ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : โปรแกรมคลินิกมินิ
ผู้แต่ง : นายวิชัย ผิวเงิน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ , นางนาถนรินทร์ ทรัพย์กุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases : NCD) เป็นปัญหาสาธารณสุข ทั้งระดับประเทศ และระดับโลก เนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญของความพิการและการเสียชีวิตก่อนวัย อันควรส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ครอบครัว ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และยังก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ องค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุข ได้เห็นถึงปัญหาของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นและความสำคัญในการจัดการกับปัญหานี้อย่างจริงจัง มีการประชุมคณะทำงาน แต่การพัฒนาระบบข้อมูล รอการพัฒนาจากกระทรวง เนื่องจากระบบข้อมูล ไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างแม่ข่าย และ รพ.สต จนท.รพ.สต. ขาดความรู้ในการบันทึกและตรวจสอบข้อมูล การขึ้นทะเบียนผู้ป่วยระดับอำเภอ ตรวจสอบความซ้ำซ้อนไม่ได้ ข้อมูลผู้ป่วยที่รักษาที่แม่ข่าย. แต่ตัวไม่อยู่ในพื้นที่ ศูนย์ข้อมูลระดับอำเภอทำหน้าที่รวมรวมข้อมูล แต่ผู้รับผิดชอบไม่ได้ใช้ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูล เกิดปัญหาข้อมูลไม่ตรงกัน ไม่มีการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รพ.สต.ไม่ตรงกับ รพ.แม่ข่ายเนื่องจากแหล่งข้อมูลคนละแหล่ง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ผู้ดูแลระบบและ Case Manager NCD จะต้องมีการพัฒนาระบบข้อมูลเรื้อรังภายใน คปสอ.คำม่วง-สามชัย ขึ้น ดังนี้ 1. พัฒนาระบบข้อมูล 1.1 พัฒนาระบบฐานข้อมูลและเชื่อมโยงข้อมูลด้วยระบบ IT 1.2 ประเมินคุณภาพระบบข้อมูล การดำเนินงานคลินิก NCD คุณภาพ จึงเป็นการบูรณาการระหว่างเครือข่ายของคลินิกในสถานบริการที่เชื่อมโยงการบริหารจัดการและดำเนินการทางคลินิก เพื่อเพิ่มคุณภาพบริการในกระบวนการป้องกัน ควบคุม ดูแล และจัดการกับสาเหตุของปัญหาโรคเรื้อรังอย่างเป็นระบบ ผู้พัฒนาจึงได้เริ่มพัฒนาโปรแกรมเชื่อมโยงสารสนเทศที่จำเป็น เช่น ประวัติการรับยา, รหัสวินิจฉัย, ผลตรวจทางห้องชันสูตร, ข้อมูลด้านความเสี่ยงต่อสุขภาพต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และได้พัฒนาต่อในส่วนของการวิเคราะห์ และส่งต่อสารสนเทศเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางสาธารณสุข  
วัตถุประสงค์ : เพื่อแก้ไขการเข้าถึงข้อมูล สารสนเทศของผู้ป่วยที่สำคัญ ระหว่าง โรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตพื้นที่พบว่า การเข้าถึง หรือส่งต่อข้อมูลที่จำเป็นล่าช้า ไม่ทันท่วงทีทำให้ยากต่อการดูแลผู้ป่วย และเป็นการเสียโอกาสในการเข้าถึงกระบวนการรักษาทางด้านสาธารณสุข  
กลุ่มเป้าหมาย : โปรแกรมการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ระหว่างโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล ในเครือข่ายบริการสุขภาพคำม่วง-สามชัย  
เครื่องมือ : เครื่องมือ • รายละเอียดการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน สถาปัตยกรรมของระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาเทคนิคหรือเทคโนโลยีที่ใช้ 1. MySQL Structure 2.ใช้โปรแกรม Pentahoในการ Insert And Update ข้อมูล จาก HOSxP TO Server Base • โครงสร้างข้อมูล เครื่องมือที่ใช้พัฒนา 1. โครงสร้างข้อมูลใช้ MySQL ในการจัดเก็บข้อมูล 2. ใช้ Delphi XE2 เป็นเครื่องมือพัฒนา  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.รายละเอียดโปรแกรมที่พัฒนา 1.1 สร้างชุดคำสั่งในส่วนของ Input 1.2 Plug in ชุดคำสั่งใน PentahoProject ในส่วนของ Input 1.3 พัฒนาโปรแกรม Clinic MINI เชื่อมต่อ Server Base ในส่วนของ Output 1.4 สร้างชุดคำสั่งในเพื่อดึงข้อมูล ในส่วนของ Output 2. กิจกรรมที่ดำเนินงาน 2.1 วิเคราะห์ปัญหาร่วมกับ Case Manager 2.2 ออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลทั่วไป 2.4 ออกแบบ และพัฒนาโปรแกรม ClinicMINI 2.4.1 เพื่อทราบถึงผู้ป่วยสภาวะโรคเรื้อรังในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 2.4.2 เพื่อส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รายใหม่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 2.4.3 เพื่อทราบถึงประวัติการรักษาที่โรงพยาบาล ยา, Lab, Diagnosis, การแพ้ยา 2.4.4 เพื่อส่งต่อข้อมูลการตรวจตา, ตรวจเท้า 2.4.5 เพื่อทราบถึงอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 2.4.6 เพื่อทราบถึงกลุ่มเสี่ยงรายโรค DM, HT, CVD 2.5 ทดสอบใช้งานโปรแกรม 2.6 รับทราบปัญหา อุปสรรคการใช้งาน 2.7 พัฒนา ปรับปรุงแก้ไข  
     
ผลการศึกษา : ประโยชน์ 1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตพื้นที่รับชอบ สามารถสืบค้น สารสนเทศที่จำเป็นได้อย่างทันท่วงที 2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สามารถวิเคราะห์สถานการณ์รายโรคได้ 3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เข้าถึงการบริการ และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที 4. เป็นสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ในการดำเนินกิจกรรทางสาธารณสุข  
ข้อเสนอแนะ : จุดเด่นผลงาน ๑. โปรแกรมใช้ระบบประมวลผลอัตโนมัติทุก ๐๒.๓๐ น. ของทุกวัน ๒. สามารถติดตั้งโปรแกรมบน Windows ตั้งแต่ Windows XP ขึ้นไป ๓. เป็นโปรแกรม Stand Alone เข้าถึงข้อมูลเฉพาะกลุ่มโรคเรื้อรัง ๔. มีระบบยืนยันตัวตน ในการเข้าถึงเฉพาะกลุ่มโรคเรื้อรัง  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ