ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนาศักยภาพพยาบาลตึกผู้ป่วยหญิงในการเฝ้าระวังภาวะทรุดหนักในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ( Pneumonia)
ผู้แต่ง : นางนิ่มนวล หาญสิทธิ์, นางสาวกนกวรรณ พลหงษ์, นางสาวยุวรัตน์ เพชรรัตน์, นางสาวกิ่งกนก วรสาร ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ความปลอดภัยของผู้ป่วย ( Patient safety ) ถือว่าเป็นประเด็นทีสำคัญที่สุดของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยเฉพาะในสถานบริการสุขภาพ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีไม่น้อยที่เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม คือการออกแบบและพัฒนาระบบงานที่ช่วยให้การดูแลรักษาผู้ป่วยมีคุณภาพและปลอดภัย เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถทำได้ในทันที คือการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน การออกแบบแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย จึงเน้นที่การออกแบบระบบป้องกันและเฝ้าระวังเชิงรุก ทั้งในระยะก่อน ระหว่าง และหลังเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์กับผู้ป่วย โดยมีองค์ประกอบและหลักการออกแบบการปฏิบัติที่ปลอดภัยในการดูแลสุขภาพ ตึกผู้ป่วยในหญิงโรงพยาบาลเขาวงใน ปี 2559 ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจำนวน1660ราย Unplan refer 3 ราย จากการทบทวนพบว่าเกิดจากขณะดูแลเจ้าหน้าที่ประเมิน วินิจฉัยล่าช้าไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการทรุดหนักและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง Respiratory failure 3ราย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ได้จัดตั้งทีมเพื่อพัฒนาระบบการดูแลเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงและสัญญาณเตือนของผู้ป่วยในขณะดูแลผู้ป่วย [Early warning signs] เพื่อลดการเกิดภาวะวิกฤต ให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วทันเวลา และ ปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน  
วัตถุประสงค์ : 1.เพิ่มความรู้และทักษะ ของบุคคลากรในหอผู้ป่วย 2.เพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังอุบัติการณ์การเกิดภาวะทรุดหนักโดยใช้ early warning sign ตัวชี้วัด 1.ร้อยละของเจ้าหน้าที่ใช้เครื่องมือ.แบบประเมิน Early warning singได้ถูกต้อง(สมรรถนะ) 2.ร้อยละการเกิดอุบัติการณ์ทรุดหนักใน ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ≤ 2  
กลุ่มเป้าหมาย : พยาบาลวิชาชีพตึกผู้ป่วยในหญิง  
เครื่องมือ : ใบเฝ้าระวังภาวะวิกฤติ ,แบบประเมินสมรรถนะ ,เวชระเบียนผู้ป่วยปอดอักเสบ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ทบทวนอุบัติการณ์การดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคปอดอักเสบ 2.จัดประชุมเจ้าหน้าที่แผนกชี้แจงวัตถุประสงค์และการทำวิชาการเรื่องปอดอักเสบ 3.ประชุมชี้แจงการใช้ Early Warning sings เพื่อประเมินผู้ป่วยในขณะดูแล 4.ทบทวนการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ กรณีทรุดหนัก และเกิดAE 5.การรวบรวมข้อมูลในผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ ดำเนินการโดย -รวบรวมข้อมูลผู้ป่วย โดยการซักประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต และประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวโดยเน้นการดำเนินชีวิตประจำวัน พฤติกรรมสุขภาพ -การตรวจร่างกายทั่วไป -การตรวจทางห้องปฏิบัติการ -การวินิจฉัยและการรักษาของแพทย์ 6.นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ วางแผนในการพยาบาล 7.ปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการดูแลพยาบาล 8.สรุปการปฏิบัติการพยาบาลและให้ข้อเสนอแนะ 9.หัวหน้างาน/รองหัวหน้างาน นิเทศการติดตามผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ โดยการสังเกตและบันทึกผล 10. สรุปผลการปฏิบัติ การพยาบาลทุกเดือน  
     
ผลการศึกษา : 1.ร้อยละของเจ้าหน้าที่ใช้เครื่องมือแบบประเมิน Early warning singได้ถูกต้อง(สมรรถนะ) เท่ากับ ร้อยละ 75 2.ร้อยละการเกิดอุบัติการณ์ทรุดหนักในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ เท่ากับ ร้อยละ 0  
ข้อเสนอแนะ : ความปลอดภัยของผู้ป่วย ( Patient safety ) ถือว่าเป็นประเด็นทีสำคัญที่สุดของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ต้องมีการพัฒนาสมรรถนะเฉพาะให้เหมาะสมกับการดูแลผู้ป่วย  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ