|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การป้องกันและการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด |
ผู้แต่ง : |
น.ส.เฟื่องฟ้า ไชยทองศรี |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เป็นสาเหตุร้อยละ 75 ของการตายและทุพพลภาพของทารก เนื่องจากอวัยวะต่างๆยังเจริญไม่เต็มที่และไม่พร้อมที่จะทำงาน โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจ ทารกแรกเกิด เกิดภาวะ respiratory distress syndrome ส่งผลทำให้ทารกต้องนอนโรงพยาบาลนาน พัฒนาการช้า ค่ารักษาพยาบาลสูง ญาติวิตกกังวล
ปัจจัยที่พบว่าทำให้มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลเขาวง คือ
1. ปัจจัยจากมารดา
- มารดาตั้งครรภ์แรกอายุน้อยกว่า 20 ปีหรือมากกว่า 35ปี
- ฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ โดยไม่รู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ ส่งผลให้ได้รับการดูแลและคำแนะนำล่าช้า
- ฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ เพราะทำงานต่างจังหวัด , มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ทำให้ได้รับคำแนะนำไม่ครบถ้วน ครอบคลุม
- การทำงานหนักจากสภาพเศรษฐกิจไม่ดี
- ภาวะเครียด
- ไม่เข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินเมื่อมีภาวะฉุกเฉิน
2. ปัจจัยจากระบบการดูแล
- ไม่ปฏิบัติตาม CPG
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อลดอัตราการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด
2. สามารถยับยั้งการคลอดก่อนกำหนดได้สำเร็จ
ตัวชี้วัด
1.อัตราการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด <8%
2.ร้อยละของการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้สำเร็จ 100 %
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
หญิงตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ต.คุ้มเก่า ต.กุดปลาค้าว |
|
เครื่องมือ : |
แบบสัมภาษณ์ แผ่นพับให้ความรู้ แบบทดสอบก่อน-หลัง แบบส่งข้อมูลเพื่อการติดตาม ทะเบียนผู้รับบริการ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การดูแลก่อนคลอด/ขณะตั้งครรภ์
1. รณรงค์การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
2. ชักชวนการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์และตรวจตามนัด
3. ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์
การดูแลขณะ Admit
1. การคัดกรองภาวะเสี่ยงเมื่อแรกรับ พิจารณา Admit หรือส่งต่อ
2. กรณีส่งต่อ ส่งต่อทันเวลาตามเกณฑ์
3. กรณี Admit
- ให้การดูแลตาม CPG
- มีการนิเทศติดตามผลการปฏิบัติตาม CPG
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้ป่วยโดยมีขั้นตอนดังนี้
●ประเมินและคัดกรองตามแบบประเมิน Preterm
●ทดสอบ Pretest แจกแผ่นพับ
●ให้ความรู้
●ทดสอบ Post test
● Dischart plan
● ส่งต่อข้อมูลให้ รพสต และ PCU
● สรุปผล
4. กรณียับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดไม่สำเร็จ
- มีการเตรียมพร้อมทั้งทีมงานและอุปกรณ์+เครื่องมือในการรับเด็ก และ NCPR
- เตรียม refer.ในรายที่น้ำหนักตัวน้อยกว่า 2000 กรัม และมีปัญหาเรื่องการหายใจ ที่ไม่สามารถดูแล ในโรงพยาบาลเขาวงได้
- กรณีทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่า 2000 กรัม แข็งแรงดีให้ดูแลต่อได้ที่โรงพยาบาลเขาวงตามแนวทางพร้อมทั้งให้คำแนะนำมารดาและญาติในการดูแลทารก
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|