จะรักษาด้วยการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน ย่านาง รางจืด หรือสมุนไพรล้างพิษ ด้วยการอบสมุนไพร รวมทั้งให้คำแนะนำการป้องกันตัวจากสารพิษ และ ดูแลด้านสุขภาพจิต ในหมู่บ้านหนองแคน หมู่ที่ ๑ ตำบลดอนจาน และบ้านหนองแวงแสน หมู่ที่ ๒ ตำบลนาจำปา จำนวน ๒ หมู่บ้าน ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวงแสน ร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุขซึ่งเป็นแกนนำ และนักจัดการสุขภาพ จากการทำประชาคม บ้านหนองแคน หมู่ที่ ๑ ประชาชนมองเห็นความสำคัญ และมีความสนใจ ตื่นตัวในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อสารเคมีในเกษตรกรสูง สนใจในการอบสมุนไพร เพื่อลดความเสี่ยงต่อสารเคมี  
วัตถุประสงค์ : ๑. เพื่อคัดกรองสุขภาพเกษตรกร ๑๕-๖๐ ปี โดย อสม. ร้อยละ ๑๐๐ ๒. เพื่อตรวจหาสารโคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง อายุ ๑๕-๖๐ ปี อย่างน้อย ร้อยละ ๒๐ ๓. เพื่อตรวจหาสารโคลีนเอสเตอเรสในเลือดผู้จำหน่ายสารเคมี อย่างน้อยร้อยละ ๕๐ ๔. ชุมชนมีส่วนร่วมในวางแผนการดำเนินงานและการจัดการสุขภาพชุมชน มีแนวทางการจัดบริการที่ชุมชนเข้มแข็ง ๕. เพื่อให้การบำบัดกลุ่มไม่ปลอดภัย ต่อสารเคมี ด้วยการอบสมุนไพรล้างพิษ โดยจัดบริการที่สุขศาลา ๖. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และความตระหนัก ในการดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยจากสารเคมี  
กลุ่มเป้าหมาย : เลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง อายุ ๑๕-๖๐ ปี  
เครื่องมือ : ชุดตรวจระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๑.กระบวนการจัดทำแผนชุมชนโดยใช้แผนที่ทางเดนยุทธศาสตร์ มีการวิเคราะห์ปัญหา โดยนักจัดการสุขภาพชุมชน จัดลำดับความสำคัญของปัญหา จัดทำแผน/โครงการชุมชนปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิต ผ่องใส และมีการกำหนดรูปแบบ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จากการวิเคราะห์สถานการณ์ และการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา แกนนำชุมชนและประชาชนได้ร่วมประชาคมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน โดยการใช้เครื่องมือในกระบวนการสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ เพื่อแก้ไขปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับสารเคมี และโรคมะเร็ง ถูกจัดให้เป็น ลำดับที่ ๒ และ ๓ ส่วนปัญหาเรื่องโรคเรื้อรัง เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้พัฒนานวัตกรรมมาแล้วอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงไดพัฒนานวัตกรรม ในส่วนนี้ เพื่อสร้างความเข้มแข้งให้กับชุมชน ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาด้านความเสี่ยงต่อสารเคมี ในเกษตรกร ซึ่งเป็นที่มา ของหลายโรค และ มีกระบวนการจัดทำแผนชุมชน สู่การพัฒนานวัตกรรมและรูปแบบการจัดการปัญหาสุขภาพ ของ บ้านหนองแคน หมู่ที่ ๑ ตำบลดอนจาน ดังนี้ ๑.ใช้กระบวนการแผนที่ความคิด ๔ มุมมอง  มุมมองประชาชน ๑. ประชาชนตื่นตัว ในการค้นหาและคัดกรองความไม่ปลอดภัยจากสารเคมี ของเกษตรวัยทำงาน ๒. อยากให้ประชาชนมีความรู้เรื่องพืชสมุนไพร การดื่มน้ำสมุนไพร และ ผักพื้นบ้าน ๓. อยากให้ชุมชนมีการปลูกพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านปลอดสารพิษทุกครัวเรือน ๔. อยากให้ประชาชนมีความรู้ด้าน ความปลอดภัยจากสารเคมี ๕. อยากให้ท้องถิ่นเข้ามาดูแลเรื่องงบประมาณ  มุมมองภาคีเครือข่าย ๑. เทศบาลตำบล ดอนจาน เห็นความสำคัญ ของการดำเนินงาน โครงการฯ สนับสนุนงบประมาณ ๒. ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้สมุนไพร ๓. เยาวชนร่วมอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้าน ๔. อสม.ทำหน้าที่ในการประสานงาน ดำเนินกิจกรรม และติดตามการดำเนินงานทุกกิจกรรม ๕. หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนด้านบุคลากร งบประมาณและจัดทำบัญชีครัวเรือน ๖. หน่วยงานสาธารณสุขสนับสนุนวิทยากร ให้ความรู้ในการใช้สมุนไพรและผักพื้นบ้าน ในการดูแลสุขภาพด้านความปลอดภัยของประชาชน ต่อสารเคมี ๗. ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็งและมีความรู้ ความสามารถ  มุมมองกระบวนการ ๑. จัดประชุมประชาคม และทบทวนรูปแบบและกระบวนการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหา โดยชุมชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการ ได้เอง ๒. วิเคราะห์ปัญหาและจัดทำแผนงานโครงการ ๓. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานพัฒนานวัตกรรม “ชุมชนร่วมใจ สมุนไพรล้างพิษ” ๔. ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงต่อสารเคมี ในกลุ่มเป้าหมาย อายุ ๑๕-๖๐ ปี ทุกราย ปี ละ ครั้ง ๕. จัดอบรมกลุ่มเสี่ยงสูง และไม่ปลอดภัยต่อสารเคมี ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการป้องกันภัยจากสารเคมี และ การใช้สมุนไพร ผักพื้นบ้านในการ กำจัดสารพิษในร่างกาย ๖. แจกจ่ายแผ่นพับและมีการประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว อย่างต่อเนื่อง ๗. จัดทำทะเบียนเครือข่ายการปลุกพืชสมุนไพรในครัวเรือน รวบรวมเพื่อการแลกเปลี่ยน ๘. จัดให้มีการ อบสมุนไพร ล้างพิษที่สุขศาลา ๙. สนับสนุนการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ๑๐. จัดให้มีการอบสมุนไพร ที่สุขศาลา ในกลุ่มผู้ไม่ปลอดภัย ๑๑. มีการติดตาม ตรวจเลือด หลังการอบสมุนไพร ๔ ครั้ง ๓ เดือน และ ๖ เดือน ๑๒.  มุมมองรากฐาน ๑. ชุมชนมีฐานข้อมูลสุขภาพกลุ่มเสี่ยง เป็นปัจจุบัน ๒. มีข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนในชุมชน ๓. มีบุคลากรเพียงพอ มีทักษะ มีความรู้ ความชำนาญ และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ๔. ชุมชนมีเครือข่ายการปลูกใช้สมุนไพร และ ผักพื้นบ้าน ในการดูแลสุขภาพ มีการแลกเปลี่ยนพืชผัก ๕. ผู้นำชุมชน อสม.และแกนนำสุขภาพมีขวัญและกำลังใจที่เอื้อต่อการทำงาน เอาใจใส่ในหน้าที่  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง