ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมวัยรุ่น วัยเรียน ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคี เครือข่าย ในอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นฤชล วิชัยโย นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ, ประทุมมาศ ไชยสุนทร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ, เสรี แซ่ตัน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยาย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อลามกในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ ทางเพศของตนเอง เยาวชนจึงมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม และขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา จึงส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ อีกทั้งสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งวิถีการดำเนินชีวิตและวิถี วัฒนธรรม ขณะที่โครงสร้างของสังคมไทยยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ส่งผลให้คนไทยซึมซับวัฒนธรรมตะวันตกโดยไม่เลือก จึงทำให้ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา สังคมไทยต้องเผชิญกับวิกฤตเรื่องค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรม มีการเลียนแบบวัฒนธรรมการบริโภคนิยม วัตถุนิยม และการให้ความสำคัญกับเงินตราเป็นตัวตั้ง ทำให้สังคมไทยประสบปัญหาทางสังคมมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่เกิดกับเด็กและเยาวชน สถาบันครอบครัวไทยก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกเชื่อมโยงเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมที่เกิดขึ้น การพัฒนาตามแนวคิดการพัฒนากระแสหลักให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่งคั่งร่ำ รวย หรือความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เน้นการพัฒนาแบบแยกส่วน ทำให้เกิดกระบวนการดึงคนออกมาจากครอบครัว แยกพ่อแม่ ลูกหลาน ปู่ย่าตายาย ออกจากกัน ผลของการพัฒนานั้นแม้จะทำให้ครอบครัวไทยมีภาวะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น มีความสุขสบายด้านวัตถุมากขึ้น แต่ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวที่เคยแนบแน่นและอบอุ่นก็เริ่มเลือนหายไป เปลี่ยนแปลงเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่แนบแน่นดังก่อน ความผูกพันกันในเชิงอารมณ์และความรู้สึกมีค่อนข้างน้อย คนในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันน้อยลง พ่อแม่มีหน้าที่แสวงหาทรัพย์สินเงินทอง และวัตถุเพื่อมาเลี้ยงดูปรนเปรอความสุขให้ลูก ส่วนลูกซึ่งต้องทำหน้าที่เรียนหนังสือ ก็ถูกวัฒนธรรมต่างชาติและอบายมุขชักจูงไปในทางที่เสื่อมเสีย การเติบโตเป็นผู้ใหญ่เป็นไปตามยถากรรม เด็กๆเรียนรู้ชีวิตด้วยตนเองจากสังคมนอกบ้านมากกว่าสังคมในบ้าน และในชีวิตประจำวันของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นจะมีเวลาส่วนใหญ่อยู่ที่ โรงเรียน เฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อวัน ต้องใช้เวลาอยู่กับกลุ่มเพื่อนและครูที่โรงเรียน ปัญหาที่พบในวัยรุ่นไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การใช้สารเสพติด การบริโภคแอลกอฮอล์ โรคอ้วน และยังมีปัญหาอย่างอื่นตามมาอีกมาก จากการสำรวจต้นทุนชีวิตเด็กห้าด้าน ได้แก่ พลังตัวตน พลังครอบครัว พลังสร้างปัญญา พลังเพื่อนและกิจกรรม และพลังชุมชน ในโรงเรียนในเขตอำเภอคำม่วง พบว่าพลังชุมชนและครอบครัวในเด็กอำเภอคำม่วง เป็นพลังด้านที่อ่อนแอที่สุด ซึ่งเป็นตัวชี้วัดว่าในสภาพการณ์ปัจจุบันสถาบันครอบครัวกำลังตกต่ำและแทบไม่ มีความเป็นครอบครัวเหลืออยู่ ซึ่งครอบครัวเองก็ไม่สามารถยับยั้ง หรือผ่อนคลายปัญหาได้ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา คปสอ.คำม่วงได้ออกดำเนินการเป็นภาพกิจกรรมเชิงรุก โดยได้ออกให้ความรู้ สร้างกระแสสังคม เพื่อให้กลุ่มวัยเรียน วัยรุ่น ได้มีการทราบสถานการณ์ความเสี่ยงของตนเองโดยได้ลงไปให้ความรู้ ในโรงเรียน ครอบคลุมโรงเรียนในอำเภอคำม่วงไม่ว่าจะเป็นตำบลทุ่งคลอง เนินยาง โพน ดินจี่ นาทัน ให้ความรู้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงชั้นมัธยมปีที่ 3 มีจำนวนนักเรียนที่ได้รับการอบรมกิจกรรม 2,434 คน จากข้อมูลวัยรุ่นในอำเภอคำม่วง ที่มีอายุ 10-15 ปี จำนวน 3,235 คิดเป็นร้อยละ 75.24 โดยมีการติดตามหลังจากให้ความรู้ และมีการเก็บข้อมูลในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์โรง พยาบาลคำม่วงที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี พบว่ายังมีอุบัติการณ์ตั้งครรภ์ในหญิงกลุ่มที่ผ่านการอบรมร้อยละ 21.87 ชายกลุ่มที่ผ่านการอบรมร้อยละ 6.35 และมีหญิงและที่ไม่ผ่านการอบรมมีอุบัติการณ์ตั้งครรภ์ตั้งครรภ์ไม่พึง ประสงค์สูงถึงร้อยละ 78.12 และร้อยละ 93.75 ตามลำดับ (คลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลคำม่วง, 2558) จากข้อมูลดังกล่าวเมื่อสอบถามเป็นข้อมูลเชิงลึก พบว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กลุ่มวัยรุ่นและวัยเรียนหญิงและชายที่ไม่ได้ผ่าน การอบรมคือ ไม่ได้มาเรียนในวันที่โรงเรียนมีกิจกรรมนี้ และในกลุ่มผ่านการอบรมแล้วยังมีการตั้งครรภ์ พบว่าสาเหตุคือ ขาดความตระหนักในการป้องกันตนเอง นอกจากนี้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังมีสาเหตุอันสลับซับซ้อน เช่น การเข้าถึงสื่อต่างๆ ที่เปลี่ยนทัศนคติของวัยรุ่นเรื่องเพศ การมีสิ่งยั่วยุอยู่รอบตัว ครอบครัวมีเวลาให้แก่กันน้อยลง ช่องว่างระหว่างพ่อแม่ลูก ชุมชนขาดการใส่ใจกัน โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตให้กับเด็กนักเรียนอย่างรอบด้าน เพียงพอ จากค้นคว้าวิจัยพบว่ากิจกรรมที่จะช่วยป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึง ประสงค์คือการจัดเพศศึกษาในโรงเรียน ส่งเสริมให้วัยรุ่นชะลอการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก และจัดบริการคุมกำเนิด การเข้าถึงถุงยางอนามัย รวมทั้งมีบริการเชิงรุกสู่ครอบครัว ให้พ่อแม่ ครู ชุมชน และ เพื่อนมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (กรมสุขภาพจิตและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2557 และส่วนใหญ่การเข้าถึงและ ได้รับบริการเฉพาะความรู้ แหล่งที่ให้บริการ คือโรงเรียน ครอบครัว และเพื่อน ยังอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง (วรรณดี จันทรศิริ และคณะ, 2558) จากสถานการณ์และความสำคัญของปัญหาดังกล่าว พ่อแม่ ครู ชุมชนต้องเข้ามาดูแลใกล้ชิด ร่วมด้วยช่วยกันทุกภาคส่วน มีภาคีเครือข่ายกระตุ้นให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาอย่างองค์รวมสอดรับการดูแล กาย จิตใจ สังคม ให้เกิดความสมบูรณ์ให้มากที่สุด พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาอื่นๆในกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น พร้อมทั้งมีการดูแลสุขภาพโดยนักจัดการสุขภาพชุมชน มีการส่งเสริมครูและ กลุ่มเพื่อนในโรงเรียนเพื่อจัดการแก้ปัญหาวัยเรียนและวัยรุ่น โดยบูรณาการสาระการเรียนรู้กับหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษาที่เกี่ยว กับเรื่องเพศศึกษา สารเสพติด มะเร็งท่อน้ำดีและโรคพยาธิใบไม้ตับ พฤติกรรมที่เหมาะสมในวัยเรียน วัยรุ่น อีกทั้งบูรณาการออกติดตามเยี่ยมในรายที่มีความเสี่ยงโดยกลุ่มครูและเพื่อน จึงได้กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ตามโครงการพัฒนารูปแบบระบบบริการสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพพื้นที่ วัยเรียนวัยรุ่น ขึ้นเพื่อหวังว่าจะได้วิธีการ หรือรูปแบบการแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข หรือรูปแบบการดูแลในกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่นให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและ ส่งผ่านกลุ่มวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพในอนาคตต่อไป  
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมวัยรุ่น วัยเรียน ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคี เครือข่าย  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจงในการวิจัยครั้งนี้ ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1.วัยเรียน วัยรุ่น เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง โดยต้องเป็นวัยเรียนและวัยรุ่นช่วงอายุ 10-17 ที่เป็นคนไทย มีภูมิลำเนา และอาศัยอยู่ในอำเภอคำม่วง 2. ผู้ปกครองของวัยเรียน วัยรุ่น เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง โดยต้องเป็นผู้ปกครองของ วัยเรียนและวัยรุ่นช่วงอายุ10-17 ที่เป็นคนไทย มีภูมิลำเนา และอาศัยอยู่ในอำเภอคำม่วง 3. ภาคีเครือข่ายซึ่งประกอบด้วย นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ อสม.ครูอนามัยโรงเรียน พระสงฆ์ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการสุขภาพชุมชน  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในการศึกษา 1.แบบวัดความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมวัยรุ่น วัยเรียน ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ 2.แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ดำเนินการตามขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1.ขั้นการศึกษาบริบทพื้นที่ที่จะทำการศึกษา คือ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2.ขั้นตอนการกำหนดปัญหา คือ การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา(Priority setting of problems)ปัญหาที่ได้คือปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น 3. ขั้นการวางแผนปฏิบัติการวิจัย โดยการจัดทำขั้นตอนให้ชัดเจนรวมทั้งระบุผู้มีส่วนร่วมว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง การทำวิจัยอย่างไร 4. ขั้นการติดตามผลตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข กับปัญหาที่พบในการวิจัยแบบมีส่วนร่วม 5. ขั้นการสรุปผลการวิจัยขั้นตอนนี้ผู้วิจัยจะทำการสรุปผลการวิจัย และเรียบเรียงเป็นรายงานวิจัยออกมาเผยแพร่สู่สาธารณชน  
     
ผลการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้ เป็นการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) ตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีผลการวิจัย ดังนี้ 1. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ดังนี้ 1.1การมีส่วนร่วมด้านการวางแผน พบว่าในการประชุมทุกครั้งมีภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วน เข้าร่วมประชุม พร้อมทั้งได้แสดงความคิดเห็น ร่วมการวางแผน รวมทั้งออกแบบกิจกรรมและหลักสูตรบูรณาการวัยรุ่นวัยใส ภายใต้แนวความคิด “OUR & OWNER HEALTH GO TO GOAL TOGETHER” ภารกิจร่วมประเด็น “ลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอำเภอคำม่วงอย่างมีส่วนร่วม ปี 2559”โดยเน้นการเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยใช้เทคนิค (Body Paint) 1.2 การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ภาคีเครือข่ายร่วมการค้นหากลุ่มเป้าหมายร่วมกัน และช่วยลงมือ ทำไม่ผลักภาระให้เป็นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแต่เพียงอย่างเดียว อย่างเช่นที่ผ่านมา 1.3 การมีส่วนร่วมในการจัดสรรผลประโยชน์ มีการจัดตั้งคณะกรรมการชัดเจน ตั้งแต่ระดับอำเภอจนถึงระดับตำบล ในการตรวจสอบงบประมาณ ในโครงการและกิจกรรมต่างๆ โดยให้มติกรรมการเป็นเอกฉันท์ในการตัดสินใจนำงบประมาณมาใช้ 1.4 การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล เมื่อสิ้นสุดกระบวนการ มีการประชุมกลุ่ม และอภิปรายผลร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ ในแต่ละครั้งที่ดำเนินกิจกรรม รวมทั้งวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง โดยใช้วิธีประชุมกลุ่ม และอภิปรายผล 2. ผลการสำรวจข้อมูลความเชื่อและทัศนคติของวัยรุ่นหญิงต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2559 พบว่า ส่วนใหญ่วัยรุ่นหญิงมีความเชื่อและทัศนคติในระดับมาก ในหัวข้อที่ว่า ถ้าเกิดการตั้งครรภ์ คิดว่าการทำแท้งเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.1 รองลงมาคือถ้าชายและหญิงที่เป็นคู่รักกัน แต่ยังไม่ได้แต่งงานกันก็ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กันก่อน พบอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 76.7 และเมื่ออยู่ต่างถิ่นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสเป็นสิ่งที่สามารถทำได้เพราะ ไม่มีใครรู้จัก พบอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 74.1 ตามลำดับ ส่วนหัวข้อที่มีความเชื่อและทัศนคติของวัยรุ่นหญิง พบในระดับน้อยที่สุด คือ การใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ ทำให้ความรู้สึกทางเพศลดลงร้อยละ 23.0 รองลงมา คือการใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์เป็นบางครั้งสามารถป้องกันโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ได้ ร้อยละ 30.3และการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ร้อยละ 32.5 ตามลำดับ  
ข้อเสนอแนะ : การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายการวิจัย การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัยต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังและส่งต่อปัญหาวัยรุ่นระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชน และกลุ่มเพื่อนวัยรุ่น ให้เกิดประสิทธิผลต่อการดูแลวัยเรียนวัยรุ่น และเพื่อให้วัยรุ่น วัยเรียน และครอบครัว ได้มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัว ที่เหมาะสม การมีส่วนร่วมด้านการวางแผน พบว่าในการประชุมทุกครั้งมีภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วน เข้าร่วมประชุม พร้อมทั้งได้แสดงความคิดเห็น ร่วมการวางแผน รวมทั้งออกแบบกิจกรรมและหลักสูตรบูรณาการวัยรุ่นวัยใส ภายใต้แนวความคิด “OUR & OWNER HEALTH GO TO GOAL TOGETHER” ภารกิจร่วมประเด็น “ลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอำเภอคำม่วงอย่างมีส่วนร่วม ปี 2559” โดยเน้นการเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยใช้เทคนิค (Body Paint) ซึ่งในระยะแรกที่เริ่มประชุมกลุ่มนั้น พบว่าผู้เข้าร่วมประชุมที่มาจากภาคีเครือข่ายต่างๆ ยังไม่ได้มีความกระตือรือร้นในการแสดงความคิดเห็นมากเท่าใด ด้วยเพราะคิดแต่เพียงว่ายังไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานของตนเอง เมื่อประเด็น “ลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอำเภอคำม่วงอย่างมีส่วนร่วม ปี 2559” ได้ถูกผลักดันปัญหาให้เป็นนโยบายระดับอำเภอ รวมทั้งได้รับการคืนข้อมูลการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น ภาคีเครือข่ายจึงให้ความสำคัญ และร่วมกันปฏิบัติภารกิจครั้งนี้ด้วยกัน อีกประเด็นหนึ่งคือ การจัดตั้งคณะกรรมการของทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วม และบทบาทที่สำคัญ เมื่อประชุมกลุ่มเปิดเวทีให้ได้ร่วมคิด แสดงความรู้สึก การให้คุณค่า ชื่นชม เปิดโอกาสให้ลงมือปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ และเชิดชูจึงเกิดความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง มากยิ่งขึ้น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ