ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนของวัยรุ่นในการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
ผู้แต่ง : นางสาวรัตนา แก้วกุลบุตร ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : วัยรุ่นเป็นระยะเปลี่ยนผ่านของชีวิตจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ เป็นช่วงวัยที่มีการเจริญเติบโตด้านร่างกาย มีรูปร่างที่เปลี่ยนไปเป็นผู้ใหญ่และมีพัฒนาการทางเพศเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ในปัจจุบันแนวโน้มการเข้าสู่วัยเริ่มหนุ่มสาวเร็วขึ้นทั้งในเพศหญิงและเพศชาย โดยในวัยนี้ทั้งหญิงและชายไม่ได้มีเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายเท่านั้นแต่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และความรู้สึกด้วย จะเริ่มมีความสนใจในเพศตรงข้าม รวมทั้งเริ่มเกิดอารมณ์ความต้องการทางเพศตามธรรมชาติ ร่วมกับบริบททางสังคมในปัจจุบันของประเทศไทยที่มีการเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้ง่าย ความหลากหลายของสื่อจำนวนมากก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศได้ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ซึ่งอาจจะชักนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ได้ สถานการณ์พฤติกรรมเสี่ยงและปัญหาจากพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นในปัจจุบันพบว่าในปี ๒๕๕๗ เยาวชนอายุ ๑๕-๒๔ ปี ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ ๒๕.๒ เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๔ ร้อยละ ๖.๓ และมีสัดส่วนการดื่มหนักมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ โดยอายุเฉลี่ยที่เริ่มดื่มที่อายุ ๑๖.๗ ปี และจากการสำรวจนักเรียนอายุ ๑๓-๑๕ ปี พบว่าเริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อายุ ๑๔ ปี ร้อยละ ๗๖.๕ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เยาวชนอายุ ๑๕-๒๔ ปี สูบบุหรี่ ร้อยละ ๑๔.๗ โดยมีอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกลดลงเท่ากับ ๑๕.๖ ปี และจากผลการสำรวจพบว่า นักเรียนอายุ ๑๓ ปี สูบบุหรี่ครั้งแรกร้อยละ ๗๓.๗ อีทั้งเยาวชนยังคงเป็นเป้าหมายสำคัญของธุรกิจยาสูบ เพื่อหานักสูบรายใหม่และเป็นลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง จำนวนวัยรุ่นของไทยที่มีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ พบว่า กลุ่มนักเรียนชายที่เคยมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๒๔.๑ ในปี ๒๕๕๑ เป็นร้อยละ ๒๔.๒ ในปี ๒๕๕๗ ในขณะที่ในกลุ่มนักเรียนหญิงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๑๔.๗ เป็น ร้อยละ ๑๘.๙ กลุ่มประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ ๒ พบว่า กลุ่มนักเรียนชายที่เคยมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๔๓.๓ ในปี ๒๕๕๑ เป็นร้อยละ ๔๖.๐ ในปี ๒๕๕๗ ในขณะที่ในกลุ่มนักเรียนหญิงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๓๖.๕ เป็น ร้อยละ ๔๗.๑ ผลกระทบจากพฤติกรรมดังกล่าวนอกจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ข้อมูลจากสำนักอนามัยเจริญพันธุ์ พบว่า อัตราคลอดของหญิงอายุ ๑๐-๑๔ ปี ต่อประชากรหญิงอายุ ๑๐-๑๔ ปี ๑,๐๐๐ คน เพิ่มขึ้นจาก ๑.๑ ในปี ๒๕๕๑ เป็น ๑.๖ ในปี ๒๕๕๗ อัตราการคลอดของหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี ต่อประชากรหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี ๑,๐๐๐ คน ร้อยละ ๕๐.๑ ในปี ๒๕๕๑ เป็น ๔๗.๙ ในปี ๒๕๕๗ ในพื้นที่อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี ๒๕๕๗-๒๕๕๙ เท่ากับ ๓๓.๖๔, ๑๕.๓๘ และ ๑๕.๑๙ ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข (ไม่เกินร้อยละ ๑๐) อัตราคลอดซ้ำในมารดาอายุ ๑๕-๑๙ ปี ต่อประชากรหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี ๑,๐๐๐ คน เพิ่มขึ้นจาก ๑๑.๔ ในปี ๒๕๕๑ เป็น ๑๒.๘ ในปี ๒๕๕๗ ในพื้นที่อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี ๒๕๕๗-๒๕๕๙ เท่ากับ ๕.๔๑, ๑๖.๖๗ และ ๒.๕๓ ตามลำดับ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นการตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจและนอกสมรส ซึ่งสรีระของวัยรุ่นนั้นยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่จึงมีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะโลหิตจาง ความดันสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนด เจ็บครรภ์คลอดนาน บุตรน้ำหนักต่ำ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของชีวิตหลายประการ เช่น ต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา การว่างงาน และการที่วัยรุ่นยังขาดวุฒิภาวะและความพร้อมในการเลี้ยงดูบุตร ย่อมส่งผลต่อคุณภาพของทั้งมารดาและทารกเป็นภาวะวิกฤติหนึ่งของคนไทยในภาพรวม จากสถานการณ์และปัญหาของวัยรุ่น สาเหตุส่วนใหญ่วัยรุ่นขาดความรู้ ทักษะในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ขาดความเข้าใจในการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง ไม่มีที่ปรึกษาเกิดการเรียนรู้กันเองในกลุ่มเพื่อน ทำให้วัยรุ่นได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เกิดความเชื่อและปฏิบัติตนที่ผิดพลาด จึงดำเนินงานเรื่องการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นขึ้น เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มวัยรุ่นในชุมชน  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนของวัยรุ่นในการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ  
กลุ่มเป้าหมาย : วัยรุ่น อายุ 10-19 ปี ในเขตอำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธ์ุ  
เครื่องมือ : แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนของวัยรุ่นในการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. จัดกิจกรรมการสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นทั้งกับเพื่อนเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศ ความแตกต่างระหว่างเพศ การวางตัว การเลือกคบเพื่อน การสื่อสาร การรู้จักปฏิเสธ การขอความช่วยเหลือ การจัดการกับอารมณ์ การตัดสินใจ รวมถึงการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ 2. พัฒนาองค์ความรู้การรักษาสุขภาพทางเพศ (sexual health) การรู้จักร่างกายและอวัยวะเพศของตนเอง ดูแลรักษาทำความสะอาด ป้องกันการบาดเจ็บ การติดเชื้อ การถูกล่วงเกินละเมิดทางเพศ การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ 3. สรุปและถอดบทเรียนร่วมกัน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง