ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบจากการให้สารน้ำและฉีดยาทางหลอดเลือดดำ
ผู้แต่ง : ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : งานผู้ป่วยในชายมีผู้รับบริการเป็นจำนวนมากอัตราการครองเตียงเฉลี่ยปี 2557 -2559 คิดเป็น 116.46 107.45 และ 97.24 ตามลำดับ ยอดเฉลี่ย 35-40 คน/วัน ร้อยละ80 ของผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลได้รับการON IV หรือ ON Lock สำหรับฉีดยาจึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดดำสูงพบว่า อัตราการเกิดหลอดเลือดแดงอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มฉีดนาน ฉีดยาที่ความเข้มข้นสูง เช่น Cloxacillin Ceftriaxone Norepinephrine Dopamine Clindamycin และAugmentin  
วัตถุประสงค์ : เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ <0.5%  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยที่ได้รับสารนำ้  
เครื่องมือ : กระบวนการดูแลผู้ป่วย  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ยึดหลักAseptic technique ในการแทงเข็ม เลือกตำแหน่งให้เหมาะสม เช็ดทำความสะอาดผิวหนัง 2. ติดแถบ สีIV.สีรุ้ง และNormal saline lockทุกครั้งบริเวณเหนือเข็มและกระเปาะน้ำเกลือ เป็นสัญลักษณ์ในการกำหนดวันเปลี่ยน และเปลี่ยนเมื่อครบ 72 ชม.โดยเปลี่ยน ทั้งSet IV.และเปลี่ยนบริเวณที่แทงเข็มตามความเหมาะสมสีติด โดยระบุพยาบาลที่ทำหน้าที่ฉีดยาเป็นผู้เปลี่ยน 3. ติดตามการปฏิบัติตามแนวทางการใช้ IV สีรุ้ง พร้อมRoundผู้ป่วยตอนส่งเวรตอนเช้าทุกวันและตรวจสอบซ้ำโดยพยาบาลเจ้าของCASE 4. กรณีผู้ป่วยฉีดยาทุก 4 ทุก 6 ทุก 8 ชม.ให้ on tree way ทุก case 5. ประเมินการอักเสบของหลอดเลือดดำควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกเวร ให้เปลี่ยนตำแหน่งและเข็ม ใหม่ทันที ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการ และอาการแสดงของการอักเสบของตำแหน่งแทงเข็ม 6. แพทย์จะสั่งให้ยาที่มีความเข้มข้นสูงDiluteให้เจือจางก่อนให้ผู้ป่วย เช่น Cloxacillin Ceftriaxone Clafaran (ผสมwater10cc.), Clinda600mg+5%D/W100cc iv drip และเพิ่มยา Chloramphinical  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ