ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
ผู้แต่ง : นางลำดวน ไชยบุตร ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ภาวะตกเลือดหลังคลอด เป็นความเสี่ยงทางคลินิกที่สำคัญของงานสูติกรรม ทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษามากขึ้น หรือในรายที่รุนแรงอาจเสียชีวิตได้ การเฝ้าระวังและวินิจฉัยตั้งแต่แรกเริ่มที่ รวดเร็ว จะช่วยลดอันตรายที่จะเกิดแก่มารดาหลังคลอดได้ การเตรียมพร้อมร่างกายตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จนถึงระยะคลอดและการดูแลต่อเนื่องจนจำหน่าย ทำให้ลดภาวะตกเลือดหลังคลอดได้ สาเหตุที่สำคัญ มักเกิดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี การฉีกขาดของปากมดลูกและรกค้าง เป็นต้น และในปี2557-2558 การประเมินภาวะตกเลือดยังมีความคลาดเคลื่อนขาดความละเอียดในการตวงเลือด เนื่องจากการคาดคะเนด้วยสายตา ไม่มีพาชนะในการตวง ทำให้ในบางรายไม่มีการบันทึกและเก็บข้อมูล ดังนั้นในปีเดือนกรกฎาคม 2559 เป็นต้นมาได้เริ่มใช้ถุงตวงเลือด ทำให้การบันทึกปริมาณเลือดมีความละเอียดและแม่นยำ สถิติตกเลือดหลังคลอดจึงเพิ่มขึ้น  
วัตถุประสงค์ : เพื่อลดอัตราการตกเลือดหลังคลอด ตัวชี้วัด -ร้อยละการตกเลือดหลังคลอดไม่เกินร้อยละ 3 -ร้อยละการเกิด hypovolemic shock ร้อยละ 0  
กลุ่มเป้าหมาย : มารดาหลังคลอดทุกราย  
เครื่องมือ : ทะเบียนการคลอด แบบบันทึกรายงานความเสี่ยง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวางแผนดำเนินการ(Plan) 1. พัฒนาการคัดกรองมารดาที่มีภาวะเสี่ยงต่อการตกเลือดในห้องคลอด 2. พัฒนาการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง PPH ระหว่างรอคลอด ขณะคลอด หลังคลอด 3. พัฒนาการส่งต่อ ที่มีประสิทธิภาพ กิจกรรมดำเนินการ(DO) Early detected 1. ประสาน ANC การฝากครรภ์คุณภาพ และส่งต่อข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด PPH ที่หน่วยงานห้องคลอด เช่น case anemia ,มีการติดป้าย hight risk ที่สมุดสีชมพูเพื่อเป็นการส่งต่อข้อมูล 2. คัดกรองความเสี่ยงการตกเลือดหลังคลอดตามแบบคัดกรองความเสี่ยง 3. ประเมินความก้าวหน้าของการคลอด • low risk - Latent phase FHR ,UC ทุก 2 ชม PV ทุก 4 ชม - .Active phase FHR FHR ,UC ทุก 1 ชม PV ทุก 2 ชม. • high risk - Latent phase FHR ,UC ทุก 1 ชม PV ทุก 2 ชม. - Active phase FHR FHR ,UC ทุก ½-1 ชม PV ทุก 1 ชม. 4.ใช้กราฟ pathographในการเฝ้าคลอด Early management 1. ในระยะ 2 stage ดูแลตาม CPG รายงานแพทย์ตามเกณฑ์ 2. ทำ Active management in 3 stage ( modified) ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก 3. ประเมิน blood loss กรณีเสียเลือด≥ 3oo ml โดยใช้ถุงรองเลือด ให้รายงานแพทย์ 4. วัดสัญญาณชีพ ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก 15 min X 4 , 30 min X 2 , ทุก 1 ชม.จน stable Early refer 1. ส่งต่อผู้ป่วยกับรพ.ที่รับส่งต่อได้ทันเวลาตามเกณฑ์  
     
ผลการศึกษา : หลังกิจกรรมปีงบประมาณต.ค.2559-ก.ค. 2560 พบมารดาที่มีภาวะ PPH 4 ราย (จำนวนผู้คลอด 206ราย) คิดเป็นร้อยละ1.94 (สาเหตุจากปากมดลูกฉีกขาด ,รกค้าง , แผลEpisiotomy มดลูกแตก )พบอัตราการเกิดHypovolemic shock ร้อยละ 25 (1 รายในผู้ป่วย 4 ราย)และพบว่าเจ้าหน้าที่ยังไม่ปฏิบัติตามแนวทางการดูแลไม่มีการใช้ถุงรองเลือดในการวัดเลือดออกหลังคลอดทารกทำให้การคำนวณเลือดได้ผิดพลาดไม่สามารถให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงทีได้ ทีมสหวิชาชีพหาแนวทางในการพัฒนาต่อไป 1.มีการทบทวนความเสี่ยงทุกครั้งที่เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงโดยสหสาขาวิชาชีพ 2.ใช้ถุงรองเลือดทุกรายหลังคลอดทารกเพื่อประเมินการเสียเลือดอย่างเคร่งครัด 3. ทบทวนทักษะการทำคลอด/การทำคลอดรก แก่เจ้าหน้าที่ 4.ใช้แบบคัดกรองความเสี่ยงที่แยกระดับความรุนแรงของความเสี่ยงสามารถวางแผนและเฝ้าระวังให้การดูแลรักษาพยาบาลได้ครอบคลุม และรายงานแพทย์ตามเกณฑ์ 5.ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางอย่างเคร่งครัด 6.พัฒนาเจ้าหน้าที่ในห้องคลอดโดยส่งเรียนพยาบาลเวชปฏิบัติการดูแลมารดาและทารกในภาวะเสี่ยงสูงที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น (2 ราย) จากผลการดำเนินงานไม่พบผู้ป่วยตกเลือดหลังคลอดเลยตั้งแต่ มกราคม 2560 – 31กรกฎาคม 2560  
ข้อเสนอแนะ : -  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)