ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การ Re-Sterile อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์
ผู้แต่ง : จ่ายกลาง ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : จากการวิเคราะห์ข้อมูล อัตราการ Re-Sterile ปี 2556-2559 พบว่ามีแนวโน้มลดลง เพื่อพัฒนาคุณภาพไม่ให้มีอัตราการ Re-Sterile  
วัตถุประสงค์ : ลดRe-Sterile อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์  
กลุ่มเป้าหมาย : อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์  
เครื่องมือ : กระบวนการกลุ่ม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประชุม ทบทวน เพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกันระหว่างหน่วยจ่ายกลางและหน่วยบริการต่างๆ พร้อมทั้ง นำเสนอข้อมูล อัตราการ Re-sterile เพื่อ feed-back 2. ลดการ Stock เครื่องมือในหน่วยเบิก จัดให้มีระบบสำรองเครื่องมือ ไม่เกิน 1.5 เท่าของการใช้งานจริง 3. ปรับเปลี่ยน Packed ของ set ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น Set dressing ปรับลดขนาดเป็น Size S,M,L ซึ่งผู้ใช้ต้องประเมินลักษณะบาดแผลก่อนการทำแผลทุกครั้ง เพื่อลดการสิ้นเปลืองของวัสดุที่อาจจะเหลือใช้ เช่น สำลี กอส น้ำยาฆ่าเชื้อ 4. ปรับเปลี่ยนการห่อ เครื่องมือที่มีอัตราการใช้ปานกลาง และ น้อย เช่น Set cutdown , Set เจาะปอด, Set เจาะหลังSet ICD ใส่ซองเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ (Peel Poach) คงความปราศจากเชื้อ 6 เดือน ปรับเปลี่ยน Set BBA ในรถ Refer จากเดิมทำ sterileแล้วห่อด้วยถุงพลาสติกปิดเทปใสมีอายุการใช้งาน 3 เดือน เป็น Pack ด้วยซองเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ (Peel Poach) สามารถคงสภาพได้นาน 6 เดือน 5. มีการตรวจสอบแบบ Triple check โดยหน่วยบริการมีการตรวจเช็คระบบ First-in,First-out เป็นประจำทุกวัน โดยผู้ช่วยเหลือคนไข้ พยาบาลICWN สุ่มประเมินเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงาน 1 ครั้ง/สัปดาห์ และ ICN สุ่มประเมินบน Ward เดือนละ 1 ครั้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานทุก 3 เดือน และแจ้งผลการดำเนินงานในที่ประชุม เวรตรวจการ 6. ทุกหน่วยบริการควรทำ Minimum stock และ Maximum stock ไว้เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการสำรอง Set ให้เพียงพอ พร้อมใช้ในหน่วยงาน 7. มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Feed-back) ข้อมูลที่เป็นจริงทุกเดือนเพื่อร่วมกันทบทวนและหาแนวทางแก้ไข  
     
ผลการศึกษา : ผลการดำเนินงาน ลำดับ ตัวชี้วัดของฝ่าย/งาน ค่าเป้าหมาย ผลงาน ปี 2556 ปี2557 ปี2558 ปี2559 ปี2560 (ตค.59-พค.60) 1 อัตราการ Re-Sterile <1% 0.93 0.86 0.79 0.50 0.34 2 ลดค่าใช้จ่าย Re-Sterile NA 23,490 30,390 28,230 18,180 3 ร้อยละความพึงพอใจ >85% 89.7% 86.4% 90.3% 89.5% กำลังดำเนินการ สรุปผลการดำเนินงาน 1.สามารถวิเคราะห์อัตราการ re-sterile ของระดับหน่วยงานในโรงพยาบาลและสามารถสำรองการใช้Set เครื่องมือเป็นระบบได้ 2.ชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่นำมา re-sterile ลดเหลือ 0.34 % ในปี 2560 (ต.ค.59-พ.ค.60) 3. สามารถลดค่าใช้จ่ายในการre-sterile เป็นจำนวนเงิน 18,180 บาทในปี 2560 (ต.ค.59-พ.ค.60)  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ