ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : โภชนบำบัดกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน รพ.นามน จ.กาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ฤติธาดา บุรีรัตน์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันมีประชากรในประเทศไทยป่วยด้วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มสูงขึ้นและในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลนามน มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานทั้งหมดจำนวน 1,350 ราย ผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 13.82% ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ถึงเป็นจำนวนที่น้อยมาก สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยเฉพาะเรื่องการบริโภคอาหาร ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังมีความรู้เรื่องโภชนาการ ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลยังไม่มีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงตัวบุคคล บางครั้งทำให้เกิดความเชื่อ การบอกต่อ ที่ผิดๆ และการให้ความรู้แบบองค์รวม ยังไม่เฉพาะจงด้านพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นปัญหาเฉพาะตัวผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ หรือทำได้แต่ไม่มีความสุข ขาดความยั่งยืน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความตระหนักเพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกหลักการทางโภชนาการที่เหมาะสมแต่ละบุคคลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่จะเกิดขึ้น  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อศึกษาประสิทธิผลการให้ความรู้ทางโภชนบำบัดกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน 2.เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้โภชนบำบัดกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยของคลินิกเบาหวาน ที่มีระดับน้ำตาลอยู่ในช่วง 70-125 mg% ในช่วงเดือน กันยายน 2557 – ตุลาคม 2558  
เครื่องมือ : 1. แบบฟอร์มให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลต่ำกว่าว่าปกติ 2. แบบประเมินความรู้ 3. แบบประเมินความพึงพอใจ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. เก็บข้อมูลเบื้องต้น ผู้ป่วยเบาหวานจัดกลุ่มผู้ป่วยตามปิงปองจราจรชีวิต 7 สี 2. การให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคการดำเนินชีวิตให้ป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน วิเคราะห์ปัญหาและให้คำแนะนำด้านโภชนาการแบบเฉพาะเจาะจงรายบุคคล 3. ให้ความรู้เรื่องอาหารแลกเปลี่ยน อาหารเฉพาะโรคเบาหวาน อาหารที่มีผลต่อผู้ป่วยทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน/ไม่เฉียบพลัน 4. จัดขบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาเล่าประสบการณ์ การควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี 5. มอบเกียรติบัตรให้ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดดี 5 อันดับแรก โดย ท่าน ผ.อ. โรงพยาบาล เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง