|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการสื่อสารเรื่องเพศของผู้ปกครองที่มีบุตรหลานวัยรุ่นหลังเข้าร่วมกิจกรรมแก้ปัญหาวัยรุ่น ของอำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
นางสาวรัตนา แก้วกุลบุตร |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
สังคมไทยในปัจจุบันนี้ เรื่องปัญหาเด็กที่ท้องไม่พร้อมหรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมีสูงมาก เพราะการคบเพื่อนต่างเพศเป็นเรื่องที่ปกติของวัยรุ่น เด็กบางคนมีอิสระในการใช้ชีวิต สามารถทำอะไรได้ตามใจตัวเองมากขึ้น และเรื่องเทคโนโลยีก็ก้าวหน้าไปมากทำให้การติดต่อสื่อสารกันระหว่างเพื่อนต่างเพศเป็นเรื่องที่ง่ายมาก จำนวนหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปีตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น และมีการติดเชื้อเอดส์(HIV) เพิ่มขึ้น ต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดยสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันหลักของสังคม คือสถาบันครอบครัว ในการทำหน้าที่ดูแลอบรมสั่งสอนบุตรหลาน ในวิถีประจำวันโดยเฉพาะบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการสื่อสารกับบุตรหลานที่เป็นวัยรุ่น ในเรื่องเพศ ที่เน้นวิธีคิด และพฤติกรรมให้บุตรหลานมีพฤติกรรมทางเพศที่ป้องกันการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะโรคเอดส์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
ปัญหาการตั้งครรภ์ของหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปีในอำเภอห้วยผึ้ง ในปี 2557 มีหญิงตั้งครรภ์จำนวน 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.64 ปี 2558 จำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.79 ปี 2559 จำนวน 20 คิดเป็นร้อยละ 16.15 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นผลสำรวจพบว่า คนที่วัยรุ่นปรึกษาเวลามีคำถามเรื่องเพศ อันดับ 1 คือ เพื่อนสนิท สูงสุดถึงร้อยละ 51 ตามมาด้วยพ่อแม่ ร้อยละ 14 และแฟน/คู่รัก ร้อยละ 10 โดยพ่อแม่เป็นบุคคลที่วัยรุ่นคาดหวังว่า ควรมีบทบาทในการให้ความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องเพศมากที่สุดถึงร้อยละ 60 และ ยังเป็นบุคคลที่เยาวชนต้องการจะไปปรึกษาด้วยมากที่สุด พ่อแม่ ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่เห็นว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องที่ยังไม่ควรพูดถึงและไม่กล้าที่จะเริ่มพูดคุยกับบุตรหลาน ขาดความรู้และความมั่นใจที่จะคุยเรื่องเพศกับบุตรหลาน อีกทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจของวัยรุ่น มีบทบาทในการสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องเพศให้กับวัยรุ่น จึงจัดกิจกรรมในการดำเนินงานเรื่องการสื่อสารเรื่องเพศของผู้ปกครองที่มีต่อบุตรหลานวัยรุ่นเพื่อเฝ้าระวังและสร้างภูมิคุ้มกันแก่วัยรุ่นในเรื่องเพศ ป้องกันปัญหาการท้องไม่พร้อม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และปัญหาในวัยรุ่นอื่นๆ โดยสถาบันครอบครัว
|
|
วัตถุประสงค์ : |
-เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนของผู้ปกครองที่มีบุตรหลานวัยรุ่นในการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรหลานวัยรุ่นในครอบครัว
- เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนของผู้ปกครองก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานวัยรุ่นในชุมชน จำนวน 180 คน |
|
เครื่องมือ : |
แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนของผู้ปกครองในการสื่อสารเรื่องเพศของผู้ปกครองที่มีบุตรหลานวัยรุ่น |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1.สำรวจกลุ่มเป้าหมายเพื่อคัดเข้าร่วมโครงการ
2. จัดกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์พ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานวัยรุ่น ประเด็นสำรวจตัวเอง ทราบเป้าหมายชีวิตครอบครัว แลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องเพศ การสื่อสารเรื่องเพศในวัยรุ่น
3. เพิ่มทักษะการสื่อสาร เรื่องเพศในวัยรุ่น เรื่องโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
4. ให้ความรู้การดูแล พูดคุยและสื่อสารกับบุตรในการเฝ้าระวังบุตรหลานให้มีพฤติกรรมปลอดภัยจากพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
5. จัดเก็บข้อมูลความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนของผู้ปกครองก่อนและหลังข้าร่วมกิจกรรม
6.ติดตามเก็บข้อมูลความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนของผู้ปกครองหลังการเข้าร่วมกิจกรรม อย่างน้อย 2 เดือน
7. วิเคราะห์ข้อมูล สรุปและถอดบทเรียนร่วมกัน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|