ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : นวัตกรรมบัตรสีเตือนภัยห่างไกลสารเคมี
ผู้แต่ง : กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกุดโดน ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : จากการดำเนินงานดูแลสุขภาพเกษตรกร โดยการคัดกรองความเสี่ยงและตรวจหาระดับของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสและดำเนินงานเฝ้าระวังโรคพิษจากสารศัตรูพืช พบว่า เกษตรกรมีผลเลือดในระดับที่เสี่ยงและไม่ปลอดภัย ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน เนื่องจากปัจจุบันเกษตรกรยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งนำมาใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงได้จัดทำบัตรสีเตือนภัยขึ้นเพื่อให้บุคคลในครัวเรือนได้เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมิให้ตนเองที่มีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคเกิดความกลัว และช่วยกระตุ้นให้บุคคลในชุมชนนั้นคิดหาทางป้องกันและแสวงหาความรู้ในการป้องกันการเกิดโรค ยอมรับความรู้ คำบอกเล่าจากทีมงานด้านสุขภาพ ที่ได้ลงไปเยี่ยมให้คำแนะนำ เพื่อทำให้การป่วยด้วยเหล่านั้นลดลง ซึ่งนำไปสู่ชุมชนที่มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพผู้มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีศัตรูพืช 2.เพื่อค้นห้าประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3.เพื่อให้เกษตรกลุ่มเสี่ยงในหใู่บ้านเป้าหมายมีความรู้และสร้างทัศนคติในเรื่องการใช้สารเคมีที่ถูกต้องเพื่อไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จากนวัตกรรมบัตรสีเตือนภัย ห่างไกลสารเคมี 4.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแล  
กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงตำบลกุดโดน  
เครื่องมือ : บัตรสีเตือนภัย, กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.เตรียมข้อมูลสถานะสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายในการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือด 2.จัดอบรมฟื้นฟูการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดแก่แกนนำ อสม.จำนวน 13 หมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลาและสถานที่ในการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือด 3.เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส 4.ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง 5.แจ่งผลและให้คำแนะนำด้วยบัตรสีเตือนภัย 4 สี 6.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงของหมู่บ้านกลุ่มเป้าหมายให้มีความรู้และสร้างเจตคติเรื่องการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง  
     
ผลการศึกษา : จากการติดตามและประเมินผลกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงตำบลกุดโดน พบว่า ผลตรวจเลือด กรณีที่มีสารตกค้างอยู่ในระดับปกติ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ผลตรวจเลือด กรณีที่มีสารตกค้างอยู่ในระดับปลอดภัย มีจำนวนเพิ่มขึ้น ผลตรวจเลือด กรณีที่มีสารตกค้างอยู่ในระดับเสี่ยง มีจำนวนลดลง ผลตรวจเลือด กรณีที่มีสารตกค้างอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย มีจำนวนลดลง  
ข้อเสนอแนะ : จัดทำป้ายรณรงค์เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงข้อเสียของการใช้สารเคมี  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)